ประวัติโรงเรียนดาราวิทยาลัย
ข้อมูลทั่วไป
1.1) ชื่อสถานศึกษา ดาราวิทยาลัย
ตั้งอยู่เลขที่ 196 ถนน แก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50000
โทรศัพท์ 0-5324-1039,0-5330-0437
โทรสาร 0-5324-9152
1.2) สังกัด ( ) สพฐ. ( / ) สช. ( ) กทม. ( ) มท. ( ) อื่นๆ ระบุ.........
1.3) เขตพื้นที่การศึกษา เชียงใหม่ เขต 1
1.4) เปิดสอนตั้งแต่ระดับ อนุบาล ถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติของโรงเรียน
ความเป็นมาของโรงเรียน
คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นส่งมิชชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณในประเทศไทยในปี ค.ศ. 1840 (พ.ศ. 2383) โดยเริ่มต้นที่กรุงเทพฯ และขยายตัวออกสู่ภูมิภาคเริ่มที่เพชรบุรี ในปี ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) ศาสนาจารย์ ดร. แมคกิลวารี และภรรยาคือนางโซเฟีย บรัดเลย์ แมคกิลวารี ได้ขึ้นมาทำงานที่จังหวัดเชียงใหม่ มณฑลพายัพ
ในปี ค.ศ. 1875 (พ.ศ. 2418) นางโซเฟีย บรัดเลย์ แมคกิลวารี ได้เริ่มต้นนำเด็กหญิงในบ้านมาสอนภาษาไทย การเย็บปักถักร้อย พระคัมภีร์ การดูแลบ้านเรือน เพราะนางแมคกิลวารี เห็นว่าผู้หญิงที่เชียงใหม่ขาดการศึกษาและขาดโอกาสที่จะได้รับการศึกษาคือไม่มีโรงเรียนสาหรับผู้หญิง การสอนของนางแมคกิลวารี ไม่ได้สอนประจำสม่ำเสมอ
ในปี ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422) คณะมิชชั่นส่ง Miss Edna Sarah Cole และ Miss Mary Margaretta Campbell มารับผิดชอบและจัดระบบโรงเรียนผู้หญิง (Chiengmai Girls’ School) ที่นางแมคกิลวารี ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียนนี้และผู้บริหารโรงเรียนได้ทูลขอพระราชทานชื่อของโรงเรียน ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 (พ.ศ.2452) พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้มีโทรเลขถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปรึกษาเรื่องชื่อของโรงเรียนผู้หญิงและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชโทรเลขตอบกลับมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ควรให้เรียกชื่อโรงเรียนผู้หญิงว่า “โรงเรียนพระราชชายา” หรือในภาษาอังกฤษคือ “ประราชชายาสกูลฤาคอลเลช” โรงเรียนนี้จึงเรียกชื่อในภาษาไทยว่าโรงเรียน “พระราชชายา”
ในปี ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ฉบับแรกของประเทศ ผู้จัดการและครูใหญ่โรงเรียนพระราชชายาคือ Miss Julia A. Hatch ได้ทำเรื่องถึงเสนาบดีกระทรวงธรรมการขอ “ดำรง” โรงเรียนพระราชชายา โรงเรียนราษฎร์ซึ่งเป็นโรงเรียนของคณะมิชชั่นที่ตั้งมาก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461 เป็นโรงเรียนที่ให้การศึกษาแก่นักเรียนหญิง ตั้งอยู่ที่บ้านสันป่า-ข่อย ตำบลวัดสระเกษ (วัดเกตในปัจจุบัน) ทิศตะวันออก (หลังโรงเรียน) ติดบ้านหลวงผดุงมัธกิจ ทิศตะวันตก (หน้าโรงเรียน) ติดถนนเจริญราษฎร์ ทิศเหนือติดบ้านหมอแคมเบอร์ ทิศใต้ติดถนนสันกาแพง (ถนนเจริญเมือง) เปิดรับเฉพาะนักเรียนผู้หญิงอายุตั้งแต่ 5 – 20 ปี เป็นโรงเรียนที่เปิดรับทั้งนักเรียนประจำและไป-กลับ มีครูน้อย 7 คนคือ
1. นางสุดา ไชยวรรณ์
2. นางสาวปรีดา บุญอิต
3. นางสาวบัวเขียว นิลุบล
4. นางสาวบัวศรี ประถมมณี
5. นางสาวบัวคา กัลป์นาจา
6. นางสาวจันตา สาระภีเพ็ชร์
7. นางนา มาลา
(ยื่นเรื่องวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2461) รับแจ้งการอนุมัติให้ดำรงโรงเรียนพระราชชายาต่อไปได้ และให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2462)
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2466) Miss Julia A. Hatch ในฐานะ ผู้จัดการได้ทำหนังสือถึงเสนาบดีกระทรวงศึกษาขออนุญาตเปลี่ยนชื่อ “โรงเรียนพระราชชายา” เป็น “โรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกประถม” เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการตอบรับทราบเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) และมีประกาศกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467)
ในขณะที่ Miss Julia A. Hatch ได้ทำหนังสือขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนพระราชชายา ในวันเดียวกันนี้เอง Miss Julia A. Hatch ได้ทำหนังสืออีกฉบับหนึ่งขอตั้งโรงเรียนอีกโรงหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า “ดาราวิทยาลัย” โดยมี Miss Julia A. Hatch เป็นผู้จัดการ และ Miss Lucy Niblock เป็นครูใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลวัดสระเกษ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้านทิศใต้ติดทุ่งนา ด้านทิศเหนือติดถนนใหญ่ (ถนนแก้วนวรัฐ) ด้านทิศตะวันออกติดบ้านราษฎร์ ด้านทิศตะวันตกติดโรงพยาบาลอเมริกัน อยู่ห่างจากโรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกประถมหรือพระราชชายาเดิมประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นโรงเรียนรับเฉพาะนักเรียนผู้หญิง
มีครูน้อย 10 คน ปรากฏรายชื่อ 7 คนซึ่งเป็นครูน้อยที่มา (ลาออก) จากโรงเรียน พระราชชายาคือ
1. นางประยูร ไทยสมัค
2. นางสาวทองอยู่ สปริงเกอร์
3. นางสาวสวาท ตัณฑโกไศย
4. นางสาวบัวผัน เรือนจิตร์
5. นางสาวราเฮล คานันตา
6. นางสาวบัวเขียว พันธุพงศ์
7. นางสาวจอมใจ อินทะพันธุ์
เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการตอบรับเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) และมีประกาศ กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) งานของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นในจังหวัดเชียงใหม่เริ่มต้นที่ริมฝั่งแม่น้าปิง บ้านพักของมิชชันนารีอยู่บนที่ดินริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออกที่เจ้ากาวิโลรสมอบให้ (ที่ตั้งคริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ในปัจจุบัน) โรงพยาบาลมิชชั่นตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันตก (ที่ตั้งสถานีกาชาด 3 ปัจจุบัน) โรงเรียนชายก็ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันตกไม่ไกลจากสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ในปัจจุบัน ได้มีการสร้างโรงเรียนสำหรับผู้หญิงใหม่บนถนนสายแก้วนวรัฐทางด้านตะวันออกของโรงพยาบาลแมคคอร์มิค มีการวางศิลาหัวมุมอาคารหลังแรกของโรงเรียน ในวันอาทิตย์ ที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1921 โดยศาสนาจารย์ ศรีโหม้ วิชัย ศิษยาภิบาลของคริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่เป็นผู้ประกอบพิธี ผู้ถูกกำหนดให้เป็นผู้วางศิลาหัวมุมคือนางโซเฟีย แมคกิลวารี ภรรยาของศาสนาจารย์ ดร. ดาเนียล แมคกิลวารี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนแต่เนื่องจากมีฝนตกหนักนางโซเฟีย แมคกิลวารีจึงมอบหมายให้ บุตรสาวคือ Mrs. Roderick Gillies ผู้ซึ่งเคยเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนพระราชชายาในช่วงปี ค.ศ. 1895-1905 เป็นผู้วางศิลาหัวมุมแทน การก่อสร้างอาคารหลังแรกของโรงเรียนซึ่งเป็นอาคารสองชั้น ชั้นที่ 1 เป็นสำนักงาน ห้องประชุมและห้องเรียน ส่วนชั้นที่ 2 เป็นห้องพักสำหรับนักเรียนประจำ การก่อสร้างอาคารดังกล่าวสำเร็จและมีการเปิดใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2466) มีการย้ายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษามาอยู่ในโรงเรียนใหม่ ส่วนนักเรียนชั้นประถมยังคงอยู่ที่โรงเรียนเดิมโดยมีนางสุดา อินทราวุฒิ เป็นครูใหญ่ และ Miss Julia A. Hatch เป็นผู้จัดการ โรงเรียนทั้งสองมีการดำเนินการเรื่อยมาจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1933 (พ.ศ. 2476) Miss Helen F. McClure ผู้จัดการโรงเรียนดาราวิทยาลัยได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการขออนุญาตรวมโรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกประถม กับโรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกมัธยม เรียกว่าโรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกประถมเปลี่ยนฐานะเป็นสาขาของโรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกมัธยมด้วยเหตุผลที่ว่าโรงเรียนทั้งสองบริหารด้วยผู้บริหาร (ผู้จัดการ) คนเดียวกัน แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการได้มีหนังสือตอบเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1933 (พ.ศ. 2476) ไม่สมควรให้มีการรวมโรงเรียนทั้งสองแห่งเข้าด้วยกันโดยแยกเป็นแผนกประถมและมัธยมเพราะโรงเรียนทั้งสองแห่งตั้งอยู่ไกลกัน หรือหากจะให้แผนกประถมเป็นสาขาของแผนกมัธยมก็ไม่ได้เพราะโรงเรียนทั้งสองมีครูใหญ่คนละคน
ปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) โรงเรียนดาราวิทยาลัยได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนดาราวิทยาลัยทั้งสองแห่งถูกรัฐบาลยึดเพราะถือว่าเป็นทรัพย์สินของชนชาติศัตรู ภายหลังโรงเรียนถูกใช้เป็นหอพักของครูและนักเรียนผู้หญิงโรงเรียนเตรียมอุดม
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) สงครามยุติญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม มิชชันนารีกลับเมืองไทย ดร. Kenneth E. Wells เป็นผู้รับมอบอำนาจจากคณะมิชชั่นในการทวงทรัพย์สินคือโรงเรียนและโรงพยาบาลในเขตภาคเหนือคืนจากรัฐบาล Miss Helen F. McClure มาถึงเชียงใหม่เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) Miss Lucy Niblock มาถึงเชียงใหม่เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) แต่โรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1946 ด้วยการนำของครูบัวชม อินทะพันธ์ อดีตครูใหญ่และครูคนอื่น ๆ ด้วยการสนับสนุนของดร. Kenneth E. Wells และ ศิษย์เก่าหลายคน มีนักเรียนเริ่มต้น 350 คน โรงเรียนเปิดดำเนินการในลักษณะสองโรงเรียนไปจนกระทั่งประมาณในปี ค.ศ. 1968 (พ.ศ.2511) จึงได้มีการปิดโรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกประถม คงไว้แต่โรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน
จากการเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะสตรี ในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) ในช่วงที่อาจารย์สมศรี ไชยเศรษฐ เป็นผู้จัดการ และอาจารย์สมปรารถนา บุญยเกียรติ เป็นครูใหญ่ โรงเรียนดาราวิทยาลัยได้มีการทำเรื่องนำเสนอมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยขออนุมัติให้โรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดสอนระบบสหศึกษา และได้รับอนุมัติให้เปิดในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) โดยเปิดทีละชั้น
ในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) โรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดสอนตามโครงการ Native Speaker Programe โดยจัดการเรียนการสอนใน 4 ทักษะ (อ่าน พูด ฟัง เขียน) ด้วยเจ้าของภาษา
ปัจจุบันของโรงเรียน
ปัจจุบันโรงเรียนดาราวิทยาลัยเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่สุดที่มีจำนวนนักเรียนมากที่สุดของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย มีนักเรียน 6,732 คน มีครู 437 คน เจ้าหน้าที่ 134 คน ตั้งอยู่บนที่ดิน 77.5 ไร่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
อนาคตของโรงเรียน
เราต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำงานที่ มองกว้าง มองลึก และมองไกล วิสัยทัศน์ของมิชชั่นในการย้ายสถานที่ตั้งกิจการของมิชชั่น วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียน (สหศึกษา/NP)
วิสัยทัศน์ของโรงเรียนดาราวิทยาลัย 2554-2556
" โรงเรียนดาราวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพมุ่งสู่มาตรฐานสากล พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีตามหลักคำสอนของคริสต์ศาสนา เป็นคนเก่งเต็มตามศักยภาพ อนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสุขในการดำรงชีวิตและมีความเป็นไทย มีการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน" |