การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการศึกษากับการประกันคุณภาพ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย และ
หลักการของการจัดการศึกษา ที่ต้องมุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก และในวรรคสอง บัญญัติว่า ระบบ
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ โรงเรียนดาราวิทยาลัยจึงได้จัดทำแผนประกันคุณภาพสถานศึกษา โดยมีสาระสำคัญที่ครอบคลุมเป้าหมายและหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียน สามารถนำไปใช้กำหนดพันธกิจและมาตรฐานการปฏิบัติงานได้
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปรากฏตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ
หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 23 ก. ลงวันที่ 2 เมษายน 2553 ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ดังต่อไปนี้
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดไว้ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานได้คำนึงถึงมาตรฐานการศึกษาของชาติ จึงต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดและต้องครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่นด้วย ดังนั้น คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาสภาพของปัญหาและความต้องการที่จำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
2. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
3. กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา ผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมหลักการ
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้
การวัดและการประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานการศึกษา
ที่กำหนดไว้
4. กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
5. กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้
อย่างมีประสิทธิภาพ
6. กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครอง และองค์กรชุมชน
7. กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
8. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
การประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นผลมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย “ ระบบการประกันคุณภาพภายใน ”
และ “ ระบบการประกันคุณภาพภายนอก ” เพื่อใช้เป็นกลไกในการผดุงรักษาคุณภาพและมาตรฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นการประเมินผลและติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายในโดยวงจร PDCA ( Plan-Do-Check-Action ) เป็นการปฏิบัติโดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัด ที่ทำหน้าที่ดูแลสถาบันการศึกษา โดยกำหนดระบบการควบคุมคุณภาพให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามความรับผิดชอบระบบการดูแลตนเอง ทั้งในระดับ บุคคล วิชาการ สถานศึกษา ระบบตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้น่าเชื่อถือและเป็นไปอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งมีการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของทุกกิจกรรม ทุกมาตรฐาน เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกต่อไป
การประกันคุณภาพภายนอก เป็นการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา “ สมศ.” ซึ่งกำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกรอบ 5 ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้ายและเสนอผลประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมินเพื่อการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานั้น ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพที่ผ่านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน การประเมินคุณภาพ และการให้การรับรองจาก สมศ.
|