Dara Knowledge Center
Learning Object วิทยาศาสตร์
โครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร : Learning and Teaching Development Project by using Information Communication Technology(LTDP-ICT)

เกมต่อติด

ผู้เรียนเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นแบตเตอรี เส้นลวด หลอดไฟ สวิตซ์ มอเตอร์ กระดิ่งไฟฟ้า มาประกอบเป็นวงจรไฟฟ้า ตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ เริ่มจากวงจรง่ายๆก่อน แต่ละด้านหากไม่สามารถต่อวงจรได้ก็มีคำแนะนำวิะการต่อวงจรให้ เนื้อหาของเกมส์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

 

pH ดิน

ผู้เรียนสังเกตความแตกต่างของต้นไม้ 3 ต้น แล้วทำการทดลองวัดค่าความเป็นกรด-เบส ของดินตามขั้นตอนของ GLOBE ผุ้เรียนศึกษาภาพเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงประจุบวกระหว่างบวกของน้ำมันกับประจุบวกของดิน จากนั้นผู้เรียนทดลองเปลี่ยนประจุบวกของดิน จนสามารถสรุปได้ว่าประจุบวกชนิดใหที่ทำให้ดินเป็นกรด กลาง หรือเบสแล้วจึงตอบคำถามเพื่อสรุปเนื้อหา 

 

กำเนิดแมกมา

ผู้เรียนได้ศึกษาสถานการณ์จำลองหรือภาพเคลื่อนไหวที่แสดงปรากฎการณ์การระเบิดของผู้เขาไฟ น้ำพุร้อน ตั้งแต่บริเวณใต้โลก จนถึงบนพื้นผิวโลกดดยการปรับปริมาณของปัจจัยที่มีผลต่อการระเบิด ได้แก่ ปริมมาณซิลิกา อุณหภูมิ และความดันผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและโครงสร้างของโลก

 

 

ชนิดของแมกมา

ผู้เรียนได้ศึกษาลักษณะและองค์ประกอบทางเคมีของแมกมาต่างชนิดกัน ณ บริเวณที่ต่างๆกัน โดยการสำรวจ สังเกต และบันทึกผลและศึกาาองค์ประกอบของแร่ธาตุ ลักษณะความหนืดของแมกมาชนิดต่างๆทำการประเมินความรู้ที่ได้จากการเล่นเกมส์ จับคู่ลักษณะของภูเขสไฟกับชนิดของแมกมา

 

กำเนิดของหินอัคนี

ผู้เรียนจะได้ศึกาาลักษณะของผลึก องค์ประกอบทางเคมี และศึกษาการตกผลึกของหินอัคนีชนิดต่างๆจากแมกมาหรือลาวาต่างชนิดกัน ที่กำหนดให้โดยการสำรวจ สังเกต และบันทึกข้อมูลในตารางบันทึกผล ผู้เรียนได้ศึกษาและจำแนกเกี่ยวกับการตกผลึกของหินอัคนีแทรกซ้อนและหินอัคนีภูเขาไฟ โดยการสังเกตุและรวมรวมข้อมูล

 

ชนิดของหินอัคนี

ผู้เรียนได้ศึกษาเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างผลึกองค์ประกอบทางเคมี และกระบวนการตกผลลึกของหินอัคนีที่กำหนดให้ มีเกมส์จับคู่ระหว่างชื่อหินกับลักษณะของหินที่กำหนดให้ โดยการสังเคราะห์ข้อมูล

 

ห้องหินตะกอน

ผู้เรียนสำรวจลักษณะและองค์ประกอบของตัวอย่างหินตะกอน 5 ก้อน บันทึกผลการสำรวจ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหินตะกอนแต่ละชนิด จากนั้นจำแนกและจัดวางตัวอย่างหินแต่ละก้อนบนแท่นนิทรรศการให้ตรงกับชนิดของหิน ดดยสาสารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการเกดหินตะกอน และตอบคำถามเพื่อทบทวนความรู้

 

 

ตะกร้อลอดห่วง

ผุ้เรียนศึกษาลักษณะการเคลื่อนที่ของลูกตะกร้อ เมื่อยิงด้วยมุมและความเร้วต้นที่ต่างกัน กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถปรับเปลี่ยนมุมยิงหรือความเร็วต้นในการยิ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ขั้นฝึกฝน ผู้เรียนปรับเปลี่ยนได้ทั้งมุมยิงและความเร็วต้นในการยิง และในขั้นทดสอบผีมือผุ้เรียนทำกิจกรรมในลักษณะเกมส์เพื่อเก็บคะแนนใน Learning Object ยังมีสถานการณ์ 2 สถานการณื ให้ผ้เรียนรู้ระบุว่าการเคลื่อนที่ใดในแต่ละสถานการณ์เป็นการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์

 

 

ความลับของต้นถั่ว

ผู้เรียนเลือกผสมพันธุ์ถั่วลันเตา และบันทึกผล วิเคราะห์และเปรียบเทียบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นลักษณะเด่นและลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นลักษณะด้อย จากนั้นผู้เรียนจึงสึกษาภาพเคลื่อนไหวประกอบบคำบรรยายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะคู่ยีน และลักษณะที่ปรากฎจะได้คาดคะเนผลการผสมพันธุ์
ถั่วลันเตาจากลักษณะคู่ยีนที่ทราบ

 

ดีเอ็นเอสายผสม

ประกอบด้วย 3 กิจกรรม การตัดชิ้นดีเอ็นเอโดยเลือกใช้เอ็นไซม์ให้จำเพาะกับดีเอ็นเอที่ต้องการตัด กิจกรรมที่ 2 ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับดีเอ็นเอปลายเหนียวและปลายทู่และเรียนรู้การต่อชิ้นดีเอ็นเอ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน กิจกรรมที่ 3 ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่อดีเอ็นเอโดยใช้เอ็นไซม์เพื่อให้ได้เป็นดีเอ็นเอลูกผสม สามารถเลือกเล่นกิจกรรมตามลำดับหรือเลือกเล่นแต่ละกิจกรรมตามลำดับหรือเลือกเล่นแต่ละกิจกรรมได้

 

ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก

ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ซึ่งเพิ่มความยากขึ้นตามลำดับ ผุ้เรียนสามารถกระตุ้นการเกิดปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริกได้โดยการปรับความถี่แสง ความเข้มแสง เมื่อผู้เรียนร่วมทำกิจกรรม แล้วให้ตอบคำถามเพื่อทดสอบความเข้าใจของตนเองและสรุปผลเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก

 

 

 

กฎของบอยล์  

เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง กฎของบอยล์ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรกับความดันของแก๊สที่อุณหภูมิและปริมาณคงที่ โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับของสไลด์ผู้เรียนจะได้ทำการทดลอง โดยการปรับปริมาตรของลูกสูบ อ่านค่าความดันที่เปลี่ยนแปลง

 

 

 
  ข้างขึ้นข้างแรม
  ทำไมจึงเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว
   
   

อ้างอิง : สสวท.