1. บริเวณที่สามารถเก็บเชื้อได้คือ แผลที่ลิ้น บริเวณปาก แผลที่กีบ ไรกีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจของลูกสัตว์แรกเกิด
2. ในโค กระบือ ให้เก็บจากแผลเยื่อลิ้นและแผลบริเวณปาก โดยใช้ผ้า ในสุกร ให้เก็บจากแผลหรือตุ่มใสบริเวณเหนือจมูก หรือรอบ ๆ ปากและภาชนะที่สะอาด
3. ในสุกร หรือโค กระบือ แพะ แกะ ที่เดินเขยกแสดงว่าเชื้อแพร่กระจายไปถึงเท้าแล้วและไม่สามารถเก็บเยื่อลิ้นได้ ควรเก็บเชื้อจากบริเวณไรกีบ ซอกกีบ หรืออุ้งกีบแทน โดยทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาดก่อน
4. ขนาดของเนื้อเยื่อเก็บเชื้อไม่ควรน้อยกว่า 1 ตารางนิ้ว หรือรวมกันให้ได้มากกว่า 1 กรัม ถ้าเห็นว่าเนื้อเยื้อจากสัตว์ตัวหนึ่ง ๆ ได้น้อย ก็ควรเก็บจากตัวอื่นเพิ่มเติมด้วย และแยกขวดเป็นตัว ๆ ไป
5. เก็บเนื้อเยื่อบรรจุลงในขวดที่มีน้ำยา 50 % กลีเซอรีนบัฟเฟอร์ เขย่าให้น้ำยาท่วมเนื้อเยื่อ ปิดจุกให้แน่น ปิดทับด้วยเทปกันน้ำยารั่วไหล ทำเครื่องหมาย ขวดให้ชัดเจน
6. ในกรณีไม่สามารถเก็บเนื้อเยื่อได้ ขอให้เจาะเลือดอย่างน้อย 5 มล.แยกส่วนที่เป็นน้ำเหลือง เก็บในขวดที่สะอาดปราศจากเชื้อ ปิดจุกให้แน่น และปิดทับด้วยเทปกันการรั่วไหล
7. การนำส่งขวดบรรจุเนื้อเยื่อหรือน้ำเหลืองที่ได้ฆ่าเชื้อภายนอก ขวดแล้ว ห่อทับด้วยกระดาษหลาย ๆ ชั้น หรือห่อด้วยวัสดุ