
กล้วยบัวสีชมพู (Musa ornata Roxb. )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสั้น ๆ ลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นเทียม
ประกอบด้วยกาบใบสูง 1.5-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว
รูปขอบขนาน ด้านล่างใบมีนวล ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด
เรียกว่า ปลี ใบประดับขนาดใหญ่ เมล็ดเป็นเหลี่ยมและแบน สีดำ
นิเวศน์วิทยา :
มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ภาคเหนือของไทย พบขึ้นตามที่ชื้น ๆ
ริมแม่น้ำทางภาคเหนือ
ระยะเวลาออกดอกติดผล :
ออกดอกเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
การขยายพันธุ์ :
แยกหน่อ เพาะเมล็ด
Musa ornata Roxb. มีอยู่ 2 ชนิด คือ ดอกสีส้ม และสีชมพูอมม่วง
ต้องการแสงแดดจัดและน้ำมาก หากขาดน้ำจะทำให้ใบไหม้ ขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ
1.ดอกสีส้ม ลักษณะด่นคือการแตกหน่อจะออกห่างจากต้นแม่
2.ดอกสีชมพูอมม่วง ลักษณะการแตกหน่อจะชิดต้นแม่หากอยู่กลางแจ้งต้นจะเตี้ย
หากอยู่ในที่รำไรลำต้นจะสูง
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
การปลูกและการดูแลรักษา
ระยะปลูกและการเตรียมหลุม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1.5x2 เมตร หรือ
2.5x3 เมตร ใช้ปุ๋ยคอก และ Rock phospage รองก้นหลุม
การให้ปุ๋ย หลังจากปลูกให้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 50 g /ต้น/เดือน
และระยะที่ใกล้ออกดอกให้ปุ๋ยสูตร 12-12-12-2
การให้น้ำ ให้น้ำสม่ำเสมอโดยให้ระบบสปริงเกอร์จะเหมาะสม
โรคและแมลง
- หนอนเจาะลำต้น
- ตั๊กแตนกัดกินใบ
การเก็บเกี่ยว ตัดดอกที่บานโดยตัดทั้งต้น นำมาปอกกาบออกให้เหลือ 2-3 กาบ
ทำการตัดใบที่เหลือออกให้เหนือดอกประมาณ 2-3 นิ้ว