นักพฤกษศาสตร์ แบ่งบัวออกเป็น 3 สกุลใหญ่คือ
สกุลเนลุมโบ ( Nelumbo ) หรือปทุมชาติ
สกุลนิมเฟียร์ ( Nymphaea ) หรืออุบลชาติ
สกุลวิกตอเรีย ( Victoria ) หรือบัววิกตอเรีย
ในแต่ละสกุลสามารถจำแนกได้หลายชนิด สำหรับในประเทศไทยชนิดของบัวที่ปลูกเป็นการค้ามี 6 ชนิด
บัวหลวง
อยู่ในสกุลปทุมชาติ ลักษณะใบชูเหนือน้ำ เจริญเติบโตโดยมี ไหล ชอนไชไปใต้พื้นดิน พันธุ์ของบัวหลวงที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ฉัตรขาว ฉัตรแก้ว และฉัตรแดง
บัวฝรั่ง
อยู่ในสกุลปทุมชาติ ลักษณะคล้ายบัวหลวง ต้นอ่อน เจริญเติบโตโดยสร้างลำต้น หรือเหง้า เจริญตามแนวนอนใต้ผิวดิน ลักษณะใบมีทั้งขอบเรียบและขอบใบจัก
บัวผัน บัวเผื่อน
อยู่ในสกุลอุบลชาติ ต้นที่งอกจากเมล็ดจะเจริญตามแนวดิ่งขึ้นสู่ผิวดิน แล้วแตกก้านใบบนผิวดินดอกชูพ้นน้ำ บานในเวลาเช้าหรือกลางวัน และหุบตอนเย็น เป็นบัวชนิดที่ขยายพันธุ์ได้ช้า
บัวสาย
อยู่ในสกุลอุบลชาติ มีหัวกลมๆ สายขนาดปลายนิ้วก้อย มีขนเล็กน้อย ใบมน ขอบใบจัก ดอกบานกลางคืน และหุบเวลาเช้า
จงกลนี
อยู่ในสกุลอุบลชาติ มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง เมื่อเหง้าแก่เต็มที่จะสร้างหัวเล็กๆรอบเหง้า เมื่อหัวแก่จะเจริญเป็นต้นใหม่ขึ้นมาข้างๆต้นแม่
บัวกระด้ง หรือบัววิกตอเรีย
ใบมีขนาดใหญ่ กลมคล้ายกระด้ง
ในจำนวนบัวทั้ง 6 ชนิดนี้ บัวหลวงนับเป็นบัวที่มีความสำคัญ
ทางเศรษฐกิจมากที่สุด
และเกษตรกร
ปลูกมากที่สุด
โดยมีวัตถุประสงค์
ของการปลูกที่สำคัญ
2
ประการ
คือ
ปลูกเพื่อตัดดอกตูม
ซึ่งนำไปใช้บูชาพระ
และปลูกเพื่อเก็บเมล็ด
ซึ่งสามารถใช้
ประกอบอาหาร
ทั้งอาหารคาว
และอาหารหวาน
นอกจากนี้ส่วนอื่นๆ
ของบัวหลวง
ก็ยังสามารถจำหน่าย
และใช้ประโยชน์อื่นๆได้
เช่น
ใบแห้ง
ใช้ทำยากันยุง
มวนบุหรี่
ต้มเป็นยาไทยบำรุงหัวใจ
แก้ไข้
และรักษาโรคตับ
ใบสด ใช้ห่ออาหาร
และไหลหรือราก
สามารถนำมาเชื่อม
เป็นอาหารหวาน
มีสรรพคุณ
แก้ร้อนใน
และระงับ
อาการ
ท้องร่วง