ถั่วเหลืองจัดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยพืชหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะเป็นพืชอาหารของมนุษย์และสัตว์โดยตรงแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย เช่น ไก่สดแช่แข็ง ทำสี สบู่ เครื่องสำอาง หมึกพิมพ์ ตลอดจนยารักษาโรคอื่นๆ และปัจจุบันนี้เกษตรกรก็ได้หันมาปลูกถั่งเหลืองกันมากขึ้น จากตัวเลขในปี 2523/2534 มีพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง 7.88 แสนไร่ เพิ่มขึ้นในปี 2533/2534 เป็น 2.18 ล้านไร่ แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตที่ได้รับก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ

จากจำนวนพื้นที่ปลูกที่เพิ่มมากขึ้น จึงให้เกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ดี มีคุณภาพสูง ในปริมาณที่มากขึ้นด้วย จากปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองโดยเฉลี่ยของเกษตรกรในปัจจุบันพบว่า เกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์จำนวน 31,884,000 กิโลกรัม แต่หน่วยงานของรัฐสามารถผลิตได้ประมาณ 4,628,000 กิโลกรัม หรือเพียงร้อยละ 14 เท่านั้น ส่วนที่เหลือเกษตรกรจะซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองจากที่มีผู้นำมาบรรจุกระสอบขายทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ได้ และจากการที่เกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในปริมาณที่สูงมากนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองไว้เป็นพันธุ์ปลูกต่อไป

1. ลักษณะของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง
ถัวเหลืองจัดเป็นพืชน้ำมัน องค์ประกอบส่วนใหญ่ในเมล็ดพันธุ์จึงเป็นโปรตีนและไขมัน ดังนั้นการเก็บรักษาเมล็ดพันถั่วเหลืองจะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะความงอกและความแข็งแรงจะเปลี่ยนแปลง ลดต่ำลงได้อย่างรวดเร็ว
องค์ประกอบของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง
แป้ง ร้อยละ 26
ไขมัน ร้อยละ 17
โปรตีน ร้อยละ 37
อื่นๆ ร้อยละ 20

2. ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เก็บรักษา

จากองค์ประกอบของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ทำให้ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เก็บรักษามีผลกระทบต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์มาก และนอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น เชื้อรา และแมลงในสถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ จากมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองของกรมส่งเสริมการเกษตรจะกำหนดความชื้นของเมล็ดพันุ์สูงสุดไว้ร้อยละ 12 ซึ่งตามหลักสากลได้กำหนดไว้ว่า หากความชื้นของเมล็ดพันธุ์ลดลงร้อยละ 1 จะเพิ่มอายุการเก็บรักษาได้ 1 เท่าตัว

3. สถานที่เก็บรักษา

ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองนั้น การเลือกสถานที่เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมีความจำเป็นมาก เพราะถ้านำเมล็ดพันธุ์ไปเก็บในสถานที่ที่มีความชื้นสูง ก็จะทำให้เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพลดต่ำลง
สถานที่เก็บรักษาที่ดี
- แห้งและเย็น
- สะอาด
- อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อน ไม่อับชื้น
- ป้องกันแดดและฝนได้
- สามารถป้องกันนก หนู ปลวก มด และแมลงต่างๆ ไม่ให้เข้าไปกัดทำลายเมล็ดพันธุ์ได้
- ไม่ใช้เป็นสถานที่เก็บปุ๋ย สารเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง และของเหลวต่าง

4. ประเภทหรือชนิดของภาชนะที่ใช้บรรจุเมล็ดพันธุ์
ภาชนะที่ใช้บรรจุเมล็ดพันธุ์จะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความชื้นของเมล็ดพันธุ์และสภาพอากาศในสถานที่ใช้เก็บเมล็ดพันธุ์ โดยทั่วไปภาชนะที่ใช้บรรจุเมล็ดพันธุ์ได้แก่ กระสอบป่าน ถุงพลาสติกสาน ถุงพลาสติกอับอากาศหรือกระป๋องปิดผนึก ซึ่งภาชนะแต่ละชนิดจะมีความเหมาะสมกับการใช้แตกต่างกันออกไป

กระสอบป่าน เป็นภาชนะที่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดีจึงเหมาะสำหรับบรรจุเมล็ดพันธุ์ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งจำเป็นต้องนำมาลดความชื้นลงอีก
ถุงพลาสติกสาน เป็นภาชนะที่ระบายอากาศได้ไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับบรรจุเมล็ดพันธุ์ที่มีระดับความชื้นตรงตามมาตรฐานแล้ว
สำหรับ ถุงพลาสติกปิดผนึก หรือ กระป๋องปิดผนึกจะเหมาะที่จะใช้บรรจุเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลานาน และเมล็ดพันธุ์ต้องมีการลดความชื้นให้ต่ำลงกว่ามาตรฐานทั่วไปที่กำหนด

5. ระยะเวลาที่ต้องการเก็บรักษา

เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองส่วนมากจะไม่นิยมเก็บรักษาไว้นาน เนื่องจากมีอัตราการเสื่อมคุณภาพรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิสูง หากเกษตรกรต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองไว้ปลูกข้ามฤดู จะต้องเก็บเมล็ดไว้ในสภาพที่ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิได้ ซึ่งต้องมีการลงทุนสูง ดังนั้น การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมักจะเก็บไว้ในระยะเวลาสั้นเพียง 1-2 เดือนเท่านั้น
จากข้อควรคำนึงดังที่กล่าวมาแล้ว การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะเป็นเพียงช่วยให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพช้าลงเท่านั้น แต่ทั้งนี้การดูแลรักษาที่ดี การจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวมาใช้เป็นพันธุ์ปลูกตามขึ้นตอนต่างๆล้วนจะต้องให้ความสำคัญเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ดี มีคุณภาพสูงมาใช้เพาะปลูกต่อไป


พันธุ์ถั่วเหลืองที่กรมวิชาการเกษตรแนะนะให้เกษตรกรนำไปปลูก มีด้วยกัน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์ สจ.1, สจ.2, สจ.4, สจ.5 เชียงใหม่ 60, นครสวรรค์ 4 และ พันธุ์สุโขทัย 1
ปัจจุบันนี้ทางราชการไม่ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ สจ.1 และสจ.2 แล้ว จะมีเพียงเกษตรกรที่เก็บพันธุ์ไว้ใช้ปลูกเองในบางท้องที่ที่เป็นแหล่งปลูกเดิม เช่น ที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก เป็นต้น


พันธุ์ อายุการเก็บเกี่ยว (วัน)
สจ.1 94
สจ.2 94
สจ.4 93
สจ.5 92
นครสวรรค์ 1 74-78
สุโขทัย 1 96
เชียงใหม่ 60 97

ต้นฤดูฝน เริ่มปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
ปลายฤดูฝน เริ่มปลูกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เก็บเกี่ยวระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกาย
ฤดูแล้ง เริ่มปลูกระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคมเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

1. ซื้อได้จากศูนย์ขยายพันธุ์พืชโดยตรง หรือทางไปรษณีย์ ธนาณัติสั่งจ่ายในนามหัวหน้าศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่สั่งซื้อ
2. สามารถติดต่อขอทราบข้อมูลได้จากฝ่ายแผนงานและการตลาดเมล็ดพันธุ์ กองขยายพันธุ์พืชชั้น 4 กรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 5797544, 5614793
3. ซื้อได้จากผู้แทนจำหน่าย ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรในท้องถิ่น ที่รับเมล็ดพันธุ์ไปจำหน่าย
4. ติดต่อเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ หรือ เกษตรจังหวัด ในท้องถิ่น ให้ช่วยดำเนินการติดต่อจัดซื้อให้