โรคที่สำคัญของกะหล่ำปลี ได้แก่
1. โรคเน่าเละของกะหล่ำปลี
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย
ลักษณะอาการ โรคนี้พบได้เกือบทุกระยะการเจริญเติบโตแต่พบมาก
ในระยะที่กะหล่ำปลีห่อหัว โดยในระยะแรกพบเป็นจุดหรือบริเวณมีลักษณะฉ่ำ
น้ำคล้ายรอยช้ำ ต่อมาแผลจะขยายลุกลามออกไป ทำให้เกิดการเน่าเละเป็น
เมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็นจัด เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้กะหล่ำปลีเน่าเละทั้งหัว
และหักพับลง


การป้องกันกำจัด
1. ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลหรือรอยช้ำทั้งขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง
2. ฉีดพ่นสารกำจัดแมลงปากกัดหรือแมลงวันในแปลงปลูก
3. กำจัดเศษวัชพืชออกจากแปลง อย่าไถกลบbr>
4. ในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี
5. หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วให้เก็บผักไว้ในที่อุณหภูมิต่ำประมาณ
10 องศาเซลเซียส
2. โรคเน่าดำ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อบักเตรี ซึ่งจะเข้าทำลายทางรูใบที่อยู่ตามขอบใบ
ลักษณะอาการ ใบจะแห้งจากด้านขอบใบเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยม
ที่มีปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ บนเนื้อเยื่อที่แห้งจะมีเส้นใยสีดำเห็นชันเจน
อาการใบแห้งจะลุกลามไปจนถึงเส้นกลางใบและลุกลามลงไปถึงก้านใบทำให้
เกิดอาการใบเหลืองเหี่ยวและแห้งตาย กะหล่ำปลีจะชักงักการเจริญเติบโตและ
อาจตายได้ โดยเชื้อบักเตรีที่เป็นสาเหตุของโรคนี้จะอาศัยอยู่ในดิน เมื่อฝนตกจะ
ระบาดไปทั่ว นอกจากนี้ยังสามารถติดไปกับเมล็ดผักได้อีกด้วย
การป้องกันกำจัด
1. ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกควรแช่เม็ดพันธุ์ผักในน้ำอุ่นที่
อุณหภูมิประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20-30 นาที เพื่อฆ่า
เชื้อโรคที่ติดอยู่ในเมล็ด
2. ไม่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำติดต่อกันเกิน 3 ปี เพราะจะทำให้เป็น
แหล่งสะสมโรค
แมลงที่สำคัญ ได้แก่
1. หนอนใยผัก
หนอนใยผักเป็นหนอนผีเสื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อ
ศัตรูผัก จะมีลักษณะหัวท้ายแหลม เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และทิ้งตัวลงดิน
โดยการสร้างใย มักจะพบตัวแก่ตามใบโดยเกาะอยู่ในลักษณะยกหัวขึ้น หนอน
ใยผักเกิดจากการที่แม่ผีเสื้อวางไข่ไว้ ไข่มีขนาดเล็กค่อนข้างแบนสีเหลือง วาง
ติดกัน 2-5 ฟอง อายุไข่ประมาณ 3 วัน อายุดักแด้ 3-4 วัน ตัวเต็มวัยมีสี
เหลืองเทา ตรงส่วนหลังมีแถบสีเหลือง อายุตัวเต็มวัย 1 สัปดาห์ การทำลาย
ของหนอนใยผักจะกัดกินผักอ่อน ดอกหรือใบที่หุ้มอยู่ทำให้ใบเป็นรูพรุน หนอน
ใยผักมีความสามารถในการทนต่อสารเคมี และปรับตัวต้านทานต่อสารเคมี
ป้องกันกำจัดได้ดี

การป้องกันกำจัด
1. ใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง
2. โดยการใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัสทรูรินเจนซิส ทำลาย
3. หมั่นตรวจดูแปลงกะหล่ำปลี เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที
2. หนอนกระทู้ผัก
หนอนกระทู้ผักมักพบบ่อยในพวกผักกาด
โดยจะกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวปลี มักจะ
เข้าทำลายเป็นหย่อม ๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอน
ชนิดนี้สังเกตได้ง่ายคือลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ
คล้ายหนอนกระทู้หอม มีสีสันต่าง ๆ กัน มีแถบสีขาว
ข้างลำตัวแต่ไม่ค่อยชัดนัก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด
3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้า ระยะตัวหนอน
ประมาณ 15-20 วัน และจะเข้าดักแด้ตามใต้ผิวดิน ระยะดักแด้ประมาณ
7-10 วัน การทำลายจะกัดกินก้านใบและปลีในระยะเข้าปลี
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจดูสวนผัก เมื่อพบหนอนกระทู้ผักควรทำลายเสียเพื่อ
ป้องกันไม่ให้มีการระบาดลุกลามต่อไป
2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมโธมิล อัตรา 10-12 กรัม/น้ำ 20
ลิตร หรืออาจใช้เมวินพอส 20-30 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร
3. หนอนเจาะยอดกะหล่ำ
จะพบระบาดทำความเสียหายให้แก่พืชผักในตระกูลกะหล่ำ โดย
หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินในหัวหรือยอดผักที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดขาด
ไม่เข้าหัว ถ้าระบาดในระยะออกดอกจะเจาะเข้าไปในลำต้น ก้านดอก หรือใน
ระยะเล็กจะกัดกินดอก
การป้องกันกำจัด
ควรปฏิบัติตั้งแต่ระยะแรกโดยการเลือกกล้าผักที่ไม่มีไข่หรือหนอน
เล็กติดมา จะช่วยป้องกันมิให้หนอนเข้าไปทำลายส่วนสำคัญของพืช เช่น หัว
หรือก้านดอกได้ นอกจากนี้อาจใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด โดยหากเป็น
แหล่งปลูกผักที่ไม่ค่อยมีการใช้สารเคมีกันมาก่อนควรใช้เมวินฟอสหรือ
เมทโธมิล ควรเลือกใช้สารเคมีชนิดนี้ในระยะใกล้เก็บผักสด และถ้าเป็นแหล่งที่
เคยปลูกผักและมีการใช้สารเคมีมาก่อน ควรเลือกใช้สารในกลุ่มไพรีทรอยด์
สังเคราะห์ทั้งหลาย ในอัตรา 20-30 ซี.ซี. วิธีการใช้สารเคมีทั้งสิงชนิดนี้คือใช้
เมื่อพบไข่หรือหนอนเริ่มเข้าทำลาย ช่วงเวลาพ่นประมาณ 7 วัน/ครั้ง


4. แมลงศัตรูอื่น ๆ ได้แก่
- ด้วงหมัดผัก จะพบการทำลายได้ตลอดปี ป้องกันโดยการฉีดพ่น
ด้วยเซฟวิน 85 หรือแลนเนท
- มด จะทำลายช่วงก่อนกล้างอก สังเกตได้จากทางเดินของมด
ป้องกันกำจัดโดยใช้เซฟวิน 85 และคูมิฟอส รดแปลงกล้า