อูฐมีระบบย่อยอาหารคล้ายสัตว์สี่กระเพาะ แต่กระเพาะส่วนที่สาม คือ omasum ไม่เจริญเหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้องประเภทอื่น แต่จะมีลักษณะเล็กยาว มีเซลล์ที่มีความพิเศษคือเก็บน้ำได้มาก อูฐจึงไม่ต้องกินน้ำบ่อย อูฐเป็นสัตว์ที่ใช้ประโยชน์จากพืชคุณภาพต่ำได้ดีกว่าสัตว์กระเพาะรวมประเภทอื่นโดยเฉพาะพืชประเภทไม้พุ่ม ประสิทธิภาพการย่อยได้ของอูฐจะอยู่ระหว่าง 46-81 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดีกว่าแพะและแกะ แต่อย่างไรก็ตามโค Zebu จะสามารถใช้อาหารประเภทหญ้าแห้งได้ดีกว่าอูฐ อูฐมีความต้องการอาหารหยาบประมาณ 5-10 กก. วัตถุแห้ง (dry matter) ต่อ 100 กก. ของน้ำหนักตัว หรือสามารถกินหญ้าสดได้วันละ 10-20 กก. ส่วนความต้องการน้ำของอูฐจะขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและอาหารที่กิน อูฐสามารถอยู่ได้เป็นเวลานานกว่าสัตว์อื่นโดยไม่มีน้ำ อูฐจะกินน้ำวันละประมาณ 13 ลิตรเมื่ออาหารอุดมสมบูรณ์หรือกินหญ้าสดและจะกินน้ำวันละ 30 ลิตรเมื่อขาดอาหารหรือกินอาหารจากพื้นที่ดินเค็มการที่อูฐสามารถถอดน้ำได้นานกว่าสัตว์ประเภทอื่นก็เนื่องจากอูฐมีอัตราการสูญเสียน้ำต่ำและทนอาการแห้งน้ำอูฐจะเจริญเติบโตเต็มที่ เพศผู้อายุ 4-6 ปี มีน้ำหนักประมาณ 400-600 กก. เพศเมียอายุ 3-5 ปี มีน้ำหนัก 300-400 กก. (Wilson, 1984)