หลักเกณฑ์ในการตีราคารังไหม



การตีราคารังไหม หมายถึงการชี้ขาดว่าเกษตรกรแต่ละรายที่นำรังไหม มาจำหน่ายให้แก่โรงงานสาวไหมหรือบริษัทผู้รับซื้อนั้นจะได้รับราคากิโลกรัมละ เท่าไร ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะคุณภาพของรังไหมที่นำมาจำหน่าย

ปัจจุบันการตีราคารังไหมได้มีการปฎิบัติกัน 2 ลักษณะ คือ

1. การตีราคารังไหมด้วยรังไหมสด หมายถึง การใช้ตัวอย่างรังไหมสด มาทำการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งเปอร์เซนต์เปลือกรังและเปอร์เซนต์รังดีรังเสีย การตีราคาโดยวิธีดังกล่าวเป็นที่นิยมปฎิบัติกันมาก เกษตรกรสามารถที่จะทราบ ราคารังไหมของตนเองได้ในวันที่นำรังไหมไปจำหน่าย ส่งผลทำให้เกษตรกรเกิด ความมั่นใจในราคาที่ได้รับเพราะเกษตรกรได้อยู่ในช่วงเวลาที่ทำการตีราคารังไหม และเป็นวิธีการปฎิบัติที่สะดวกและเหมาะสม

2. การตีราคารังไฑมต้วยรังไหมแห้ง หมายถึง การตีราคาโดยใช้ตัวอย่าง รังไหมสดมาทำการหาเปอร์เซนต์เปลือกรัง และตัวอย่างรังไหมแห้ง โดยการนำ รังไหมสดที่สุ่มมาไปอบแห้งก่อนแล้วจึงนำไปหาเปอร์เซนต์รังดีรังเสีย วิธีการ ตีราคาดังกล่าวมีการปฎิบัติกันบ้าง แต่เกษตรกรที่นำรังไหมไปจำหน่ายให้แก่โรงงาน สาวไหมหรือบริษัทไม่สามารถที่จะทราบราคารังไหมได้ในวันที่นำรังไหมไปจำหน่าย เพราะต้องรอรังไหมอบแห้งก่อน ดังนั้นวิธีการดังกล่าวเกษตรกรมักจะไม่ค่อย ให้ความสนใจเนื่องจากขาดความมั่นใจในการตีราคารังไหมว่าจะได้รับความยุติธรรม หรือไม่ เพราะเกษตรกรเองมิได้อยู่ในช่วงเวลาการตีราคารังไหม

จากวิธีการตีราคารังไหมดังกล่าวทั้ง 2 วิธีนั้น เกษตรกรจะมีความมั่นใจ ในราคารังไหมที่ได้รับเพิ่มมากขึ้น หากหน่วยราซการที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง คือกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตรได้เข้าไปร่วมเป็นสื่อกลางใน การตีราคารังไหมเพื่อให้เกิดความยุติธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย