ผลพลอยได้จากข้าวโพดฝักอ่อน

นอกจากจะได้ฝักอ่อนที่ใช้บริโภคแล้ว ข้าวโพดฝักอ่อนยังให้ผลพลอยได้เช่นต้น และใบ 4,800 กิโลกรัมต่อไร่ เปลือกและไหม 890 กิโลกรัมต่อไร่ รวมทั้งช่อดอกตัวผู้อีก 500 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งผลพลอยได้เหล่านี้สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคเนื้อและได้เป็นอย่างดี เพราะส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพดฝักอ่อนมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีนที่เป็นประโยชน์ตั้งแต่ 6.4-13.8 เปอร์เซ็นต์ และมีเยื่อใยสูงถึง 28-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยให้โคเจริญเติบโตได้ดีกว่าการกินหญ้าหรือฟางข้าว จึงทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนิยมนำผลพลอยได้จากข้าวโพดฝักอ่อนเหล่นี้มาใช้เลี้ยงโคทดแทนหญ้ากันมากขึ้น ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้างโพดฝักอ่อนสามารถขายผลพลอยได้เหล่านี้เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง เช่น ต้นข้าวโพดฝักอ่อนจะขายได้ไร่ละประมาณ 200-1,000 บาท ตามแต่ฤดูกาล




ปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกข้าวโพดฝักอ่อนควบคู่ไปกับการเลี้ยงโค โดยมีรายได้จากการขายฝักข้าวโพด และขายน้ำนมโคหรือตัวโค โดยที่ไม่ต้องปลูกหญ้า แต่กิจกรรมการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนและการเลี้ยงโค ต่างก็ต้องใช้แรงงานมากเป็นพิเศษ ดังนั้นเกษตรกรควรรวมกลุ่มกันผลิตข้าวโพดฝักอ่อน โดยหมุนเวียนระยะเวลาปลูกทุก 7 วัน เพื่อให้มีต้นข้าวโพดเลี้ยงโคของสมาชิกได้ตลอดทั้งปี สำหรับสูตรที่ใช้คำนวณพื้นที่ปลูกข้าวโพดมีดังนี้
พื้นที่ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนต่อสัปดาห์ =
น้ำหนักอาหารหยาบที่โคต้องการต่อวัน (กก.) x จำนวนโค x 7
ปริมาณต้นข้าวโพดต่อไร่ (กก.)
ตัวอย่าง เช่น ถ้ามีสมาชิก 10 ราย แต่ละราย