โคตั้งท้องนาน 9 เดือนครึ่งหรือประมาณ 283 วัน ถ้าเราทราบวันผสม จะทำให้ทราบถึงวันคลอดได้
โคใกล้คลอดเต้านมจะขยายใหญ่ขึ้นมีน้ำนมขังอยู่ในเต้าจนเต็ม อวัยวะเพศภายนอกนวมแดงถ้าอยู่ในแปลงโคมักจะแยกตัวออกจากฝูงหาที่ร่มหลบนอนพักผ่อน ก่อนถึงระยะคลอดประมาณ 10 วัน เราควรแยกแม่โคออกจากฝูง และขังไว้ในคอกที่สะดวกมีหญ้าแห้งหรือฟางรองพื้นแต่ถ้าเห็นว่าจะคลอดในแปลงหญ้าควรผูกโคไว้ในที่แห้งหรือใต้ร่มไม้และอยู่ในสายตาของผู้ดูแลตลอดเวลา

ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ควรระวังไม่ให้แม่โคท้องผูก โดยให้อาหารที่ย่อยง่ายและมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่นรำสด 1 ส่วน ผสมปลายข้าว 1 ส่วนให้โคกินจะทำให้โคคลอดง่ายยิ่งขึ้น

สองสามชั่วโมงก่อนคลอด แม่โคจะแสดงอาการกระวนกระวายไม่อยู่นิ่ง โคนหางจะยกขึ้น มีน้ำเมือกไหลทางช่องคลอด แม่โคจะเบ่งเอาถุงน้ำคร่ำออกมาก่อน หลังจากนั้น 10 นาทีถุงน้ำคร่ำจะแตกลูกโคก็จะตามออกมา โดยเอาขาหน้าออกมาก่อนในลักษณะคว่ำในช่วงนี้แม่โคจะเบ่งอย่างแรงเป็นจังหวะซึ่งแม่โคอาจนอนตะแคงเบ่งหรือยืนแบ่งสลับกัน ส่วนขาหน้าโคจะออกมาเรื่อย ๆ ต่อไปจมูกและใบหน้าหัวก็จะโผล่ออกในลักษณะที่อยู่ตรงกลางขาหน้าทั้งสองหนีบอยู่จนกระทั่งคลอดออกมาทั้งตัวโดยจะหลุดออกมาทั้งตัวนั้น แม่โคอาจจะค่อย ๆ ยืนขึ้น ในขณะที่ลูกโคจะหล่นลงพื้นพอดี ระยะเวลาที่แม่โคคลอดใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรือ 1-2 ชั่วโมงก็ได้ หลังจากนั้นรกจะถูกขับออกมาภายในเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง

การช่วยเหลือในการคลอด ถ้าแม่โคคลอดออกมาตามปกติไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือ ผู้เลี้ยงเพียงแต่คอยดูอยู่ห่าง ๆ และคอยให้ความช่วยเหลือต่อเมื่อแม่โคคลอดลูกมาผผิดปกติ เช่นลูกโคคลอดลูกออกมาในท่าผิดปกติ ใช้เวลาเบ่งลูกนาน หรือลูกออกมาแล้วไม่มีแรงจะช่วยเหลือลูกผู้เลี้ยงต้องช่วยเหลือแม่โค

ในกรณีที่ลูกโคคลอดออกมาในท่าที่ผิดปกติ เพราะว่าขาอาจบิดพับหรือตั้งตัวอยู่ในท่าที่ผิดปกติ ผู้ทำคลอดก็ต้องล้างมือให้สะอาดแล้วล้างมือเข้าไปจัดท่าให้ลูกโคเสียใหม่ เพื่อให้ลูกโคอยู่ในท่าปกติอาจใช้มือหรือเชือกจับขาหน้าลูกโค ช่วยดึงออกมาตามจังหวะการเบ่งของแม่โค แต่การดึงก็ต้องรู้จังหวะการเบ่งของแม่โคด้วย หากดึงเร็วเกินไปหรือดึงออกในท่าลูกโคอยู่ในท่าผิดปกติ ทำให้ลูกโคดันปากช่องมดลูกออกมาในขณะที่มดลูกยังไม่ขยายเต็มที่ จะทำให้มดลูกฉีกขาดได้อาจเป็นสาเหตุให้มดลูกทะลักได้

เมื่อลูกโคคลอดออกมาแล้ว แม่โคไม่มีแรงดูแลลูกหรือเลียเยื่อเมือกที่ติดมากับลูก ผู้เลี้ยงต้องช่วยเหลือเช็ดเยื่อเมือก โดยใช้ผ้าแห้งเช็ดตามตัว เอาของเหลวต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกโค ถ้าหากเห็นว่าลูกโคยังไม่หายใจก็ให้จับขาหลังทั้ง 2 ยกขึ้น แล้วห้อยหัวแกว่งไปมา 3-4 ครั้งกระตุ้นการหายใจของลูกโค

ในกรณีที่เห็นว่าลูกโคไม่สามารถคลอดออกมาได้ เพราะความผิดปกติของแม่โคสุดที่ผู้เลี้ยงจะแก้ไขได้ ควรเรียกสัตว์แพทย์มาช่วยเหลือทำคลอด

เมื่อลูกโคคลอดแล้วในช่วง 4 วันแรก น้ำนมแม่ในระยะนี้เรียกว่าน้ำนมเหลือง มีลักษณะข้นกว่าธรรมดาและมีสีเหลือง เป็นสารอาหารที่ลูกโคต้องการอย่างครบถ้วน ยังมีสารที่ส่วนประกอบของภูมิคุ้มกันโรค จำเป็นต้องให้ลูกโคกินนมน้ำเหลืองนี้

หากลูกโคไม่ยอมกินนมน้ำเหลือง ต้องใช้ความพยายามให้กินโดยป้อนให้กินจากถังหรือขวดบรรจุนม เริ่มจากให้ลูกโคดูดนมจากนิ้วมือที่จุ่มนมก่อนแล้วจึงให้ลูกโคดูดจากหัวนม ซึ่งมีขวดบรรจุนมแขวนไว้ในระดับเหนือหัวลูกโคไม่ควรให้ลูกกินนมจากถังเพราะอาจจะสำลักนมได้

ในกรณีที่เห็นว่าสายสะดือยาวเกินไป จำเป็นต้องตัดสายสะดือโดยใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนเช็ดสายสะดือเพื่อฆ่าเชื้อโรคตัดสายสะดือให้สั้นเหลือ ประมาณ 1-1 ฝ นิ้ว จากโคนหน้าท้อง ใช้กรรไกรหรือมีดคม ๆ ตัด แล้วใช้เชือกชุบทิงเจอร์ไอโอดีนมัดไว้สัก 2 เปราะ ถ้าเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตัดสายสะดือโดยแน่ใจว่าสถานที่ที่คลอดสะอาดและแห้งอาจปล่อยไว้สายสะดือจะแห้งไปเอง

แม่โคหลังคลอด หลังคลอดแม่โคจะไม่กินน้ำและอาหาร ในวันแรกอาจจะกินแต่น้ำ แม่โคจะกินอาหาร และเพิ่มขึ้นในวันต่อ ๆ ไป ระยะนี้ควรให้อาหารที่มีโปรตีน 13 เปอร์เซ็นต์เสริมแก่แม่โค เพื่อช่วยในการสร้างน้ำนม ไม่ดึงเอาโภชนะที่สะสมอยู่ในร่างกายออกมาใช้มากเกินไปทำให้แม่โคผอม มีผลในการผสมครั้งต่อไป

ตัวอย่างสูตรอาหารข้น
ปริมาณโปรตีน (ร้อยละ)
สูตรที่ 1
13
สูตรที่ 2
15
วัตถุดิบ (ก.ก.)
-
-
รำ
60
40
ปลายข้าว
28
40
กากถั่วเหลือง
10
18
กระดูกป่น
1
1
เกลือ
1
1
รวม
100
100