ฝีเป็นผลจากการที่ร่างกายต้องการหยุดการรุกรานของเชื้อโรคและป้องกันการกระจายเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายที่เป็นอันตราย โดยสร้างเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งมาห่อหุ้มเอาไว้ บริเวณที่เป็นฝีจะนูนสูงจากระดับผิวหนังปกติในระยะแรกจะแข็งระยะหลังจะนิ่มจะแตกออกในที่สุด ถ้ารอได้ควรผ่าฝีเมื่อนิ่มแล้ว (ฝีสุกแล้ว) ซึ่งจะได้ผลดีกว่า
การผ่าและการรักษาฝีทำได้ดังนี้
1. โกนขนรอบ ๆ ฝีให้กว้าง เช็ดด้วยทิงเจอร์และตรวจให้แน่ใจว่าเป็นฝีจริงโดยใช้เข็มที่สะอาดเจาะดูดดูก่อน ถ้าเป็นฝีจะมีหนองออกมาในกระบอกยา
2. ถ้าฝียังไม่แตกออก ให้ใช้มีดโกนกรีดผ่า โดยให้ปากแผลอยู่ในส่วนนิ่มที่ต่ำที่สุด ให้ปากแปลกว้างพอสมควร ประมาณ 1-3 นิ้ว ถ้าปากแผลแคบจะไม่สะดวกในการชะล้างแผลและปากแผลจะปิดก่อนที่เชื้อโรคและเศษเนื้อตายจะถูกกำจัดออกมาหมด ทำให้กลับเป็นฝีมือ
3. คัดเอาหนองออก แล้วใช้หางช้อนสเตนเลสขูดทำลายถุงฝีจนเลือดออกซิบ ๆ
4. เช็ดภายในโพรงฝีด้วยทิงเจอร์
5. ยัดหมุด (ใช้ผ้าก๊อสชุบทิงเจอร์จัดให้แน่น) แล้วพ่นยากันแมลง

6. เอาหมุดออกในวันรุ่งขึ้น แล้วยัดหมุดซ้ำ พ่นยากันแมลง
7. เอาหมุดออกในวันต่อมา ถ้าแมลงตอมให้พ่นยากันแมลง การยัดหมุดนานเกินไปจะทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ทำให้แผลหายช้า