ดอกดาหลาที่ตัดมาแล้วจะนำมาแช่ในน้ำสะอาด เพื่อป้องกันการเหี่ยวใช้ถุงพลาสติกใส่ห่อดอกแต่ละดอก เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกห้อยและช้ำ จากนั้นจึงนำถังที่บรรจุดอกไม้ขึ้นไปส่งให้แก่พ่อค้า

อายุการปักแจกัน

ดอกดาหลาเมื่อตัดจากต้นแล้วนำมาปกแจกันในน้ำสะอาจจะมีอายุอยู่ได้ ประมาณ 3 - 7 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ



ต้นทุนการผลิตต่อไร่

ต้นทุนการผลิตดาหลาเบื้องต้นโดยทั่วไปจะมาจากค่าใช้จ่ายตามรายละเอียดดังนี้

1. ค่าหน่อพันธุ์ต่อไร่ ในปีแรก (หน่อละ 100) 32,000 บาท
2. ค่าเตรียมดินไร่ละ 1,000 บาท
3. ค่าแรง 3,200 บาท
4. ค่าปุ๋ยคอก 2,000 บาท
5. ค่าปุ๋ยเคมี 800 บาท
6. ค่าสารเคมี 1,500 บาท
รวม 40,500 บาท


ผลผลิต

ผลผลิตที่เกษรตกรจะได้รับมีดังต่อไปนี้

ปริมาณดอกต่อปี 32,000 ดอก
ปริมาณหน่อต่อปี (1 ต้นให้ 7 หน่อ) 2,240 บาท

การจำหน่ายผลผลิต

ส่งดอกดาหลาให้แก่ร้านดอกไม้ โรงแรมฯ หรือส่งขายให้กับพ่อค้าตลาดปากคลองตลาด

ราคาผลผลิต

ดอกดาหลามีราคาสูงหรือต่ำต่างกันขึ้นกับปัจจัยหลายด้าน เช่น แหล่งปลูกผู้รับซื้อ และผู้ปลูกเอง ดอกดาาหลามีราคาตั้งแต่ 8-50 บาทต่อดอก นอกจากนี้ยังมีการขายหน่อพันธุ์ซึ่งราคาขายก็ต่างกัน เช่นเดียวกับดอก คืออยู่ในช่วง 50 - 300 บาทต่อหน่อ

ปัจจุบันราคาหน่อพันธุ์ดาหลายังคงสูงอยู่ เกษตรกรผู้ปลูกดาหลาปัจจุบันจึงได้รายได้จากการขายหน่อพันธุ์ด้วย แต่เนื่องจากดาหลาขยายพันธุ์ได้ไม่ยากนัก และมีเกษตรกรบางรายขยายพันธุ์ดาหลาโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงคาดว่าต่อราคาพันธุ์จะต่ำลง และมีการขยายพื้นที่ปลูกเป็นการค้าเพื่อการตัดดอกมากขึ้น

การตลาดในปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกดาหลา เพราะเกษตรกรขาดข้อมูลเรื่องความต้องการของตลาด ทำให้ขาดความมั่นใจในการลงทุน ดังนั้นเกษตรที่ประสพผลสำเร็จในการปลูกดาหลาในปัจจุบันจึงเป็นเกษตรกรที่มีการโฆษณาตนเอง และสามารถหาตลาดได้เอง