| 
|
แดงหรือถั่วนิ้วนางแดง เป็นพืชตระกูลถั่วที่ค่อนข้าง จะรู้จักกันมากในปัจจุบัน เพราะเป็นพืชที่ส่งออกผลผลิตที่ส่ง ออกประมาณ 20,000 - 30,000 ตันต่อปี มีมูลค่า 150 - 190 ล้านบาท ตลาดส่งออกถั่วนิ้วนางแดงของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น และ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้ทำไส้ขนม การใช้ภายในประเทศมีน้อย จะส่งออกเกือบทั้งหมดปริมาณการผลิตของแต่ละปีขึ้นอยู่กับ ราคาที่เกษตรกรได้รับ ถ้าราคาดีก็ผลิตมากเพราะเป็นผลพลอยได้ จากการปลูกข้าวโพด
แหล่งปลูกที่สำคัญคือจังหวัดเลย (ปลูกมากที่อำเภอวังสะพุงและอำเภอเชียงคาน) และที่จังหวัดขอนแก่น, พิษณุโลกและที่อื่น ๆ บ้างเล็กน้อย เช่น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเชียงราย เป็นต้น
ถั่วแดงที่ปลูกในขณะนี้มีหลายชนิด แต่ที่ปลูกเป็นการค้าและปลูกมากเป็นถั่วแดงเมล็ดสีแดง ดอกสีเหลือง, ฝักเล็กเท่า ๆ กับถั่วเขียว แต่ยาวกว่าเล็กน้อย เมื่อแก่ผักจะมีสีน้ำตาลอ่อนและสีดำ ฝักจะห้อยลงจากช่อเหมือนนิ้วมือ ฝักที่มีสีดำเมล็ดจะโตกว่าฝักสีน้ำตาลอ่อนเล็กน้อย ต้นเลื้อย ลำต้นและใบมีขนโดยทั่วไป เรียกว่า ถั่งแดงเมืองเลยหรือถั่วนิ้วนางแดง แต่ที่จังหวัดเลยเรียกว่า ถั่วท้องนา หรือบ้านนา เป็นพันธุ์ที่นำมาจากประเทศศรีลังกา เพื่อใช้เป็นพืชบำรุงดิน ชื่อเดิมเรียกว่า ถั่วแดงซีลอน ถั่วพวกนี้ถ้าเมล็ดมีสีแดง ส่วนมากจะเรียกชื่อว่า ถั่วแดง ถั่วนางแดงหรือนิ้วนางแดง เหมือนกันหมด ถ้าเมล็ดมีสีขาวอมเขียวเล็กน้อย จะเรียกชื่อแตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องที่ เช่น ที่พิษณุโลก เรียกว่า ถั่วนา ที่อุดร เรียกว่า ถั่วเต็มกำหรือเล็บมือนาง (ส่วนถั่วแดงพระราชทานนั้น ไม่รวมอยู่ในพวกนี้)
Back To Menu