

1. ตลาดกลางที่เป็นแหล่งซื้อขายปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ได้แก่ ตลาดบางปะกง ฉะเชิงเทรา ตลาดรังสิต ปทุมธานี ตลาดลาดกระบัง กรุงเทพฯ และสะพานปลา กรุงเทพฯ จากการศึกษาวิถีการตลาดปลาในภาคอีสานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าปลาน้ำจืด (ปลาดุก ปลาช่อน และปลาหมอเทศ) ซึ่งขนส่งในลักษณะแช่น้ำไว้ระหว่างการขนส่งและวางขายในตลาดนั้นจะผ่านมือผู้รวบรวมจากภาคกลางแล้วสงให้พ่อค้าขายส่งมือ 1,2 จนกระทั่งถึงพ่อค้าขายปลีก
2. การบริโภคภายในประเทศ จากผลผลิตปลาดุกเฉลี่ยในปี 2530 จำนวน 13,900 ตันถ้าจำนวนประชากรมีประมาณ 52 ล้านคน ก็จะบริโภคปลาดุกเฉลี่ย 0.27 กก./คน/ปี เท่านั้นแต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่าในภาคอีสานบริโภคปลาน้ำจืดเฉลี่ย 21.3 กก./คน/ปี ในจำนวนนี้เป็นปลาช่อน 7 กก./คน/ปี ปลาดุก 3.6 กก./คน/ปี ปลาหมอ 1.8 กก./คน/ปี นอกนั้นเป็นปลานิลตะเพียนและปลาอื่นๆ
ปริมาณปลาดุกที่บริโภค 3.6 กก./คน/ปี นั้นร้อยละ 18.6 ได้จากการซื้อมา ดังนั้นคนอีสาน 1 คน ซื้อปลาดุกบริโภคเฉลี่ย 0.67 กก./คน/ปี ซึ่งสูงกว่าปริมาณเฉลี่ยทั้งประเทศ
3. ราคา จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เกี่ยวกับราคาสัตว์น้ำที่ชาวประมงขายได้ พบว่า การเพิ่มขึ้นของราดาปลาน้ำจืด โดยเฉพาะ ปลาช่อนและปลาดุกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 5.85 และ 5.05 ตามลำดับ ซึ่งอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของราคาปลาน้ำจืดนี้มีแนวโน้มสูงมากกว่า สัตว์น้ำจากทะเล
การตลาด พิจารณาฟาร์มเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของสัตว์น้ำจืดสำคัญ ๆ เปรียบ