
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้องกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบีกระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็กกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว
อนึ่ง ในการรักษาโรดปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา

ภาพที่ 10 ปลาดุกมีเห็บระฆังเกาะ จะมีเมือกสีขาวขุ่นคลุมตัวอยู่

ภาพที่ 11 ปลาดุกที่มีพยาธิเกาะเป็นจำนวนมาก อาจเกิดครีบกร่อนได้

ภาพที่ 12 ลูกปลาท้องบวมน้ำ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและมีการตกเลือด

ภาพที่ 13 ลูกปลามีรอยด่างขาวตามลำตัว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Flexibacter columnaris

ภาพที่ 14 ปลาดุกมีพยาธิปลิงใสเกาะตามลำตัว

ภาพที่ 15 ปลาเป็นแผลเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila

ภาพที่ 16 โอโอดิเนียมบริเวณเหงือกปลา

ภาพที่ 17 ปลามีรอยด่างและเป็นแผลเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อน