ไรแดงทุเรียน
ไรแดงมีการระบาดมากในช่วงฤดูหนาวหรือตอนฝนทิ้งช่วง ซึ่ง
มีอากาศแห้งแล้งและลมแรง โดยไรแดงจะดูดน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณหน้าใบ
ของทุเรียน โดยเฉพาะตามแนวเส้นกลางใบ เห็นคราบไรเป็นสีขาวเกาะ
ติดบนใบเป็นผงสีขาวคล้ายนุ่นจับ และจะทำให้ใบร่วง หลังจากนั้น
ทุเรียนจะแตกใบใหม่ ซึ่งจะตรงกับช่วงดอกบานหรือเริ่มติดผล ทำให้
ดอกและผลร่วงเสียหาย แต่ถ้าเป็นช่วงผลอ่อนแล้ว จะทำให้ผลบิดเบี้ยว
ทรงไม่ดี นอกจากนั้นแล้วไรแดงยังดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนของผลอ่อน ใบอ่อน
กิ่งอ่อน ได้อีกด้วย
ไรแดงเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กมากสีน้ำตาลเข้ม มี 8 ขา มองเห็น
เป็นจุดเล็กๆ เคลื่อนไหวไปมาบนหน้าใบของทุเรียน
วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมไรแดง ได้แก่
ไรตัวห้ำ ด้วงเต่า แมลงวันขายาว แมงมุม
2. ถ้าสำรวจพบไรแดงกระจายทั่วทั้งสวน ให้ฉีดน้ำให้ทั่วในทรงพุ่ม
ของต้นเพื่อลดปริมาณไรแดงลง
3. เมื่อพบว่าไรแดงเพิ่มปริมาณสูงขึ้นให้ตรวจนับปริมาณไรแดง
บนใบ ถ้าพบไรแดงปริมาณเฉลี่ย 10 ตัวต่อใบ ให้ใช้สารเคมีกำจัดไร คือ
- โปรพาร์ไกท์ 30 % อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- เฮกซีไธอะซ็อก 2 % อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
(ใช้หลังจากฉีดพ่น โปร์พาร์ไกท์ แล้ว 5-7 วัน เมื่อยังพบไข่และตัวอ่อน
ไรแดง)