- เพลี้ยไก่แจ้
- ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อใบพืช
ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือสีน้ำตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ
8-14 วง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดประมาณ 3
มิลลิลิตร และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของลำตัว
มีปุยขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก้แจ้" หรือ
"เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อแมลงลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเขียว
ขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิลิตร มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อย
บินนอกจากถูกกระทบกระเทือน
แมลงชนิดนี้มีระบาดอยู่ในบริเวณที่ปลูกทุเรียนทั่ว ๆ ไป
ระยะเวลาการระบาดคือ ช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน ระหว่างกลางเดือน
พฤษภาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน
 |
การทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ |
- ลักษณะการทำลาย
- ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบอ่อน
ของทุเรียน ทำความเสียหายให้กับทุเรียนอย่างมาก ทำให้ใบอ่อนเป็น
จุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต และเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมาก ๆ ใบ
จะหงิกงอแห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและ
ตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมาเป็นสาเหตุทำให้
เกิดเชื้อราตามบริเวณที่มีสารสีขาว
- วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
- 1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้
ตามธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่าปีกลายหยัก ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่าลายสมอ
แมลงช้าง ต่อต่าง ๆ แมงมุม
2. การกระตุ้นให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน โดยการใส่ปุ๋ย
ยูเรีย (46-0-0) อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น จะช่วยลดช่วงเวลาการเข้า
ทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง และจะทำการควบคุมได้ในเวลาพร้อมกัน
3. สำรวจยอดอ่อนและใบอ่อนทุเรียน เมื่อพบเพลี้ยไก่แจ้ให้ใช้
กับดักสารเหนียวสีเหลืองล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย หรือฉีดพ่นน้ำบนใบอ่อน
ที่คลี่แล้ว เพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้ และเมื่อสำรวจพบจำนวนยอด
ทุเรียนที่ถูกทำลายจำนวน 4 ยอดต่อต้น ให้ใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง
ดังนี้
- ไซฮาโลธริน แอล 25 % อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- เอนโดซัลแฟน 35% อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- คาร์โบซัลแฟน 20% อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 50 ลิตร