โรครากเน่าและโคนเน่า
เป็นโรคที่สำคัญสำหรับทุเรียน ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่
ชาวสวนทุเรียนอย่างมาก ต้นที่เริ่มเป็นโรคจะพบว่าใบไม่เป็นมันสดใส
และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดในที่สุด ใบร่วง เมื่อพบอาการแสดงออกที่ใบ
ให้สำรวจโคนต้น กิ่งหรือรากบริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้ม
คล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางไหลลงด้านล่าง หรือเป็นหยดน้ำตรง
บริเวณแผลที่มีสีน้ำตาลปนแดง หรือมีรอยแตกของแผลและมีน้ำยาง
ไหลออกมาในต้นที่เป็นโรครุนแรง ถ้าหากเป็นโรคที่ส่วนราก จะสังเกต
เห็นใบมีอาการเหลืองซีด รากส่วนที่เน่ามีสีดำ เปื่อย และขาดง่าย
เชื้อราไฟทอปโธรา สาเหตุของโรคสามารถแพร่กระจายโดยทาง
ลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้น
สูง จะเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคและการเข้าทำลายต้นทุเรียน
วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
1. อนุรักษ์เชื้อราไตรโคเดอมาซึ่งเป็นเชื้อราพาราสิต หรือเป็น
ศัตรูธรรมชาติของเชื้อราไฟทอปโธราในดินโดยการปรับปรุงดินให้เป็น>br> กรดด่าง 6.5 ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราไตรโคเดอมาเพื่อช่วย
ควบคุมเชื้อราไฟทอปโธราในดินตามธรรมชาติ
ใช้เชื้อราไตรโคเดอมาจากการผลิตขยาย โดยการผสมเชื้อรากับรำ
และปุ๋ยคอก อัตรา 1:25:25 ส่วน นำส่วนผสมนี้ไปรองก้นหลุมก่อน
ปลูก อัตรา 1 กิโลกรัมต่อหลุม หรือนำไปโรยรอบ ๆ โคนต้นทุเรียน
ที่โตแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น แล้วรดน้ำพอชุ่ม เพื่อช่วยควบคุม
เชื้อราไฟทอปโธราในดิน
2. วิธีเขตกรรม เมื่อพบอาการเริ่มแรกเพียงเล็กน้อย ให้ถาก
เอาส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาแผลด้วยปูนแดง
3. สารเคมี เมื่อพบอาการรุนแรง ให้ขูดผิวเปลือกบริเวณแผล
ออก แล้วทาด้วยสารเคมีเมตาแลกซิล50% อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ
1 ลิตร ในกรณีที่พบอาการรุนแรงที่ส่วนรากหรือส่วนที่อยู่ตำแหน่งสูง ๆ
ขึ้นไป ให้ใช้สารฟอสฟอรัสแอซิด อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำสะอาด 10 ซีซี
ผสมใส่กระบอกฉีดยาแล้วนำไปฉีดเข้าในส่วนที่เป็นโรค
เนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า จะระบาดเมื่อดิน
มีความชื้นสูง อากาศชื้นมีฝนตก จึงควรมีการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก
เมื่อสร้างสวนทุเรียน โดยเลือกพื้นที่ปลูกที่ระบายน้ำได้ดี มีการตัดแต่ง
กิ่งทุเรียนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง มีการ
พูนดินที่โคนต้นทุเรียนในลักษณะหลังเต่าเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังแฉะ
บริเวณโคนต้นทุเรียน