เมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่างที่จะใช้ปลูกควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้หรือซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการรับรองคุณภาพ เพราะเมล็ดจะมีความงอกสูงและมีความสม่ำเสมอ
การกำจัดวัชพืช ควรทำก่อนที่ข้าวฟ่างจะตั้งท้อง และถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ควรใส่ปุ๋ยแต่งหน้าโดยเฉพาะช่วงระยะ 25-30 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ข้าวฟ่างมีการสร้างตาดอก






แมลงศัตรูที่สำคัญที่พบระบาดเป็นประจำในฤดูปลูกข้าวฟ่างมีดังนี้



ตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายแมลงวันบ้าน แต่มีขนาดเล็กและสีอ่อนกว่า ตัวเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ใต้ใบข้าวฟ่าง โดยไข่จะมีสีขาวรูปทรงกระบอก ปลายไข่ทั้ง 2 ข้างเรียวมน ขนาด 0.25 x 1.20 มิลลิเมตร เมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอาศัยกัดกินบริเวณจุดเจริญเติบโตของข้าวฟ่าง ทำให้ข้าวฟ่างแสดงอาการยอดเหี่ยวและไม่ให้ผลผลิต
เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของข้าวฟ่าง ทำลายข้าวฟ่างตั้งแต่เริ่มงอกจนอายุประมาณ 6 สัปดาห์
วัชพืชหลายชนิด เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนติด หญ้าตีนกา และหญ้าขจรจบ เป็นพืชอาศัยของหนอนชนิดนี้และมีพืชอาศัยอีกหลายชนิด ดังนั้น การเผาตอซังข้าวฟ่างและวัชพืชก่อนปลูกจึงเป็นการลดการทำลายของหนอนชนิดนี้

การป้องกันและกำจัด
1.1 ปลูกข้าวฟ่างพันธุ์แท้ที่แนะนำโดยปลูกแบบเป็นแถวจะให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เฮกการี่ ทั้งในสภาพที่มีและไม่มีการระบาดของหนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่างนี้
1.2 กำหนดวันปลูกข้าวฟ่างในแต่ละท้องถิ่นให้ใกล้เคียงกันเพราะข้าวฟ่างที่ปลูกล่าจะถูกหนอนแมลงรุ่นที่สองทำลายอย่างรุนแรง เพราะแมลงชนิดนี้มีวงจรชีวิตสั้นประมาณ 3 สัปดาห์เท่านั้น
1.3 ควรเผาทำลายตอซังและวัชพืชก่อนปลูกข้าวฟ่าง
1.4 ใช้เมล็ดพันธุ์ให้มากกว่า 2 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อชดเชยความเสียหายโดยถอนต้นที่ถูกทำลายเอาไปเผาทิ้งเมื่อต้นกล้าอายุ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ถอนต้นข้าวฟ่างที่ถูกทำลาย ควรพ่นสารฆ่าแมลงคาร์โบซัลแฟน อัตรา 0.1% ของสารออกฤทธิ์ เมื่อข้าวฟ่างอายุ 1 สัปดาห์ หรือเมื่อมี 4-5 ใบ
1.5 ใช้กับดักปลาป่นไม่สกัดน้ำมัน (อาหารไก่) ดักจับตัวเต็มวัยก่อนฤดูปลูก เพื่อลดปริมาณในฤดูปลูกต่อไป
1.6 ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียนที่มิใช่พืชอาศัยของหนอนแมลงชนิดนี้



ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของข้าวฟ่างตั้งแต่อายุ 40 วัน จนถึงระยะออกช่อและติดเมล็ดชอบดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณค่อนข้างแก่โดยเฉพาะใต้ใบโคนต้นข้าวฟ่าง
การระบาดจะรุนแรงมากขึ้นถ้าเกิดสภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงทำให้ต้นข้าวฟ่างชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันและกำจัด
ในสภาพแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานถ้าพบเพลี้ยอ่อนอ้อยระบาดรุนแรงในระยะที่กำลังออกช่อและเริ่มติดเมล็ด ควรใช้สารฆ่าแมลงไตรอะโซฟอส อัตรา 48 กรัม หรือคาร์โบซับแฟน อัตรา 24 กรัม ของเนื้อสารออกฤทธิ์ต่อไร่ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงครั้งเดียวโดยพ่นบริเวณโคนต้นที่พบการระบาด เพื่อลดค่าใช้จ่ายและหลีกเลี่ยงการทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่า



จะกัดกินยอดและใบข้าวฟ่างในตอนกลางคืน โดยทำลายข้าวฟ่างอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึงระยะออกช่อ ลักษณะใบที่ถูกทำลายคล้ายกับการกัดกินของตั๊กแตนมาก โดยจะพบมูลและหนอนตามยอดและซอกกาบใบ ถ้าระบาดรุนแรงในช่วงข้าวฟ่างจะออกช่อทำให้ผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด

การป้องกันกำจัด
ถ้าพบหนอนกระทู้คอรวงทำลายข้าวฟ่างอย่างรุนแรง ตั้งแต่อายุ 40 วัน จนถึงระยะออกช่อ ควรใช้สารฆ่าแมลง อะซินฟอสเมทธิน หรือคาร์บาริล หรือเมทโธมิล ชนิดใดชนิดหนึ่ง ฉีดพ่น



จะกัดกินดอกและเมล็ดในช่อข้าวฟ่าง การทำลายจึงมีผลต่อผลผลิตโดยตรง โดยเฉพาะข้าวฟ่างพันธุ์ที่มีช่อรวงใหญ่และแน่นกาบใบชิดช่อรวง เพราะหนอนสามารถใช้เป็นที่อาศัยกัดกินและหลบซ่อนตัวได้หลายตัวช่อมูลของหนอนที่ถ่ายทิ้งไว้ในช่อ เมื่อมีเชื้อราต่าง ๆ มาขึ้น ทำให้คุณภาพของเมล็ดลดลง

การป้องกันกำจัด
1. ควรปลูกข้าวฟ่างพันธุ์ที่ช่อรวงไม่แน่นมากนัก
2. ถ้าพบหนอนจำนวนน้อยควรเก็บทำลาย
3. ถ้าพบหนอนระบาดรุนแรงในช่อข้าวฟ่างที่กำลังเริ่มติดเมล็ดควรใช้สารฆ่าแมลง ไธโอไดคาร์บ อัตรา 90 กรัม หรือเมทโธมิล อัตรา 72 กรัมของสารออกฤทธิ์ พ่นเพียงครั้งเดียวเฉพาะช่อข้าวฟ่างบริเวณที่พบหนอนทำลาย