อัตราการใส่ปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 150-200 กิโลกรัม /ไร่ ใส่ทุก ๆ ช่วง 2 - 3 เดือนปริมาณแตกต่างกันไปตามสภาพของบ่อ และความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยง สำหรับอัตราการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็จะ แตกต่างกันไปตามชนิดของปุ๋ยคือ
ปุ๋ยฟอสเฟต เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด พอสรุปได้ว่าควรใช้ประมาณ 25 - 30 กิโลกรัมต่อ 6 ไร่ต่อ 6 เดือน
ปุ๋ยไนโตรเจน อัตราการใช้ไม่ค่อยแน่นอนแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียเหลว มีไนโตรเจนอยู่ 20 เปอร์เซ็นต์ใช้ 150 ลิตรต่อ 6 ไร่ ส่วนผสมปุ๋ย เอ็น - พี - เค 300 - 500 กิโลกรัมต่อ 6 ไร่ต่อปี
การเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อดินบ่อที่เหมาะสมควรมีขนาดเนื้อที่ที่ผิวน้ำ มากกว่า 400 ตารางเมตรขึ้นไป ลึกประมาณ 1- 1.5 เมตร หลังจากเตรียมบ่อ ดังได้กล่าวมาแล้ว ปล่อยลูกปลาขนาด 1.5 - 2 เซนติเมตร ในอัตรา 3 - 4 ตัว/ตารางเมตรให้อาหารวันละ 2 เวลา เช้า - เย็น ในอัตรา 3 - 4 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวปลา รูปแบบบ่อที่ใช้เลี้ยงควรมีระบบการระบายน้ำที่ดี
การเลี้ยงปลาตะเพียนในนาข้าว ควรมีเนื้อที่ประมาณ 10 - 15 ไร่ การดัดแปลงพื้นที่นาให้เป็นนาปลาก็สามารถปฏิบัติได้ง่าย โดยขุดดินในพื้นที่นา รอบๆ ถมเสริมคันดินให้สูงขึ้นทำให้มีความแข็งแรงจะทำให้เกิดคูรอบคันดิน สามารถเก็บกักน้ำให้ขังอยู่ในพื้นที่นา ใช้สำหรับเลี้ยงปลา คูที่ขุดนี้ควรมีขนาด กว้างไม่น้อยกว่า 50 ซม. ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร คันดินควรสูงประมาณ 75 - 100 เซนติเมตร เหลือให้คันดินสูงกว่าระดับน้ำสูงประมาณ 60 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร มุมที่จะเป็นทางระบายน้ำออกจากนาควรเป็นด้านที่ต่ำสุด ถ้าเป็นไปได้ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 60 - 70 เซนติเมตรไว้เพื่อ สะดวกในการจับปลา โดยปลาจะมารวมกันเองในหลุมนี้เมื่อเวลาน้ำลดในฤดู เก็บเกี่ยวขนาดของปลาที่ปล่อยใช้ขนาด 3 - 5 เซนติเมตรขึ้นไป ปล่อยอัตรา 400 - 600 ตัว/ไร่ การใส่ปุ๋ยและการให้อาหารจะใช้น้อยกว่าการเลี้ยงแบบอื่นๆ เราจะให้อาหารเพียงวันละครั้ง การปล่อยปลาจะปล่อยหลังจากดำกล้าประมาณ 7 วัน ปล่อยน้ำเข้านาให้สูงประมาณ 1 ฟุต ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 - 4 เดือน ซึ่งจะพอดีกับข้าวสุกปลาก็โตมีขนาดพอนำไปจำหน่ายตาม ท้องตลาดได้ การเลี้ยงปลาตะเพียนขาวสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เพื่อเป็น การใช้ประโยชน์ภายในบ่อให้ได้เต็มที่ปลาแต่ละชนิดที่ปล่อยลงเลี้ยงร่วมกันจะ ต้องโตได้ขนาดตลาดในเวลาพร้อมกันเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ปลาที่ เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวจะต้องไม่มีนิสัยที่ชอบทำร้ายปลาชนิดอื่น และไม่ควรเป็นพวกปลากินเนื้อ ปลาที่จะเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่ต้องการนอกจากใช้อาหารธรรมธาติ ซึ่งมีอยู่ในบ่อเลี้ยงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเร่งให้ปลา มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบดังกล่าว ได้แก่ แหนเป็ดและไข่น้ำ (ไข่น้ำเป็นพืชที่เกิดขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำ ปะปนกับพวกจอกแหน มีลักษณะเป็น เม็ดกลม ๆ ขนาดเท่าๆ กับสาคูเม็ดเล็กที่ยังไม่แช่น้ำ มีสีค่อนไปทางเขียวอ่อน ใช้โปรยให้กินสด ๆ) เศษผักต่างๆ โดยวิธีต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าว ที่ต้มสุก, กากถั่วเหลือง, กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กระบะไม้ไว้ในบ่อ ส่วน อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของพวกสัตว์ต่างๆ เช่น หมู วัว ควาย ใช้บดผสมคลุกเคล้ากับรำและปลายข้าวซึ่งต้มสุกแล้ว นำไปใส่ไว้ใน กระบะไม้ในบ่อ