จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาพอสมควร หลังจากปลูกแล้วควรมีการ ปลูกซ่อมต้นที่ตายทันที เมื่อต้นหญ้าแฝกตั้งตัวได้แล้วควรมีการตัด ใบหญ้าแฝกให้สูงจากพื้นดินประมาณ 40 เซนติเมตร จะช่วยให้ หญ้าแฝกแตกกอชิดติดกันเร็วขึ้น และนอกจากนั้นเมื่อหญ้าแฝกเจริญ เติบโตเต็มที่ก็ควรมีการตัดใบไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปเพื่อใช้มุง หลังคา หรือนำใบที่ตัดไปคลุมดิน หรือโคนต้นไม้ผลเพื่อช่วยลดการ ระเหยน้ำเป็นต้น นอกจากนี้การตัดใบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกัน มิให้หญ้าแฝกออกดอก และจะทำให้หญ้าแฝกแตกหน่อเพิ่มขึ้น ทำให้ แนวหญ้าแฝกชิดกันเป็นกำแพงแน่น ทำหน้าที่กรองตะกอนดินได้ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่ช่วยในการป้องกันการชะล้างพังทลาย ของดินได้เป็นอย่างดี การใช้ระบบแนวรั้วหญ้าแฝกจะสูญเสียเนื้อที่ใน การเพาะปลูกน้อยมาก เมื่อเทียบกับระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบ อื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อหญ้าแฝกเจริญเติบโตเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง กอประมาณ 30-40 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อเป็นรั้ว หรือแนวกำแพง หญ้าแฝกก็จะมีความหนาหรือกินเนื้อที่กว้างเพียง 30-40 เซนติเมตรเท่านั้น นอกจากนี้การเตรียมดินเพื่อปลูกพืชก็ สามารถไถที่เตรียมดินได้จนติดแนวรั้วหญ้าแฝกโดยมีหลักฐานชัดเจน ว่าพืชไร่ที่ปลูกชิดติดกับแนวหญ้าแฝกก็ให้ผลผลิตสูง ซึ่งแสดงให้เห็น ว่าหญ้าแฝกไม่เป็นพืชที่แย่งอาหารของพืชหลักที่ปลูก
พื้นที่จะเป็นการกำหนดให้เกษตรกรไถที่เพื่อปลูกพืชหลักขวางความลาดเท ไปด้วยซึ่งเป็นวิธีการไถที่เตรียมดินและปลูกพืชที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจากผลของการที่เกษตรกรต้องไถที่เตรียมดินขวางความลาดเท ดังกล่าวติดต่อกันไปทุก ๆ ปี ดินก็จะถูกน้ำฝนพัดพาไปตกตะกอนทับ
ดังกล่าวติดต่อกันไปทุก ๆ ปี ดินก็จะถูกน้ำฝนพัดพาไปตกตะกอนทับ ถมบริเวณหน้าแนวหญ้าแฝกสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนพื้นที่เพราะปลูกระหว่าง แนวหญ้าแฝกแปรสภาพจากพื้นที่ที่มีความลาดเท ปรับเปลี่ยนเป็น พื้นที่ระดับแบบขั้นบันไดดินตามธรรมชาติซึ่งจะทำให้การใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อการเพาะปลูกกระทำได้ง่ายและได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น สมควรอย่างยิ่งที่จะปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับขวางความลาดเท ของพื้นที่ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการสูญเสียหน้าดินแล้วยังจะ ทำให้มีการใช้ประโยชน์ของที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและถาวร หรือไม้ผล ซึ่งปลูกโดยการทำคันคูขอบเขา และมักจะมีปัญหาคันขอบ เขาถูกน้ำฝนกัดเซาะจนพังทลายลงมา ก่อความเสียหายให้แก่คันคู ล่าง ๆ การแก้ไขปัญหานี้โดยการปลูกหญ้าแฝกบริเวณขอบคันคู ก็ ปรากฎว่าหญ้าแฝกช่วยยึดดินได้เป็นอย่างดี ทำให้ขอบคันคูมีความ คงทนและมีอายุการใช้งานยาวนานยิ่งขึ้น ![]() |