![]() ในการเพาะปลูกพืชไร่และไม้ผลเป็นหลักแต่พื้นที่เหล่านี้มีเพียงส่วน น้อยเท่านั้นที่มีระบบการชลประทานพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกษตรกรใช้ใน การเพาะปลูกจึงเป็นพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝนปัจจุบันแม้ว่าปริมาณ น้ำฝนเฉลี่ยที่ตกในแต่ละปีจะมีปริมาณเท่า ๆ หรือใกล้เคียงกัน แต่ เกษตรกรก็มักประสบปัญหาภัยแล้งหรือภาวะพืชที่เพาะปลูกขาดแคลน น้ำเป็นประจำก่อความเสียหายแก่เกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ เป็นอย่างมากการแก้ไขปัญหาภาวะพืชขาดแคลนน้ำในพื้นที่เกษตร น้ำฝนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการเก็บรักษาความชุ่มชื่นไว้ ในดินให้ได้อย่างยาวนานแต่เท่าที่ผ่านมาตราบจนปัจจุบันเกษตรกรส่วน ใหญ่ในเขตพื้นที่เกษตรน้ำฝนยังคงเพาะปลูกติดต่อกันมาโดยมิได้มี มาตรการใดในการช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินเลยดังจะเห็นได้จาก การที่ฝนตกลงมาก็ปล่อยให้น้ำฝนเป็นจำนวนมาก ไหลบ่าออกจาก พื้นที่ลงสู่แม่น้ำลำคลองซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่า ประโยชน์แล้วน้ำฝนที่ไหลบ่ายังจะกัดเซาะและพัดพาหน้าดินซึ่งมีปุ๋ย และธาตุอาหารพืชที่สำคัญให้สูญเสียไปอีกด้วย ยาวนานซึ่งเป็นวิธีง่ายๆและมีประสิทธิภาพ ได้แก่การปลูกหญ้าแฝก แถวเดียวเป็นแนวรั้วตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่(ดังราย ละเอียดเอกสารคำแนะนำเรื่องการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อป้องกัน การชะล้างและพังทลายของดิน)โดยแนวรั้วหญ้าแฝกดังกล่าวจะทำ หน้าที่ลดแรงปะทะของน้ำฝนที่ไหลบ่าทำให้น้ำแผ่กระจายแลไหลซึม ผ่านแนวรั้วหญ้าแฝกซึ่งจะทำให้น้ำมีโอกาสไหลซึมลงเก็บกักรักษาไว้ ในดินได้ทั่วพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ดินมีความชุ่มชื้น เป็นประโยชน์ต่อ พืชหลักที่ปลูกไว้ต่อไป อื่น ๆ โดยทั่วไปก็คือระบบรากฝอยของหญ้าแฝกจะแข็งแรงและหนาแน่น สามารถชอนไชหยั่งลึกลงในดินตามแนวดิ่ง ได้ถึง 3 เมตร และราก จะไม่เจริญแผ่ขยายออกทางด้านกว้างจึงไม่แย่งอาหารของพืชหลักที่ ปลูกใกล้เคียง หญ้าแฝกมีรากแกนและรากแขนงอวบใหญ่ จึงทำให้ เกาะยึดดินและดูดซับน้ำไว้ได้เป็นอย่างดีดังนั้นเมื่อปลูกหญ้าแฝกตาม แนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่แล้วนอกจากต้นที่เจริญแตกกอ อัดกันแน่นเป็นกำแพงอยู่เหนือดินแล้วรากของหญ้าแฝกก็จะสานกัน แน่นเป็นกำแพงอยู่ในดินทำหน้าที่เกาะยึดติดและดูดซับกักเก็บความชื้น ไว้ในดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ข้างต้นจึงได้มีการประยุกต์ใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝกในด้านต่างๆได้มาก มายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน สำหรับปลูกไม้ผลก็ใช้หลักการเดียวกันทั้งนี้วิธีการและรูปแบบการปลูก หญ้าแฝกขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ที่เกษตรกรสามารถเลือกใช้รูปแบบ หนึ่งตามความเหมาะสมดังต่อไปนี้ ![]() ![]() ![]() ![]() |