ลักษณะประจำพันธุ์ ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวดำ มีพันธุ์ที่ใช้แนะนำส่งเสริม 2 พันธุ์ คือ พิษณุโลก 2 และอู่ทอง 2 ซึ่งมีข้อเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ ระหว่างพันธุ์พิษรุโลก 2 กับ พันธุ์อู่ทอง 2 ดังนี้
(การเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ ระหว่างถั่วเขียวผิวดำ 2 พันธุ์)
ลักษณะ พันธุ์พิษณุโลก 2 พันธุ์อู่ทอง 2
ขนาดใบปานกลางใหญ่
การล้มปานกลางมาก
อายุดอกบาน (วัน)3339
อายุเก็บเกี่ยว (วัน)7786
ความสูง5772
เมล็ดต่อฝัก77
นน. 1,00 เมล็ด (กรัม)5044
ผลผลิต (กก./ไร่)
-ฤดูแล้ง (ม.ค.)190171
-ฤดูฝน (ส.ค.)229238
องค์ประกอบทางเคมีของเมล็ด (% ต่อน้ำหนัก)
แป้ง4340
โปรตีน24.826.6
เยื่อใย4.05.8
น้ำตาล5.44.0

ข้อจำกัดของการปลูกถั่วเขียวผิวดำในนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวข้าว
การเลือกพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีระดับต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวจัดระบายน้ำไม่ดี เนื่องจากการที่ต้นถั่วจะมีการเจริญเติบโตไม่ดี ต้นเตี้ยแคระแกรน แสดงอาการใบเหลืองและให้ผลผลิตต่ำ สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสมควรเป็นพื้นที่ราบเรียบและลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวเพื่อสะดวกในการทดน้ำและระบายน้ำ หากเกษตรกรไม่สามารถหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวจัดได้ควรยกร่องปลูกเพื่อสะดวกในการระบายน้ำออกจากแปลง
ช่วงเวลาปลูก การปลูกถั่วเขียวผิวดำในฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าว นอกจากจะช่วยประหยัดการใช้น้ำแล้ว ยังสามารถช่วยลดการเข้าทำลายของเชื้อราที่ติดไปกับเมล็ดได้อีกด้วย ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาดโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำเมล็ดถั่วเขียวผิวดำในฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าวมีเปอร์เซ็นต์ของเชื้อราติดไปกับเมล็ดน้อยมาก เกษตรกรสามารถปลูกถั่วเขียวผิวดำได้ตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งถ้าหากปลูกล่าช้าเกินไปถึงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมจะทำให้ได้ผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ดี เนื่องจากในช่วงติดดอกและสร้างฝักจะมีอุณหภูมิสูง ทำให้ดอกและฝักร่อง และในช่วงเก็บเกี่ยวมีฝนตกฝั่งถั่วเขียวจะถูกฝนทำให้เกิดเชื้อรา เกษตรกรบางท้องที่ โดยเฉพาะเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ควรหลีกเลี่ยงการปลูกถั่วเขียวผิดดำในฤดูแล้งเนื่องจากต้นถั่วเมื่อได้รับอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสในระยะแรกจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต จะสังเกตเห็นต้นอ่อนไม่เจริญเติบโต คงมีแต่ใบเลี้ยง 2 ใบขนาดใหญ่ หนา และเขียวคล้ำกว่าปกติ ถึงแม้ว่าอากาศในระยะต่อไปจะร้อยขึ้น ส่วนยอดของถั่วก็จะไม่ฟื้นตัวและไม่เจริญเติบโตตามปกติ
พันธุ์ ควรเลือกใช้พันธุ์แนะนำที่ให้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะพันธุ์พิษณุโลก 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีทรงพุ่มโปร่ง ตั้งตรง ขนาดเมล็ดโตและให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 2 ประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลูกในฤดูแล้งและมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 80 วัน การเตรียมดิน เกษตรกรสามารถปลูกถั่วเขียวผิวดำได้ทั้งในสภาพที่ไถพรวนและไม่ไถพรวน ในสภาพดินที่เป็นดินร่วนปนทราย การปลูกถั่วเขียวผิวดำโดยไม่ไถพรวนให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการไถพรวนตามปกติ แต่ข้อจำกัดของวิธีการไม่ไถพรวนคือ เกษตรกรจะต้องควบคุมวัชพืชได้โดยเฉพาะลูกข้าว สำหรับวิธีการไถพรวนจะเหมาะสำหรับการปลูกในสภาพดินค่อนข้างเหนียว แต่ควรปลูกแบบยกร่องเพื่อระบายน้ำได้ดี
วิธีปลูก การปลูกถั่วเขียวผิวดำในฤดูแล้ง โดยเฉพาะพันธุ์พิษณุโลก 2 เกษตรกรควรเพิ่มอัตราปลูกให้สูงกว่าการปลูกในฤดูฝน เนื่องจากพิษณุโลก 2 เป็นพันธุ์ที่มีทรงพุ่มแคบ และในฤดูแล้งต้นถั่วเขียวมีการเจริญเติบโตทางลำต้นน้อยและไม่ทอดยอด ดังนั้นการปลูกโดยวิธีโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 เซ็นติเมตรถอนแยกให้เหลือ 20 ต้นต่อแถวยาว 1 เมตร หรือ 64,000 ต้นต่อไร่ สำหรับการปลูกโดยวิธีหว่านควรใช้เมล็ดอัตราประมาณ 5-7 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกหรือหลังงอก จึงจะให้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับการปลูกเป็นแถว
การกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การให้น้ำชลประทานจะทำให้มีวัชพืชมากโดยเฉพาะข้าวที่ตกหล่นหลังเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรจะต้องกำจัดลูกข้าวก่อนที่จะปลูกถั่วเขียวผิวดำ ซึ่งสามารถกำจัดโดยการเผาตอซังหรือการไถเตรียมดินและปล่อยน้ำเข้าแปลงทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์เพื่อให้เมล็ดข้าวงอกขึ้นมา หลังจากนั้นก็ทำการไถกลบ สำหรับการใช้สารกำจัดวัชพืชเกษตรกรควรฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช ประเภทก่อนงอกทันทีหลังปลูก เช่น ดูอัลหรือแอลสโซ่ในอัตราแนะนำ สามารถควบคุมวัชพืชจำพวกใบแคบได้ดียกเว้นแห้วหมู หรืออาจจะใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกฉีดพ่นในระยะหลังงอก นอกจากนี้เกษตรกรสามารถกำจัดวัชพืชด้วยวิธีการดายหญ้าประมาณ 1-2 ครั้ง โดยเข้าไปดายหญ้าครั้งแรกเมื่อถั่วเขียวอายุได้ 2 สัปดาห์หลังงอก
การให้น้ำชลประทาน ถั่วเขียวผิวดำต้องการน้ำมากกว่าถั่วเขียวผิวมันเนื่องจากมีอายุยาวกว่า การปลูกถั่วเขียวผิวดำ โดยให้น้ำเพียงครั้งเดียวก่อนปลูกจะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ดังน้นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกถั่วเขียวผิวดำในฤดูแล้งจึงควรอยู่ในเขตโครงการส่งน้ำชลประทาฯหรือมีบ่อบาดาลน้ำตื้นหรือเขตสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งเกษตรกรสามารถจะให้น้ำเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในระยะออกดอกและสร้างฝักอ่อน ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตของถั่วเขียวผิวดำ