โรคถั่วเขียวที่สำคัญ และการป้องกันกำจัด มีดังนี้
1. โรครากและโคนเน่า โรคนี้เกิดกับถั่วเขียวตั้งแต่ระยะต้นกล้าไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เกิดได้ทั้งในช่วงฝนชุกและฝนแล้ง ซึ่งมีลักษณะอาการดังนี้
1.1 ในช่วงฝนชุก บริเวณที่เป็นโรคจะเน่ามีสีน้ำตาลอ่อนและจะเห็นเส้นใยละเอียดสีขาวฟูขึ้นมาจากส่วนที่เกิดโรค
1.2 ในช่วงแล้ง บริเวณโคนต้นหรือรากพืชที่เป็นโรคจะมีสีน้ำตาลมีเส้นใยสีขาวหยาบ ๆ ติดอยู่กับโค้นต้นหรือรากพืช
การป้องกันกำจัด หากมีโรคโคนเน่าระบาด ควรคลุมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีเอพรอน 35% อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือคลุมด้วยไวตาแวซ์ อัตรา 3 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือพ่นด้วยเทอราคลอร์เมื่อมีการระบาดของโรค
ควรเก็บต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย รวมทั้งการเตรียมดินให้มีการระบายน้ำดีจะช่วยป้องกันโรคน้ำได้อีกทางหนึ่ง
2. โรคใบจุด โรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝน จะเป็นกับต้นถั่วระยะก่อนจะเริ่มมีดอก ทำให้ผลผลิตเสียหาย ถ้าเป็นระยะที่ถั่วสร้างเมล็ดแล้วไม่ทำให้ผลผลิตเสียหายมากนัก
การป้องกันกำจัด ถ้าพบโรคใบจุดระบาดมากควรพ่นด้วยสารเคมีเบนเลท หรือ ทอปซิน อัตรา 1-2 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง
3. โรครากดำ ระบาดในระยะแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ทำให้ถั่วที่เป็นโรคแก่ก่อนแปลงที่ไม่เป็นโรค เมล็ดลีบไม่สมบูรณ์มีผลกระทบ