การขยายพันธุ์ขนุนสามารถทำได้หลายวิธีคือ
l. การใช้เมล็ด
เป็นวิธีดั้งเดิมที่ปลูกกันมานาน สามารถขยายพันธุ์ได้ครั้งละมาก ๆ
ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะสูงใหญ่ มีอายุยืน มีรากแก้วที่หยั่งลึกไม่โค่นล้ม
ง่าย แต่ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดอาจกลายไปจากพันธุ์เดิม ชี่งอาจจะมีลักษณะที่
ดีกว่าพันธุ์เดิมหรือเลวกว่าพันธุเดิมก็ได้ ข้อเสียเปรียบอีกประการหนึ่งของต้นที่ได้
จากการเพาะเมล็ดคือ จะให้ผลช้ากว่าต้นที่ปลูกด้วยกิ่งตอนหรือกิ่งทาบ
1.1 การเตรียมเมล็ด
เมล็ดที่จะนำมาเพาะให้เลือกจากต้นที่เติบโต แข็งแรง ผลสวย
เนื้อดี ไม่มีโรคแมลงต่าง ๆ รบกวน และเป็นผลที่แก่เต็มที่หรือสุกแล้ว เมื่อเอา
เนื้อออกแล้วให้ล้างเมล็ดด้วยน้ำจนสะอาด และนำไปเพาะทันทีอย่าเก็บเมล็ดไว้
นานเกิน 15 วัน เพราะจะเพาะไม่งอกหรืองอกน้อย ต้นที่งอกจะไม่ค่อยแข็งแรง
1.2 การเตรียมที่เพาะ
1.2.1 การเพาะจำนวนไม่มากนัก อาจจะเพาะในภาชนะ
ต่าง ๆ เช่น กระถาง กระป๋อง และที่นิยมมากคือ ถุงพลาสติก ซึ่งสะดวกในการ
เคลื่อนย้าย หรือการนำไปทาบกิ่ง ภาชนะที่จะใช้เพาะเมล็ด จะต้องมีรูระบายน้ำไม่ไห้
น้ำขังแฉะภายใน วัสดุเพาะให้ใช้ดินที่ร่วนซุย ดินที่ผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก
มาก ๆ ขนาดของภาชนะต้องใหญ่พอสมควร เพราะจะต้องเพาะเมล็ดอยู่นานกว่าจะ
นำไปปลูกหรือนำไปทาบกิ่งได้
1.2.2 การเพาะเมล็ดจำนวนมาก ๆ ควรเพาะในกะบะเพาะ
หรือในแปลงเพาะ ซึ่งทำได้ดังนี้คือ
การเพาะในกะบะ กะบะเพาะอาจทำด้วยไม้ หรือใช้ลังไม้ที่มีอยู่แล้ว
หรือเป็นกะบะพลาสติกก็ได้แล้วแต่ความต้องการ แต่ควรมีความลึกไม่น้อยกว่า
8 นิ้ว วางกะบะเพาะไว้ในที่ร่มรำไร อย่าให้โดนแดดจัด เจาะรูที่ก้นกะบะหรือตีไม้ให้
ห่างเพื่อให้ระบายน้ำได้ รองก้นกะบะด้วยอิฐหักแล้วปูทับด้วยฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อ
ให้การระบายน้ำดี แล้วจึงใส่วัสดุเพาะลงไปในกะบะจนเกือบเต็ม วัสดุเพาะที่ใช้ได้ดี
คือ ขี้เถ้าแกลบ หรือทรายหยาบผสมขี้เถ้าแกลบ เพราะเวลาย้ายต้นกล้าจะทำได้
ง่าย และยังมีลักษณะโปร่ง การระบายน้ำและอากาศดี ทำให้เมล็ดงอกได้ดีและสม่ำ
เสมอ นอกจากนี้อาจใช้ดินที่ร่วนซุย โดยผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาก ๆ ก็ได้
การเพาะในเปลง แปลงเพาะควรเป็นแปลงดินอยู่ในที่ร่มรำไร หรือมีการ
พรางแสงไม่ให้โดนแดดจัด โดยขุดแปลงเพาะเป็นร่องขนาดกว้าง l - 1.5 เมตร
ความยาวแล้วแต่ต้องการ ควรยกแปลงให้สูงจากพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ปรับปรุงดินในแปลงเพาะให้ร่วนซุย และระบายน้ำได้ดีโดยการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
1.3 วิธีเพาะเมล็ด เมล็ดที่ล้างสะอาดดีแล้วก่อนจะนำลงเพาะควรแช่เมล็ด
ในน้ำยากำจัดเชื้อราประมาณ 10-20 นาที ป้องกันเชื้อราที่อาจติตมากับเมล็ด
การเพาะในแปลงและในกะบะเพาะ ให้เพาะเป็นแถว ๆ ห่างกันประมาณ 5 นิ้ว
ฝังเมล็ดลึกประมาณ 5 เชนติเมตร กลบดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
การเพาะในภาชนะ ให้หยอดเมล็ด 2 เมล็ดต่อภาชนะแต่ละใบ เพื้อจะ
ได้เลือกต้นที่แข็งแรงไว้เพียงต้นเดียว หลังจากเพาะเมล็ดแล้ว ให้รดน้ำทุกวันเช้า
เย็น อย่าให้ดินแห้ง หรือแฉะเกินไป
การย้ายกล้า ต้นกล้าที่ปลูกในแปลงเพาะหรือในกะบะเพาะนั้น เมื่อ
ต้นกล้าสูงประมาณ 5-6 นิ้ว ให้ขุดแยกใส่ภาชนะเพื่อนำไปเลี้ยงสำหรับนำไปทาบ
กิ่ง ส่วนต้นที่ต้องการนำไปปลูกในแปลงจริงให้ขุดแยกออกไปปลูกในภาชนะ
หรือนำไปปลูกในแปลงชำ อย่าปล่อยให้ต้นกล้าอยู่ในแปลงเพาะหรือกะบะเพาะนาน
เกินไป เพราะต้นจะเบียดกันมาก เวลาขุดจะกระทบกระเทือนมาก โดยเฉพาะกะบะเพาะ
ที่ใช้ขี้เถ้าแกลบ จะไม่มีอาหารเพียงพอจะเลี้ยงต้นกล้าต้องรีบขุดย้าย
การเตรียมแปลงชำ ทำเช่นเดียวกับแปลงเพาะกล้า คือยกเป็นร่องแล้ว
ปรับปรุงดินให้ร่วนชุย แล้วนำต้นกล้ามาปลูกเป็นแถว ๆ ห่างก้นประมาณ 10- l2
นิ้ว เพื่อสะดวกในการขุดย้ายจะเลี้ยงต้นกล้าในแปลงชำประมาณ 5-6 เดือน
จีงจะย้ายไปปลูกในสวน การขุดย้ายต้องระมัดระวังอย่าให้รากขาดมาก เมื่อปลูกจะ
ได้ตั้งตัวเร็ว การปลูกโดยการย้ายต้นกล้า ควรทำในฤดูฝน จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็ว
และไม่ต้องคอยรดน้ำบ่อย ๆ
2. การตอน
การขยายพันธุ์ขนุนโดยการตอนในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำกันนัก เพราะ
ต้นขนุนสูงใหญ่ กิ่งที่จะตอนจะอยู่สูงทำให้ตอนลำบาก กิ่งตอนที่ได้ไม่มีรากแก้ว
ทำให้โค่นล้มง่าย การตอนถ้าทำไม่ถูกวิธีก็จะตอนไม่ค่อยได้ผล และที่สำคัญคือมี
วิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ผลดีกว่าการตอน เช่นการทาบกิ่ง
2.1 การเลือกกิ่ง ให้เลือกกิ่งจากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่
แคระแกรนไม่มีโรคแมลงรบกวน เป็นต้นที่ออกดอกออกผลสม่ำเสมอ ผลดก ผลมี
คุณภาพดี ขนาดของกิ่งควรเลือกกิ่งขนาดนิ้วก้อยขี้นไปเป็นกิ่งเพสลาดคือไม่อ่อนหรือแก่
เกินไปเป็นกิ่งสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร กิ่งที่จะตอนได้ผลดีคือ
กิ่งที่ค่อนข้างจะตั้งตรง หรือเรียกว่ากิ่งกระโดง ซึ่งจะออกรากเร็วและรากแข็งแรง
และเป็นกิ่งที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ไม่ควรตอนกิ่งที่อยู่ในร่มของทรงพุ่ม
2.2 ฤดูกาล ฤดูที่เหมาะต่อการตอนคือ ฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่ต้นขนุน
กำลังเจริญเติบโต จะทำให้ออกรากเร็ว การตอนนอกฤดูฝนจะทำให้รากออกช้า
โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะได้ผลน้อย
2.3 วิธีตอน เมื่อเลือกกิ่งที่จะตอนได้แล้วให้ใช้มีดควั่นเป็นรอย
โดยรอบ 2 รอยห่างกันประมาณ 1- 2 นิ้ว ลอกเอาเปลือกออก ถ้าลอกเปลือกได้ง่ายจะ
ตอนออกรากได้ง่าย ใช้สันมีดขูดบริเวณที่เอาเปลือกออกให้หมดเมือก เอาผ้าหรือสำลี
เช็ดยางให้แห้ง แล้วทาด้วยสารฮอร์โมนช่วยในการออกราก ตรงรอยควั่น
ด้านบน เสร็จแล้วห่อรอยแผลด้วยกระดาษหรือใบตอง ทิ้งไว้เฉย ๆ ประมาณ
10-15 วัน ถ้าไม่ใช้ฮอร์โมนช่วย ให้ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อเห็นว่าตรงรอยควั่น
ด้านบนมีรอยเจ่อ ให้เอาใบตองที่หุ้มออก เอากาบมะพร้าวที่แช่น้ำเตรียมไว้หรือขุย
มะพร้าวแช่น้ำ หุ้มที่รอยควั่น โดยให้สูงเลยรอยควั่นด้านบนขึ้นไปประมาณ 1 นิ้ว
แล้วหุ้มด้วยพลาสติค ผูกด้วยเชือกที่หัวท้ายให้แน่น อย่าให้หมุนได้
2.4 การตัดกิ่งตอน กิ่งตอนที่ออกรากดีแล้วพร้อมที่ตัดได้นั้น ให้
สังเกตจากรากที่งอกออกมา ถ้ารากเป็นสีน้ำตาลและแตกรากแขนงแล้วจึงตัดได้ โดยตัด
ให้ชิดกาบมะพร้าวด้านล่าง กิ่งตอนที่ตัดมานี้ถ้าต้องการจะนำไปปลูกเลยทันที ให้แกะ
ถุงพลาสติกที่หุ้มออกแล้วแช่น้ำไว้ 20-30 นาที จึงนำไปปลูก การนำไปปลูกโดยไม่แช่
น้ำที่กิ่งมักจะตายมาก หรือชะงักการเติบโต เนื่องจากรากยังไม่แข็งแรงพอ ทางที่
ดีควรนำกิ่งที่ตัดไปชำน้ำเสียก่อนสัก 5-7 วัน วิธีชำน้ำคือการเอากิ่งตอนที่ตัดมานั้น
แช่ลงในน้ำ ให้พอท่วมส่วนล่างของกาบมะพร้าว การชำน้ำจะช่วยให้รากกระจาย
ตัวออกเมื่อนำลงปลูกจะฟื้นตัวได้เร็ว
2.5 การชำกิ่งตอน กิ่งตอนที่ตัดออกจากต้นแล้วนำไปปลูกเลยนั้น
มักจะตายมากเพราะรากยังมีจำนวนน้อย ไม่แข็งแรงพอที่จะหาน้ำและอาหารไปเลี้ยง
ต้นได้อย่างเพียงพอ วิธีที่ดีที่สุด คือนำกิ่งตอนมาชำในดินเสียก่อน สัก 1-2 เดือน
เพี่อให้ต้นแข็งแรงเต็มที่แล้วจึงนำไปปลูก การชำกิ่งควรชำในภาชนะต่าง ๆ
เพี่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย เช่นกระถาง ถุงพลาสติก แล้วนำกิ่งชำไว้ในที่ร่มรำไร
ไม่ให้โดนแดดจัดในระยะแรก เมื่อต้นตั้งตัวดีแล้วจีงให้โดนแดดจัดได้ หลังจากนั้น
จึงคัดเฉพาะต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงไปปลูก ต้นที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงให้เลี้ยงไว้
ก่อน หรือคัดทิ้งไป
การปลูกกิ่งตอนทั้งในภาชนะและในแปลงปลูกจริง ให้กลบดิน
เสมอรอยมัดด้านบนเท่านั้น ไม่กลบดินจนมิดกาบมะพร้าว แล้วกดดินรอบ ๆ ให้
แน่น ปักหลักผูกกับต้นน้อยหน่ากันลมโยก แล้วรดน้ำทันที การปลูกในแปลงจริงใน
ระยะแรกควรมีบังแดดให้ด้วย เมื่อต้นตั้งตัวดีแล้วจึงนำที่บังแดดออก
3. การทาบกิ่ง
การขยายพันธุ์ขนุนโดยการทาบกิ่งเป็นวิธีนิยมกันมาก เพราะต้นที่ได้จะมี
ลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมและมีรากแก้วด้วย ต้นที่ได้จะตกผลเร็วเช่นเดียวกับต้นที่ได้
จากการตอนกิ่ง วิธีการทาบกิ่งก็ทำได้ง่าย หากแต่เสียเวลาในการเพาะเมล็ดเพื่อใช้
เป็นต้นตออยู่บ้าง
3.1 การเตรียมต้นตอ ต้นตอที่จะนำมาทาบกิ่ง คือต้นกล้าขนุนที่ได้จาก
การเพาะเมล็ดในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถาง หม้อดิน และที่นิยมกันมากคือการเพาะ
ในถุงพลาสติก เพราะมีน้ำหนักเบา สะดวกในการนำไปทาบ ส่วนพวกกระถางหรือ
หม้อดินจะมีน้ำหนักมาก เวลาทาบกิ่งต้องทำนั่งร้านขึ้นไปรองรับ ทำให้ยุ่งยาก
ไม่สะดวกในการทำงาน
3.2 การเลือกกิ่งพันธุ์ กิ่งของต้นพันธุ์ดีที่ต้องการจะทาบนั้น ให้เลือกกิ่ง
ที่มีขนาดไล่เลี่ยกับขนาดของต้นตอ หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นกิ่งที่กำลังเติบโตแข็ง
แรง กิ่งกลมไม่เป็นเหลี่ยม กิ่งไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ไม่มีโรคแมลงรบกวน ที่สำคัญ
คือ ต้องเป็นต้นที่ให้ผลแล้ว และผลมีคุณภาพดีตามที่ต้องการ หรืออาจเป็นต้นที่ยัง
ไม่ตกผล แต่แน่ใจว่าเป็นต้นที่ดีตามที่ต้องการจริง ๆ
3.3 ฤดูกาล การทาบกิ่งจะทำช่วงไหนก็ได้ แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือ
กลางฤดูฝน จนถึงปลายฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่ต้นไม้กำลังเจริญเติบโต จะทำให้กิ่ง
ติดกันเร็ว ช่วงที่ฝนตกชุก อาจทำให้กิ่งทาบเน่าเสียได้ง่าย
3.4 วิธีทาบกิ่ง ทำได้ 2 วิธีคือ
3.4.1 วิธีปาดข้าง เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว ใช้มีดคม ๆ
ปาดต้นตอและกิ่งพันธุ์ลึกเข้าไปในเนื้อไม้เล็กน้อย รอยปาดยาวประมาณ 1-2
นิ้ว แล้วแต่ขนาดกิ่ง รอยปาดต้องเรียบ ไม่เป็นคลื่น (ถ้าปาดครั้งเดียวได้ที่จะดี
มาก การปาดหลายครั้งจะทำให้กิ่งช้ำ เน่าได้ง่าย ผู้ที่ยังไม่ชำนาญควรฝึกให้เกิดความ
ชำนาญเสียก่อน) เสร็จแล้วนำรอยทาบมาประกบกันให้สนิท แล้วพันด้วยแผ่น
พลาสติกเหนียวให้แน่น ไม้ไห้น้ำเข้าได้ ถ้าเป็นต้นตอที่อยู่ในถุงพลาสติกให้ใช้เชือก
ผูกถุงให้ติดกับกิ่ง ไม้ให้แกว่ง ส่วนต้นตอที่อยู่ในภาชนะที่หนัก ต้องมีนั่งร้านหรือจำปา
ขึ้นรองรับ
3.4.2 วิธีเสียบข้าง การเตรียมต้นตอสำหรับนำไปทาบกิ่งทำได้
โดยเอาต้นตอบรรจุลงในถุงพลาสติก ใส่ขุยมะพร้าวที่ได้แช่น้ำเตรียมไว้แล้วให้
เต็ม เติมน้ำให้ชื้นพอควร ผูกปากถุงให้แน่นแล้วนำไปทาบกิ่งได้ ขนาดของต้นตอ
ที่ควรนำไปทาบ คือขนาดแท่งดินสอขึ้นไป ส่วนพวกต้นกล้าที่ปลูกในภาชนะบรรจุ
ดินเมื่อต้นโตได้ขนาดดีแล้ว จึงนำไปทาบกิ่งได้
วิธีทำ ใช้มีดคม ๆ เฉือนที่ต้นพันธุ์ลึกเข้าไปในเนื้อไม้เล็ก
น้อย รอยแผลยาวประมาณ 1-2 นิ้ว บากด้านบนของรอยแผลเป็นร่องลิ่ม เฉือนต้นตอ
เป็นรูปปากฉลาม ยาวประมาณ l- 2 นิ้วเช่นเดียวกัน โดยตัดยอดของต้นตอทิ้งไป
เลย เอารอยเฉือนของต้นตอไปทาบที่รอยแผลของกิ่งพันธุ์ให้แนบสนิท แล้วพันด้วย
แผ่นพลาสติคให้แน่น อย่าให้น้ำเข้าได้ เสร็จแล้วเอาเชือกผูกถุงที่บรรจุต้นตอให้ติด
แน่นกับกิ่งพันธุ์เพื่อไม่ให้ต้นตอแกว่งได้ ส่วนการดูแลกิ่งทาบให้ปฎิบัติเช่นเดียวกับ
แบบแรก