แมลงกินูน
ด้วงแรด
แมลงทับ
กว่างซาง
กว่างซน
แมลงตับเต่า
แมลงเหนี่ยง
แมลงข้าวสาร
แมลงกุดจี่
จิ้งโกร่ง
จิ้งหรีด
แมลงกระชอน
ตั๊กแตนปาทังก้า
ตั๊กแตนเล็ก
แมลงเม่า
แมลงมัน
มดแดง, มดนาง, มดเป้ง
ผึ้ง
หนอนไผ่
ดักแด้ไหม
ตัวจรวด
แมลงโป้งเป้ง
จักจั่น, เรไร
แมลงดานา
แมลงดาสวน
มวนแมงป่องน้ำ
คุณค่าทางโภชนาการ
ในประเทศไทยชาวบ้านในแถบชนบทนิยมนำแมลงมากินเป็น
อาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ
ภาคเหนือ
การที่ทราบว่าแมลงชนิดใดกินได้หรือไม่นั้น เป็นความรู้
สืบทอดต่อ ๆ กันมา แมลงที่กินได้บางชนิดพบมีอยู่เฉพาะที่ จึงรู้จัก
กินกันเฉพาะท้องถิ่นนั้น ๆ แต่บางชนิดมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในประเทศจึง
รู้จักกินกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทย
และบางครั้งสามารถหาซื้อได้
ตามท้องตลาด แมลงกินได้ที่พบในประเทศไทยเท่าที่สำรวจได้มีมากกว่า
50 ชนิด แต่ในที่นี้จะเขียนถึงแมลงกินได้เพียงบางชนิดที่เป็นที่รู้จัก
นิยมกินกัน
ในการนำแมลงมาประกอบเป็นอาหารนั้น ถ้าเป็นแมลงตัวโต
ควรเด็ดเอาส่วนแข็งออกก่อน เช่น หัว ขา และปีกและสิ่งที่สำคัญคือ
ต้องไม่จับแมลงในแหล่งที่มีการพ่นสารฆ่าแมลงมากินเป็นอันขาด
แมลงที่กินได้มีดังนี้
แมลงกินูน (แมลงอินูน)
แมลงปีกแข็ง ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลขนาดต่าง ๆ แล้วแต่ชนิด
บางชนิดมีสีเขียว เรียกว่ากินูนเขียว กลางวันหลบซ่อนอยู่ในดินหรือ
ใต้กองใบไม้ กลางคืนบินออกมากินใบอ่อนพืช จับได้โดยมือจับหรือ
ใช้กระบอกไม้ไผ่จ่อที่ตัวแมลง มันจะปล่อยตัวตกลงมา นำไป คั่ว ทอด
นึ่ง หรือแกงรับประทานได้
ด้วงแรด (ด้วงมะพร้าว)
กินยอดอ่อนมะพร้าว บางครั้งบินมาเล่นแสงไฟ ประกอบอาหาร
ได้ โดยนำมา ปิ้ง คั่ว ทอด หรือแกง
แมลงทับ
แมลงปีกแข็ง มีสีน้ำเงินสวยเป็นเงางาม พบบนต้นไม้หลายชนิด
เช่น มะขามเทศ กระถินณรงค์ รับประทานได้ โดยนำมา ปิ้ง คั่ว ทอด
หรือยัดไส้หมู สับและนึ่ง
กว่างซาง
แมลงปีกแข็งขนาดใหญ่ ตัวสีน้ำตาล หัวสีดำ ตัวผู้มีเขายาวยื่น
ออกมา 5 เขา สวยงาม พบกินยอดไผ่ซางทางภาคเหนือ ประกอบ
อาหาร โดยนำมา ปิ้ง คั่ว ทอด หรือสับทำเป็นลาบ
กว่างชน (กว่างโซ้ง กว่างกิ กว่างอีลุ่ม)
ด้วงปีกแข็ง พบทั่วไป กินอ้อย ตัวผู้มีเขาเรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ
กว่างกิ ตัวเมียไม่มีเขา เรียกว่าอีลุ่ม ชาวบ้านทางภาคเหนือนิยมนำเอา
ตัวผู้มาชนต่อสู้กัน ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในกรุงเทพฯ โดยเด็ก
ชอบซื้อไปเลี้ยงดูเล่น หรือใหห้ต่อสู้กัน นำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียว
กับกว่างซาง
แมลงตับเต่า

แมลงตับเต่า (ด้วงดิ่ง)
แมลงปีกแข็ง ตัวสีดำเรียบเป็นมัน ขอบปีกมีสีน้ำตาลอ่อนเป็น
ทาง อยู่ในน้ำตามบ่อ หนอง บึง มักอยู่นิ่ง ๆ บนผิวน้ำเอาหัวดิ่งลง
ชอบบินมาเล่นแสงไฟเวลากลางคืน รับประมาณได้ โดยนำมา คั่ว ทอด
นึ่ง หรือแกง
แมลงเหนี่ยง
อยู่ในน้ำ และมีลักษณะเหมือนแมลงตับเต่า แต่ที่ขอบปีกไม่มี
ทางสีน้ำตาลอ่อน และมืออวัยวะคล้ายลูกศรอยู่กลางอกทางด้านท้อง
นำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับแมลงตับเต่า
แมลงข้าวสาร
แมลงปีกแข็งขนาดเล็กอยู่ในน้ำจับได้โดยใช้สวิงช้อน ชอบบิน
มาเล่นแสงไฟเวลากลางคืน นำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น คั่ว
ทอด แกง หมก หรือตำเป็นน้ำพริก
แมลงกุดจี่ (แมลงขี้ครอก, ด้วงขี้ควาย)
แมลงปีกแข็ง อยู่ตามกองมูลสัตว์ หรือในดินใต้กองมูลสัตว์ ถ้ามีแมลงนี้อยู่จะมีรอยขุยอยู่ที่กองมูลสัตว์ จับได้โดยใช้ไม้คุ้ย หรือขุดลงไปในดิน เมื่อได้ตัวแล้วต้องใส่ถังตั้งทิ้งไว้หนึ่งคืน เพื่อให้แมลงถ่ายสิ่งสกปรกออกแล้วนำไปแช่น้ำล้างให้สะอาด รับประทานได้เช่นเดียวกับแมลงกินูน
จิ้งโกร่ง (จิโปม)

จิ้งโกร่ง (จิโปม)
ขุดรูอยู่ในดินตามคันนา ทุ่งหญ้าในเวลากลางวัน จับโดยใช้
จอบขุดกลางคืนบินออกมาเล่นไฟ รับประทานได้โดยนำมา คั่ว
ทอด ชุบแป้งทอด เสียบไม้ย่าง หรือนึ่ง
จิ้งหรีด (จี้หล่อ)
มีแหล่งอาศัย อุปนิสัย การดำรงชีวิต และนำมาประกอบอาหาร
ได้เช่นเดียวกับจิ้งโกร่ง
แมลงกระชอน
แมลงกระชอน
ขุดรูอยู่ในดิน มีขาหน้าใหญ่เป็นหนามแข็งใช้สำหรับขุดดิน บาง
ครั้งบินมาเล่นแสงไฟ รับประทานได้เช่นเดียวกับจิ้งโกร่ง
ตั๊กแตนปาทังก้า
เป็นศัตรูสำคัญของพืชหลายชนิดใช้เป็นอาหารโดยนำมาคั่ว ปิ้ง
ทำทอดมันและที่นิยมมากคือนำมาทอดกรอบตั๊กแตนปาทังก้าทอดกรอบ
สามารถหาซื้อรับประทานได้ทั่วไปในกรุงเทพฯ โดยมีพ่อค้าบรรทุกตั๊กแตน
เป็น ๆ มาขายที่ตลาดคลองเตยทุกเช้าในช่วงระยะที่ไม่มีการพ่นสารปราบ
ตั๊กแตน
ตั๊กแตนเล็ก (ตั๊กแตนข้าว)
ตั๊กแตนขนาดเล็กพบทั่ว ๆ ไป กินใบข้าว อ้อย และหญ้า ประกอบ
อาหารได้โดยนำมา คั่ว นึ่ง หรือทอด
แมลงเม่า
เป็นปลวกที่มีปีกบินออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์จับได้โดยใช้
ถุงตาข่ายครอบไว้ที่ปากรังหรือจอมปลวกขณะที่มันบินออก หรือใช้
แสงไฟล่อ โดยตั้งภาชนะใส่น้ำไว้ใต้หลอดไฟ แมลงเม่าเมื่อตกลงไปใน
น้ำแล้วไม่สามารถบินขึ้นมาได้ ในการรับประทานนำมาคั่วและใส่เกลือ
เล็กน้อย
แมลงมัน
มดขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแดง มีปีกตัวยาวประมาณ 1 นิ้ว ชอบ
บินมาเล่นแสงไฟ รับประทานได้เช่นเดียวกับแมลงเม่า
มดแดง, มดนาง, มดเป้ง ไข่มดแดง
มดแดงทำรังบนต้นไม้ โดยห่อใบให้ติดกัน ภายในรังมดแดง
มีมดที่มีลักษณะแตกต่างกันหลายแบบที่เห็นทั่ว ๆ ไป มีตัวสีแดง คือ
"มดงาน" ตัวอ่อนและดักแด้ของมดงานมีขนาดเล็กสีขาว ชาวบ้าน
เรียกว่า "ไข่มดแดง" ส่วนราชินีมดแดง ตัวโตสีเขียว มีปีกเรียกว่า
"มดนาง" ตัวอ่อนและดักแด้ของมดนางมีขนาดใหญ่สีขาว เรียกว่า
"มดเป้ง"
มดแดง และมดนาง ใช้ผสมยำอื่น ๆ แทนมะนาว เพราะมี
รสเปรี้ยวจากกรดฟอร์มิก ส่วนมดเป้งและไข่มดแดง นำมาหมก ยำ
ผึ้ง
นอกจากน้ำผึ้งแล้ว ตัวอ่อนผึ้งยังนำมารับประทานได้ โดยนำ
รังผึ้งที่มีตัวอ่อนไปปิ้ง หรือเคี้ยวรับประทานสด เฉพาะตัวอ่อนนำไป
คั่ว ทอด หรือแกงได้
หนอนไผ่ (ตัวแน่, รถไฟ)
หนอนผีเสื้อกินเยื่อไผ่ในกระบอกไม้ไผ่ พบทางภาคเหนือใน
ช่วงฤดูฝน รับประทานได้โดยนำมาคั่ว หรือทอด เป็นที่นิยมมาก หา
ซื้อหนอนไผ่นี้ได้ตามท้องตลาด หรือสามารถสั่งซื้อหนอนไผ่ทอดกรอบ
ได้ตามภัตตาคารบางแห่งในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่
ดักแด้ไหม
ดักแด้ไหม เมื่อต้นสาวเส้นไหมออกแล้ว ตัวดักแด้ที่อยู่ข้างใน
ปลอกหุ้ม นำมารับประทานได้โดยนำมานึ่ง คั่ว ทอด แกง หรือป่น
ใส่น้ำพริก
ตัวจรวด (เครื่องบิน)
ผีเสื้อกลางคืนลำตัวอ้วน ปลายท้องแหลม ลักษณะคล้ายจรวด
หรือเครื่องบิน มีหลายชนิด ชอบบินมาเล่นแสงไฟ นิยมรับประทาน
โดยเด็ดปีกแชาน้ำล้างขนออกให้หมด แล้วนำมาคั่ว ทอด หรือปิ้ง
แมลงโป้งเป้ง (แมงงำ)
ตัวอ่อนของแมลงปอ อยู่ในน้ำตามสระ หนอง บึง จับโดยใช้
สวิงซ้อน นำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น คั่ว ทอด หมก แกง
จักจั่น, เรไร
จักจั่น พบตามต้นไม้ ตัวผู้มีอวัยวะทำเสียงดังได้ เรไร มีลักษณะ
เหมือนจักจั่น แต่มีขนาดใหญ่กว่า ทั้งจักจั่นและเรไร รับประทานได้
โดย คั่ว ทอด ปิ้ง ทำลาบ แกง หรือตำเป็นน้ำพริก
แมลงดานา
แมลงดานา
อยู่ในน้ำตามนาข้าว หนอง บึง ชอบบินมาเล่นแสงไฟ จับโดย
ใช้แสงไฟล่อ โดยเฉพาะไฟสีน้ำเงิน ตัวผู้มีกลิ่นฉุนนำมาตำเป็นน้ำพริก
น้ำแจ่ว หรือดองน้ำปลารับประทาน ตัวเมียไม่มีกลิ่นรับประทานได้โดย
นำมาปิ้ง ทอด หรือยัดไส้หมูสับ แล้วนึ่ง หรือทอด
แมลงดาสวน (แมลงก้าน, มวนตะพาบ, มวนหลังไข่)
ตัวมีขนาดเล็กกว่าแมลงดามาก อยู่ในน้ำ ตัวเมียวางไข่เป็น
กลุ่มติดแน่นอยู่บนหลังตัวผู้ ตัวผู้ดูแลไข่จนฟักออกเป็นตัว แมลงชนิดนี้
นำมาประกอบอาหารได้ เช่น คั่ว ทอด หรือตำเป็นน้ำพริก
มวนแมงป่องน้ำ (แมลงคันโซ่)
รูปร่างคล้ายแมงป่องแซ่ มีหางยาว อยู่ในน้ำ รับประทานได้
โดยนำมา คั่ว ทอด นึ่ง ทำลาบ หรือตำเป็นน้ำพริก
คุณค่าทางโภชนาการ
จากการศึกษาคุณค่าทางอาหารของแมลงในประเทศไทย (2526)
พบว่า แมลงตับเต่า, ตั๊กแตนเล็ก และแมลงดานา มีปริมาณโปรตีน
และไขมันใกล้เคียงกับโปรตีนและไขมัน จากเนื้อสัตว์ ซึ่งแสดงในตาราง
ที่ 1 ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงคุณค่าอาหารของแมลงและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ต่อน้ำหนัก
100 กรัม

ชนิด โปรตีน ไขมัน
 (กรัม) (กรัม)
แมลงตับเต่า21.0 7.1
ตั๊กแตนเล็ก20.6 6.1
แมลงดานา 19.8 8.3
ปลาดุก 23.0 2.4
เนื้อไก่ 20.2 12.6
เนื้อวัว18.8 14.6
เนื้อหมู14.1 35.0
ไข่ไก่ 12.7 11.9

ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย (2521) และ
โภชนาการสาร ปีที่ 17(1) 15-12 พ.ศ. 2526

จะเห็นได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโปรตีนในแมลงกับเนื้อสัตว์
บางชนิดแล้วไม่แตกต่างกันมากนักในขณะที่เนื้อสัตว์มีราคาแพงขึ้นทุก
วันในปัจจุบันแมลงอาจเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญได้ในอนาคตเนื่องจาก
หาเองได้ง่าย และสามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งโดยทั่ว ๆ ไป
แล้ว แมลงสะอาดกว่าสัตว์ชนิดอื่น และในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าคนไทย
ทั่ว ๆ ไปไม่เฉพาะแต่มีอยู่ตามชนบทเท่านั้นนิยมรับประทานแมลงมากขึ้น
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีพลโลกเพิ่มขึ้นและอาหารเริ่มขาดแคลน
หากมนุษย์จะตัดความคิดรังเกียจขยะแขยงแมลงออกไปเสีย แมลงจะ
เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน และธาตุต่าง ๆ ให้กับ
มนุษย์ได้อย่างดี ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหารไปได้บ้าง
ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น สัตว์หลายชนิดก็กินแมลงเป็นอาหาร แม้แต่
สัตว์เลี้ยง เช่น นก ปลา ไก่ เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการผลิตแมลงเพื่อ
ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่นตัวหนอนแดง และดักแด้ไหม ใช้เป็นอาหารปลา
ทำให้ปลาสมบูรณ์แข็งแรง มีสีสันสวยงาม