![]() | แมลงตัวห้ำ แมลงตัวเบียน |
แพร่พันธุ์เพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว แต่แมลงก็มีศัตรูธรรมชาติมากมาย ที่คอยควบคุมประชากรของแมลงให้อยู่ในสมดุล ศัตรูธรรมชาติของ แมลงได้แก่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยน แปลงไปเป็นอันตรายต่อแมลง และอีกอย่างได้แก่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ เป็นศัตรูของแมลง ที่สำคัญก็คือแมลงด้วยกันเอง แมลงหลายชนิด ที่กินหรืออยู่ภายในหรือภายนอกตัวของแมลงชนิดอื่น แมลง เหล่านี้เราเรียกว่าตัวห้ำและตัวเบียนซึ่งปกติแล้วจะมีอยู่จำนวนมากพอ ที่จะควบคุมจำนวนประชากรของแมลงชนิดหนึ่ง ๆ ให้อยู่ในสมดุล คือ ไม่ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แต่มาถึงปัจจุบันมนุษย์ ได้ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ไปเสียมาก ทั้งที่ฆ่ามันโดยตรงและ ที่ไปรบกวนเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งกระทบกระเทือนต่อวงจร ชีวิตของมัน จนทำให้แมลงตัวห้ำและตัวเบียนน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่ เพียงพอจะกำจัดแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันได้มีการช่วยเพิ่มปริมาณแมลง ตัวห้ำและตัวเบียนเช่น การผลิตแมลงเหล่านี้แล้วนำไปปล่อยในธรรมชาติ เรียกวิธีการนี้ว่า การป้องกันกำจัดแมลงแบบชีววิธี ซึ่งเป็นวิธีการที่ ดีที่สุด เพราะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จะมีลักษณะที่สำคัญต่างจากแมลงตัวเบียนคือ ทันที ดังนั้นจึงกินเหยื่อได้หลายตัวตลอดช่วงชีวิตการเจริญเติบโตของมัน อาหารในที่ต่าง ๆ กันในแต่ละมื้อ |
![]() |
ตั๊กแตนตำข้าวใช้ขาหน้าจับเหยื่อกินเป็นอาหาร |
![]() |
แมลงวันหัวบุบจับตั๊กแตนกินเป็นอาหาร |
ตารางที่ 2 แมลงที่เป็นตัวห้ำที่สำคัญกลุ่มใหญ่ ๆ และเหยื่อที่กิน
แมลง | ระยะที่เป็นตัวห้ำ | เหยื่อที่กิน | ตั๊กแตนตำข้าว | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | หนอนและแมลงชนิดต่าง ๆ | แมลงปอ | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงตัวเล็ก ๆ | มวน : | มวนเพชฌฆาต | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงชนิดต่าง ๆ | มวน damsel | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | หนอนผีเสื้อและแมลงชนิดอื่น | ด้วง : | ด้วงดิน | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงที่อาศัยในดิน | ด้วงเต่า, เต่าลาย | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | เพลี้ยอ่อนเพลี้ยหอย | ด้วงเสือ | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงชนิดต่าง ๆ | ด้วงก้นกระดก | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงที่อาศัยในดิน | แมลงวัน : | แมลงวันหัวบุบ | ตัวเต็มวัย | แมลงชนิดต่าง ๆ | แมลงวันดอกไม้ | ตัวอ่อน | เพลี้ยอ่อน ตัวอ่อนมด ปลวก | แมลงเจิง | ต่อ, มด : | ต่อรัง | ตัวเต็มวัยหาเหยื่อมา | หนอนผีเสื้อ | เลี้ยงตัวอ่อน | ต่อหมาร่า | ตัวเต็มวัยหาเหยื่อมา | หนอนผีเสื้อ เพลี้ยอ่อน | เลี้ยงตัวอ่อน | แมงมุม | มด | ตัวเต็มวัย | แมลงชนิดต่าง ๆ |
เกือบทุกกลุ่มของแมลง เช่น ตั๊กแตนตำข้าว ด้วงบางชนิด แมลงวัน บางชนิด ต่อแตนและมวนบางชนิด ส่วนแมลงปอ และแมลงช้างนั้น เกือบทุกชนิดเป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญทางการเกษตร แมลงตัวห้ำแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีความว่องไว กระตือรือล้นในการออกหา เหยื่อ พวกนี้มักจะมีอวัยวะที่ดัดแปลงไปเพื่อช่วยในการจับเหยื่อ เช่น มีขายื่นยาวสำหรับจับเหยื่อ เช่น ตั๊กแตนตำข้าว บ้างก็มีตาใหญ่เพื่อจะ ได้เห็นเหยื่อได้ชัดเจน เช่น แมลงปอ เป็นต้น อีกพวกได้แก่ พวกที่กิน เหยื่ออยู่กับที่ เช่น ด้วงเต่าลายกินเพลี้ยอ่อน ซึ่งไม่มีอวัยวะดัดแปลง เป็นพิเศษแต่อย่างใด แมลงตัวห้ำที่มีปากแบบกัดกินจะกัดเหยื่อเป็น ชิ้น ๆ แล้วเคี้ยวกินเป็นอาหารเช่น ตั๊กแตนตำข้าว แมลงปอ เป็นต้น ส่วนตัวห้ำที่มีปากแบบแทงดูดจะแทงปากเข้าไปดูดกินของเหลวต่าง ๆ ในตัวแมลงจนแห้งเหลือแต่ซากแล้วทิ้งไป เช่น มวนเพชฌฆาต แมลง บางชนิดเป็นแมลงตัวห้ำทั้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เช่น แมลงปอ ด้วงดิน แต่แมลงบางชนิดเป็นตัวห้ำเฉพาะตอนเป็นตัวอ่อน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะกินน้ำหวานหรือเกสรดอกไม้แทน เช่น แมลงวัน ดอกไม้ และบางชนิดก็เป็นตัวห้ำตอนเป็นตัวเต็มวัยในขณะที่เป็นตัว อ่อนจะกินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร เช่นแมลงวันหัวบุบ เป็นต้น ประสบผลสำเร็จมาแล้วหลายตัวอย่าง ในต่างประเทศได้ใช้ด้วงเต่าลาย ทำลายเพลี้ยแป้งในสวนส้มด้วงเต่ายังสามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้เป็น อย่างดีจนกระทั่งมีการผลิตด้วงพวกนี้จำนวนมากเป็นการค้า เกษตรกร สามารถหาซื้อแล้วนำมาปล่อยในสวนของตนเพื่อช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อน ได้ แมลงช้างปีกใสก็เช่นกันมีการผลิตออกมาขายในลักษณะเป็นไข่ ที่สามารถนำไปวางในสวนเพื่อช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนและมด เป็นต้น แมลงศัตรูพืชหลายชนิด แมลงตัวเบียนจะกินแมลงชนิดอื่นเป็นอาหาร ในลักษณะที่แตกต่างจากแมลงตัวห้ำ คือ กินอยู่ในลักษณะนี้เป็นเวลานานตลอดวงจรชีวิต หรืออย่างน้อยก็ระยะ หนึ่งของวงจรชีวิต จะมีตัวเบียนอาศัยอยู่จำนวนมากมาย ทำให้เหยื่อตายเมื่อตัวเบียนเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว |
![]() |
ตัวเต็มวัยและดักแด้ แตนเบียนจำนวนมากบนตัวหนอนผีเสื้อซึ่ง |
ใช้เป็นอาหารและที่อยู่อาศัยขณะเป็นตัวอ่อน |
ตารางที่ 3 แมลงตัวเบียนที่สำคัญและเหยื่อ
แมลง | ตัวเบียนภายใน | เหยื่อ | หรือภายนอก | แมลงวัน : | แมลงวันก้นขน | ภายใน | หนอนผีเสื้อ หนอนด้วง มวน | แมลงวันหลังลาย | ภายใน | แมลงชนิดต่างๆ | ต่อเบียน แตนเบียน : | ต่อเบียน (Ichneumons) | ภายในและภายนอก | หนอนผีเสื้อ ตัวอ่อนต่อเบียน | แตนเบียน | แตนเบียน (Broconids) | ภายใน | หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน | เพลี้ยอ่อน | แตนเบียนฝอย | ภายในและภายนอก | หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน | (Chalcidid) | หนอนด้วง | แตนเบียนไตรโคแกรมม่า | (Trichogramma) | ภายใน | ไข่ของแมลงชนิดต่าง ๆ | ตัวไตโลปิคส์ : | Strepssiptera | ภายใน | แมลงพวกเพลี้ย มวน ตั๊กแตน | ต่อแตน |
สัตว์ชนิดอื่น คือทำให้แมลงที่เป็นเหยื่อตายในที่สุด แต่แมลงตัวเบียน สัตว์ชนิดอื่น เช่น หมัด ไรไก่ หรือเหา จะแค่ดูดเลือดและแร่ธาตุ อาหารก่อให้เกิดอันตรายบ้างแต่ไม่ถึงกับตาย ความสัมพันธ์ระหว่าง แมลงตัวเบียนและแมลงศัตรูพืชนั้นค่อนข้างเฉพาะเจาะจง บางชนิด จะทำลายแมลงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น เฉพาะแมลงในกลุ่มพวกต่อแตน และแมลงวันบางชนิดเท่านั้นที่เป็นแมลงตัวเบียน (ตารางที่ 3) แมลง ตัวเบียนจะทำลายเหยื่อในระยะต่าง ๆ กัน บางชนิดทำลายไข่ของเหยื่อ บางชนิดทำลายตัวอ่อนหรือดักแด้ โดยปกติจะไม่ทำลายตัวเต็มวัยของ แมลง แมลงส่วนมากเป็นตัวเบียนตอนเป็นตัวอ่อน เมื่อเป็นตัวเต็มวัย จะหากินเป็นอิสระ ตัวเบียนบางชนิดอาศัยในตัวแมลง และเจริญเติบโต โดยใช้น้ำเลี้ยงในตัวแมลงเป็นอาหารแต่บางชนิดก็อาศัยอยู่ภายนอก และทำแผลขึ้นที่ผิวหนังของเหยื่อเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจากภายใน ใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปวางไข่ในตัวเหยื่อหรือบนตัวเหยื่อ ส่วนมาก จะวางไข่หลายฟองแล้วจากไปหาเหยื่อตัวอื่น เพื่อวางไข่ต่อไป โดยมิได้ ดูแลตัวอ่อนที่จะฟักออกมา แต่ตัวเบียนบางตัวจะปล่อยสารพิษออก มาก่อนเพื่อจะให้เหยื่อเป็นอัมพาตจะได้วางไข่ได้ง่ายขึ้น และอาจนำ เหยื่อที่มันวางไข่บนตัวแล้วมาใส่ไว้ในรังที่มันสร้างขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่า ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะมีทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย ปลอดภัยจากศัตรู ตัวอ่อนของแมลงตัวเบียนเมื่อฟักออกจากไข่แล้วจะกินแร่ธาตุอาหาร จากตัวเหยื่อ โดยเหยื่อก็จะยังคงมีชีวิตต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับตัวเบียน ก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อแมลงตัวเบียนเติบโตเต็มที่แล้วจะเข้าดักแด้ อาจเข้าดักแด้ภายในหรือภายนอกตัวแมลงซึ่งถึงขณะนี้แมลงที่เป็นเหยื่อ จะถูกดูดกินไปหมดแล้ว อาจเหลือเพียงเปลือกผนังลำต้นเท่านั้น จาก นั้นตัวเบียนก็จะเจริญเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งมีชีวิตอยู่เป็นอิสระกินน้ำหวาน ดอกไม้เป็นอาหาร พืชอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น มีการ ผลิตแตนเบียนหลายชนิด แล้วนำไข่ไปปล่อยในแปลงปลูกพืช เช่น แตนเบียนฝอยไตรโคแกรมม่า ซึ่งเป็นแตนเบียนไข่ของหนอนผีเสื้อ หลายชนิด ในประเทศไทย ได้มีการผลิตแตนเบียนชนิดนี้ในไข่ของ ผีเสื้อข้าวสาร แล้วนำไปปล่อยในแปลงอ้อย เพื่อใช้กำจัดหนอนกอ ทำลายอ้อย นอกจากนี้มีการนำแตนเบียนจากที่หนึ่งไปปราบแมลงซึ่ง กำลังระบาดอีกที่หนึ่ง ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายและจำหน่าย แตนเบียนที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรหลายชนิดด้วย
|