พันธุ์และการขยายพันธุ์

พันธุ์
มะลิโดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นการค้า ได้แก่ มะลิลา ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ตรงกันข้าม ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสีขาว ช่อละ 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน มีกลิ่นหอม มะลิลาที่เป็นพันธุ์ส่งเสริมได้แก่
พันธุ์แม่กลอง
พันธุ์ราษฎร์บูรณะ
พันธุ์ชุมพร


ลักษณะ

พันธุ์แม่กลอง
พันธุ์ราษฎร์บูรณะ
พันธุ์ชุมพร
ทรงต้น
ทรงพุ่มใหญ่ หนาและทึบ
เจริญเติบโตเร็ว
ทรงพุ่มเล็กกว่า และค่อนข้างทึบ คล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
แต่ทรงพุ่มโปร่งกว่าเล็กน้อย
ใบ
ใหญ่หนา สีเขียวเข้มจนออกดำ
รูปใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน
ใบเล็กกว่า สีเขียวเข้ม รูปใบเรียว ใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
แต่เรียวกว่า สีอ่อนกว่าและบางกว่า
ช่วงข้อใบ
ห่าง ค่อนข้างถี่ ถี่
ดอก
ใหญ่ กลม เล็ก เรียวแหลม คล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
ช่อดอก
มักมี 1 ชุด
ชุดละ 3 ดอก
มักมี 1-2 ชุด
ชุดละ 3 ดอก
มักมีมากกว่า 2 ชุด
ชุดละ 3 ดอก
ผลผลิต
ดอกไม่ดก ดอกดก ทะยอยให้ดอก ดอกดกมาก
แต่ทิ้งระยะห่างเป็นช่วง ๆ
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ ที่นิยมทำกันมากที่สุด คือการปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. เตรียมวัสดุเพาะชำ โดยใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2. การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้จะเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออกให้เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียง 1/2 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ ถ้าต้องการเร่งรากควรนำกิ่งมะลิไปจุ่มในฮอร์โมน IBA [Indole Butyric Acid] และ NAA [Naphthalene Acetic Acid] ในอัตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 4,500 ppm
3. นำกิ่งมะลิที่เตรียมไว้ปักชำลงในภาชนะเพาะ โดยปักเรียงเป็นแถว ให้มีระยะห่างระหว่างแถวและกิ่ง 2 x 2 นิ้ว จากนั้นรดน้ำและสารกันรา เช่น แคปแทน และสารเคมีกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน
4. รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่ โดยนำเอาภาชนะเพาะชำ (ตะกร้าพลาสติก) ไปวางไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่น (มัดให้สูง) นำไปผูกไว้ที่กิ่งหรือท่อนไม้ เพื่อไม่ให้ปากถุงกดทับกิ่งชำ แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม ถ้าเป็นมะลิลากิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นมะลิซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
5. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน, ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกต่อไป

ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำในกระบะปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะอาจจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 80 เซนติเมตร หรือขนาดอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม ใช้ขี้เถ้าแกลบเก่า ๆ เป็นวัสดุปักขำ โดยใส่ลงในกระบะประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว และระยะระหว่างแถวประมาณ 2 นิ้ว เมื่อชำเสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กิ่งมะลิจะออกรากประมาณ 90% ของมะลิทั้งหมด
เมื่อมะลิออกรากแล้ว ให้สังเกตดูความสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกหรือในแปลง การปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซ็นต์การออกรากสูง แต่มีข้อควรระวังคือ การปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลายครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้สารเคมีป้องกันราราด หรือฉีดพ่นลงในกระบะขณะปักชำด้วย

มะลิ ประโยชน์ การปลูก โรคแมลง บังคับออกดอก การเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยว