พันธุ์ปลาทุกชนิด ที่สามารถเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีในบ่อสามารถนำมา
ใช้เลี้ยงแบบผสมผสานได้ แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน มี 4 ชนิดคือ ปลานิล
ปลาสวาย ปลาตะเพียน และปลาดุกอุยเทศ และมักนิยมปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ
เดียวกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น เลี้ยงปลานิล ร่วมกับปลาสวาย ปลาตะเพียนกับ
ปลานิล หรือเลี้ยงรวมกันทั้ง ปลานิล ปลาสวาย และปลาตะเพียน ส่วนปลาดุกบิ๊กอุย
นิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียวในบ่อ อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง ส่วนใหญ่ลูกปลาทุกชนิด
ที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ จะมี ขนาด 1.0-1.5 นิ้ว เนื้อที่ 1 ไร่ จะปล่อยปลาลงเลี้ยง
รวมกัน ดังนี้ คือ
ปลานิล
4,000-4,500 ตัว
ปลาสวาย
2,000-2,500ตัว
ปลาตะเพียน
1,000-1,500ตัว
อัตราส่วนการปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้ จะเลี้ยงกันในบ่อขนาดใหญ่ประมาณ
15 ไร่ โดยเลี้ยงไก่ ประมาณ 10,000 ตัว หรือ สุกร 220 ตัว พร้อมกันไปด้วย
การปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้พบว่ามีข้อแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร
แต่ละราย หากเกษตรกรต้องการร่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง และต้องการ
ปลาที่มีขนาดใหญ ก็ควรลดอัตราปล่อยลงอีก 20-25% หากต้องการยึดระยะการ
เลี้ยงให้นานออกไป และไม่ต้องการปลาตัวใหม่มากนัก เมื่อถึงเวลาจับ ก็เพิ่มอัตรา
ปล่อยมากกว่านี้ได้อีก สำหรับปลาดุกอุยเทศ มักนิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียว และมัก
เลี้ยงในบ่อที่มีขนาด 5-10 ไร่ จะปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุย ขนาด 1 นิ้ว ไร่ละ 30,000 -
40,000 ตัว ในบ่อขนาด 5 ไร่ จะปล่อยลูกปลาประมาณ 200,000 ตัว โดยเลี้ยงไก่
เนื้อ จำนวน 5,000 ตัวควบคู่ไปด้วย
โรงเรือนเลี้ยงไก่เหนือบ่อเลี้ยงปลา
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงแบบยังชีพ ควรปล่อยปลาให้น้อยกว่านี้ โดยปกติ
ในบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ พร้อมกับการเลี้ยงสุกรไว้ 5 ตัว หรือ ไก่ หรือเป็ด 100 ตัว
ควรปล่อยปลาชนิดต่าง ๆ ลงเลี้ยงประมาณ 1,000-1,200 ตัว ก็เพียงพอสำหรับ
การเลี้ยงปลาประมาณ 8 เดือน และได้ปลาขนาดใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับการ
บริโภคหรือขายเพื่อเป็นรายได้เสริมอย่างดี หากไม่สามารถเลี้ยงสุกร หรือเป็ด
หรือไก่ ได้ตามจำนวนที่แนะนำ ก็ลดจำนวนลงได้ แต่ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย ลงในบ่อ
ปลาในอัตราประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ ทุกสัปดาห์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของ
มูลสัตว์ให้ดีขึ้น
เลี้ยงเป็ดร่วมกับการเลี้ยงปลา