การเตรียมบ่อปลาเพื่อเลี้ยงปลาควรเริ่มต้นในฤดูแล้ง โดยการสูบน้ำออก
จากบ่อพร้อมทั้งจับปลาออกให้หมด ตากดินก้นบ่อให้แห้งแล้วใส่ปูนขาว ในอัตรา
100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าสภาพดินเป็นกรดมากต้องใส่ปูนขาวมากกว่านี้ เช่น
ถ้าดินเป็นกรดวัดค่าความเป็นกรดได้น้อยกว่า 5 ต้องใส่ปูนขาว ถึง 800 กิโลกรัม/ไร่
ใส่ปูนขาวแล้วปล่อยน้ำเข้าบ่อ ควรกรองน้ำด้วยมุ้งในลอนตาถี่ เพื่อป้องกันลูกปลา
ชนิดอื่น ๆ เข้ามากับน้ำ ให้ได้น้ำลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยให้ระดับผิวน้ำ
ต่อจากระดับพื้นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ประมาณ 1.0-1.5 เมตร หากนำสัตว์เลี้ยง เช่น
คอกอนุบาลลูกปลาก่อนปล่อยลงเลี้ยง
ไก่ หรือ สุกรเข้าโรงเลี้ยงครั้งแรก ควรทิ้งระยะประมาณ 7-10 วัน ภายหลังจาก
นำสัตว์เข้าเลี้ยงในโรงเล้วและน้ำในบ่อมีสีเขียวจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง พันธุ์ปลาที่
จะปล่อยลงเลี้ยง ควรเลือกซื้อที่มีขนาดใหญ่ ถ้าได้ปลาขนาดความยาวตั้งแต่ 2 นิ้ว
ขึ้นไป จะได้ผลดี ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มในระยะแรก แต่จะได้กำไรคืนมาคุ้มค่า
ที่ลงทุนไป เพราะลูกปลาขนาดใหญจะมีอัตรารอดสูง สามารถร่นระยะเวลาการ
เลี้ยงให้สั้นลงและควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อใจได้จริง ๆ เพราะมีฟาร์มจำหน่ายลูกปลา
บางรายเห็นแก่ได้ ทำการปลอมปนลูกปลา เช่น เอาลูกปลาดุกยักษ์ มาหลอก
จำหน่ายเป็นลูกปลาดุกอุยเทศให้แก่ผู้ซื้อเป็นต้น ปลาที่ปล่อยทั้งหมดควรมีขนาด
ใกล้เคียงกันและควรปล่อยปลาให้ครบชนิดและจำนวนในเวลาเดียวกันหรือไม่ควร
ปล่อยปลาห่างกันเกิน 5 วัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกปลาแต่ละชนิดเจริญเติบโต มีขนาด
เท่า ๆ กันในเวลาจับ เมื่อปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว ก็ต้องระวังอย่าให้น้ำในบ่อ
เน่าเสียเนื่องจากมูลสัตว์ ลงไปในบ่อมากเกินไป จนปลากินไม่ทัน
ทำให้หมักหมม
เน่าเปื่อยอยู่ในน้ำบริเวณก้นบ่อให้ทำออกซิเจนในน้ำลดลงและเกิดแก๊สพิษบางชนิด
เช่น แอมโมเนีย ซึ่งเป็นพิษต่อปลาเมื่อเกิดน้ำเสียในบ่อจะสังเกตได้จากสีของน้ำ
มีสีเขียวเข้มจัด มีฟองอากาศผุดขึ้นมาจากก้นบ่อโดยเฉพาะบริเวณใต้โรงเรือน
เลี้ยงสัตว์ และปลาจะลอยหัวสขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำในตอนเช้า เมื่อเห็นอาการ
เน่าเสียของน้ำดังกล่าวจะต้องรีบลดปริมาณมูลสัตว์ที่ตกลงในบ่อลงทันที
โดยการ
ใช้กระสอบหรือผ้ามุ้งสีฟ้าขึงไว้ใต้โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ประมาณครึ่งหนึ่งของเนื้อที่
เพื่อรองรับมูลสัตว์เอาไว้ไม่ให้ตกลงในบ่อปลาและควรรีบถ่ายน้ำโดยการสูบน้ำเก่า
ในบ่อออกแล้วสูบน้ำใหม่ที่สะอาดเข้าไปแทนโดยเร็ว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสุกร
บนคันบ่อปลาแทนที่จะล้างมูลสุกรลงบ่อปลาโดยตรงหากทำบ่อเกรอะมูลสุกรโดยล้าง
มูลสุกรลงมารวมกันในบ่อนี้ก่อนทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน เพื่อให้ให้มูลสุกรเน่าเปื่อย
ดีก่อนแล้วจึงระบายลงบ่อปลา จะช่วยลดปัญหาน้ำเสียในบ่อลงไปได้อย่างมาก
ในบ่อที่เลี้ยงปลาหนาแน่นมาก ถ้าหยุดการเลี้ยงสัตว์เกิน 5 วัน ควรจะหามูลสัตว์
ที่เก็บสำรองไว้ใส่ลงไปในบ่อบ้าง หรืออาจจะให้อาหารเสริม เช่น รำละเอียดหรือ
อาหารเม็ดสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้ปลาอดอาหาร ซึ่งจะเป็นผลให้ปลาอ่อนแอติดโรค
ได้ง่ายเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับการเลี้ยงไก่เนื้อบางราย เมื่อตกลง
ซื้อขายปลากับพ่อค้าแล้วก่อนการจับปลาประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มขุนปลาที่
เลี้ยงไว้โดยให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อเร่งให้ปลาสมบูรณ์
เมื่อถึงกำหนดวันจับปลา จะได้ปลาที่มีขนาดพอเหมาะ มีความสมบูรณ์สูง ได้น้ำหนัก
ขายได้ราคาดี เป็นที่พอใจของผู้ซื้อ คุ้มค่ากับการลงทุนที่ซื้ออาหารสำเร็จรูปมาเลี้ยง
การลากอวนจับปลาเพื่อนำผลผลิตออกจำหน่าย