ศัตรูและการป้องกันกำจัด
ศัตรูและการป้องกันกำจัด
1. แมลง เช่น มด ปลวก ไรเห็ด วิธีแก้ไขโดยใช้สารเคมีพวก
เซฟวินโรยรอบๆ กอง ห่างประมาณ 1 ศอก
อย่าโรยในกองทำประมาณ
1 สัปดาห์ ก่อนเริ่มกองเห็ดและควรจะโรยสารเคมีนี้ประมาณ 1 สัปดาห์
ก่อนที่จะเริ่มกองเห็ด
แต่อย่าโรยภายในกอง เพราะจะมีผลต่อการ
ออกดอก ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ดซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้กิน
2. เห็ดคู่แข่ง คือเห็ดที่เราไม่ได้เพาะแต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรค
อื่นๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่าง ๆ
วิธีแก้คือการเก็บ
ฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตื้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ
กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จาก
เนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม
เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหล
ลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกอง จึง
ทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้
ความ
เอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม
ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้น
ก็จะให้ดอกเห็ดได้
อีกด้วย
2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่
ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้
3. หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง
มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ
80 ซม. ทำแบบการเพาะ
เห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6-8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ด
ได้อีกมากพอสมควร
เก็บได้ประมาณ 10-15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้
หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วย
โดยแทบไม่ต้องผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็น
ปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียง
กับปุ๋ยอินทรีย์ที่ กทม.
ขายอยู่นั้นมาก
4. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟาง
ที่ได้จากการเพาะเห็ด
ไปเพาะเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ ก็ได้
5. การขุดดินตากแดด 1 สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20%
เพราะเห็ดเกิดบนดิน
รอบ ๆ ฟางได้
6. การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ 4 นับจากการเพาะ
เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำ
ให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น