นุ่นเป็นพันธ์ไม้ยืนต้นที่ให้ผลผลิตเส้นใยจากผลหรือฝัก สำหรับประเทศไทยผลผลิตส่วนใหญ่ใช้สนองความต้องการภายในประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนิยมปลูกไว้ใช้สอยในครัวเรือนตามหัวไร่ปลายนา ส่วนในภาคกลางและภาคใต้บางจังหวัด เช่น ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และนครศรีธรรมราช จะปลูกกันเป็นแบบการค้า ในแต่ละปีไทยจะผลิตนุ่นได้ประมาณ 35,000-40,000 ต้น ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น ปัจจุบันการผลิต นุ่นของไทยมีแนวโน้มลดลงเพราะเกษตรกรให้ความสำคัญน้อยลง หากไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง ในอนาคตคาดว่าไทยอาจต้องนำเข้านุ่นจากต่างประเทศ

ปุยนุ่น ทำไส้เบาะ ที่นอน หมอน ฯล
เมล็ด สกัดเป็นน้ำมันพืช กากที่เหลือใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
ไส้นุ่น ใช้เพาะเห็นฟาง
เนื้อไม้นุ่น ทำกระสวนทอผ้า เยื่อกระดาษ ส้นรองเท้า
ราก ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์

1. แยกตามลักษระการแตกกิ่ง
1.1 นุ่นทรงฉัตร แตกกิ่งและเจริญเติบโตในแนวระดับขนานกับพื้นดิน เติบโตเร็ว ลำต้นสูง มีการแตกกิ่งเป็นระยะ แต่ละระยะมี 2-3 กิ่
1.2 นุ่นทรงพุ่ม แตกกิ่งและกิ่งจะเจริญเป็นมุมแคบกับลำต้น หรือเกือบขนานกับลำต้น แตกกิ่งมาก และติดฝักตามกิ่งย่อยทำให้ติดฝักมากและกิ่งหักง่าย
2. แยกตามขนาดและความยาวของฝัก
2.1 นุ่นขนาดเล็ก ความยาวฝักต่ำกว่า 15 ซม. ฝักอ้วนป้อม แกนไส้ใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์ปุยน้อย จัดเป็นนุ่นพื้นเมือง พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นุ่นขี้นก นุ่นกระจิบ หรือนุ่นพวง
2.2 นุ่นขนาดกลาง ความยาวฝัก 15-24 ซม. มีทั้งทรงฉัตรและทรงพุ่มเปลือกบาง เปอร์เซ็นต์ปุยสูงปลูกมากในภาคกลาง มีกลุ่มพันธุ์ต่าง ๆ มากที่สุด เช่น นุ่นลำสี นุ่นตองต้น นุ่นพวง เป็นต้น
2.3 นุ่นขนาดใหญ่ ความยาวฝักตั้งแต่ 25 ซม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นนุ่นทรงพุ่ม จึงมีความยาวฝักประมาณ 40-50 ซม. ถ้าเป็นทรงฉัตร จะมีความยาว 30-40 ซม. พบมากในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากมีฝักขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก จึงทำให้กิ่งหักง่าย ฝักเสียหายมาก เช่น นุ่นเขมร นุ่นเกษตร นุ่นโตโก นุ่นญี่ปุ่น เป็นต้น