รา Pseudocercospora abelmoschi (Ell & Ev.) Deighton
ลักษณะอาการ มักจะเป็นกับต้นกระเจี๊ยบเขียวที่มีอายุตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ในระยะเริ่มแรกเชื้อราจะเข้าทำลายที่ใบล่างของลำต้น และจะลุกลามขึ้นไปสู่ยอดเมื่อพลิกด้านล่างของใบดูพบว่าจะมีเชื้อราสีขาวเป็นผงคล้ายแป้ง หรือถ้าระบาดรุนแรงจะมีสีเทาปนดำ ด้านหน้าใบจะเป็นแผลสีเหลืองปนน้ำตาล ต้นทรุดโทรมเร็ว ใบร่วงและแห้งตายในที่สุด กระเจี๊ยบเขียวไม่ติดฝักหรือติดฝักน้อย ไม่สมบูรณ์ คดงอ แคระแกร็น ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การแพร่ระบาด โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็วในปลายฤดูฝน โรคจะทวีความรุนรงมากขึ้น ในฤดูหนาวตามแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง เนื่องจากหมอกและน้ำค้าง เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมหหรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกระเจี๊ยบเขียว
การป้องกันกำจัด
1. เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทำลายเสีย ทั้งนี้รวมถึงเศษพืชที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดินด้วย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่กระจาย และเป็นการลดปริมาณของเชื้อราในแปลงปลูก
2. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มโปรปิแน็บ (propineb) เช่น แอนทราโคล (Antracol 70% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น เอซินแมก (Azinmag 80% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดมาก แต่ถ้าอาการของโรคลดลงควรพ่นให้ห่างออกไปเป็น 10-15 วันครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
โรคฝักจุดหรือฝักลาย (Pod spot) |  |
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
ลักษณะอาการ เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์จะแสดงอาการเมื่อกระเจี๊ยบเขียวเริ่ม