
ลักษณะทั่วไปเกี่ยวกับปทุมมาและกระเจียว
ปทุมมาและกระเจียวเป็นไม้หัวล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้าอยู่ในสกุลขมิ้น
(Curcuma) ของวงศ์ขิง (Zingiberaceae) พืชในสกุลนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 70 ชนิด โดยมีอยู่ใน
ประเทศไทยราว 30 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศ พืชสกุลนี้แบ่งเป็น 2 สกุลย่อยคือ
Eucurcuma ซึ่งมีกระเจียวเป็นตัวแทนที่รู้จักกันดีในด้านไม้ดอก จึงเรียกเป็นกลุ่มกระเจียว และ
Paracurcuma ซึ่งมีปทุมมาเป็นตัวแทนที่รู้จักกันดี ในด้านไม้ดอก จึงเรียกเป็นกลุ่มปทุมมา การ
จำแนกพืชสกุลขมิ้นนั้นปัจจุบันมีการศึกษาด้านอนุกรมวิธานน้อยมาก การกล่าวถึงไม้ดอกสกุลนี้
หลายชนิดจึงไม่สามารถระบุชื่อวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
พืชในสกุลนี้มีลำต้นเทียม (pseudostem) ซึ่งเกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบลำต้นเทียมนี้เกิดจากตาข้างของเหง้า ใบเป็นใบเดี่ยวอาจรูปหอกหรือรูปไข่
โดยอาจเห็นเส้นใบได้ชัดเจนในชนิดที่ใบเป็นคลื่น รากเป็นฝอยโดยมีรากจำนวนหนึ่งสะสมอาหารใกล้ปลายรากทำให้รากบวมเป็นตุ้มขนาดใหญ่สีขาวซึ่งบางคนเรียก milk stalk การออกดอกนั้นช่อดอกอาจเกิดโดยตรงจากเหง้าก่อนที่ลำต้นเทียมจะงอกขึ้นมา บางชนิดมีดอกและลำต้นเทียมงอกขึ้นมาพร้อม ๆ กัน และบางชนิดเกิดดอกที่ปลายยอดของลำต้นเทียม การออกดอกทั้ง 3 แบบ พบในพืชกลุ่มกระเจียว ส่วนพืชกลุ่มปทุมมาจะ