เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง ชนิดสูบโยก

 ส่วนประกอบและการทำงาน
 การพ่นยา
 การบำรุงรักษา
 ข้อขัดข้องและการแก้ไขเครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง
 สรุป

ส่วนประกอบและการทำงาน

เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก เป็นเครื่องพ่นยาขนาดเล็กที่นิยมใช้กันแพร่หลายแบบหนึ่ง (รูปที่ 1) เครื่องพ่นยาแบบนี้ประกอบด้วยถังน้ำยา ซึ่งวางตั้งบนพื้นได้ ทำให้การเทน้ำยาเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชลงไปในถังได้สะดวก อีกทั้งยังมีรูปร่างที่เหมาะสมสำหรับใช้สะพายหลังผู้ทีพ่นยา นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ปั้ม ห้องเก็บความดัน ก้านฉีดพร้อมมือบีบพ่นน้ำยา และหัวฉีด
ถังน้ำยาอาจจะทำมาจากสะเตนเลส ทองเหลือหรือเหล็กเคลือบสังกะสี แต่ในปัจจุบันถังที่ทำจากโลหะเหล่านี้มีราคาสูงขึ้น ความนิยมใช้จึงลดลงและเปลี่ยนไปใช้ถังที่ทำจากพลาสติกแทน ทั้งนี้เพราะเมื่อสะพายหลังแล้วรู้สึกสบายและเบากว่าถังที่ทำจากโลหะ ถังน้ำยาส่วนใหญ่มีความจุประมาณ 15 ลิตร และที่ด้านข้างถังจะมีขีดบอกระดับน้ำยาเป็นเครื่องหมายไว้ด้วย เมื่อบรรจุน้ำยาแล้วน้ำหนักรวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 20 กิโลกรัม ไม่เช่นนั้นแล้วผู้ใช้จะแยกน้ำหนักมากเกินไป

เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง ชนิดสูบโยก

โดยทั่วไปปากถังจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการเทน้ำยา หรือใช้มือล้วงลงไปทำความสะอาดภายในถัง นอกจากนั้นยังมีฝาที่ปิดปากถังได้สนิทไม่ให้น้ำยากระเด็นออกมากถูกหลังผู้ที่กำลังพ่นยา และมีตะแกรงกรองซึ่งเกี่ยวไว้กับปากถัง โดยยื่นลงไปภายในถังไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร สำหรับกรองสิ่งสกปรกที่อาจจะติดมากับน้ำยา
ปั้มที่ใช้เครื่องพ่นยาชนิดสูบโยกนี้มี 2 แบบ คือแบบลูกสูบ และแบบแผ่น (รูปที่ 2) แบบลูกสูบใช้กับหัวแดที่ต้องการความดันสูงเหมาะสำหรับพ่นยาฆ่าแมลงและยากำจัดเชื้อรา ส่วนแบบแผ่นนั้นนิยมใช้สำหรับนำยาที่มีตะกอนซึ่งอาจจะขูดข่วนทำความสึกหรอแก่ตัวปั้มได้ ปั้มนี้ต่อเข้ากับระบบกลไกของคันโยกซึ่งติดตั้งอยู่ด้านบนใกล้กับปากถัง หรือด้านล่างข้างพัง เวลาพ่นยาก็ใช้มือจับคันโยกและแขนจะต้องยกสูงอยู่ตลอดเวลา เครื่องพ่นยาที่ใช้คันโยกแบบนี้เหมาะสำหรับแถวพืชที่ไม่สูง และปลูกห่างกันพอควร เพราะเวลาโยก คันโยกจะได้ไม่ไปชนกับกิ่งหรือใบของพืชที่อยู่ในแถวข้างเคียง อย่างไรก็ตามเมื่อโยกคันโยกบ่อย ๆ ผู้พ่นยาจะรู้สึกชาและล้า เนื่องจากเลือดภายในร่างกายขึ้นไปหล่อเลี้ยงลำแขนไม่ทัน ดังนี้จึงมีการนิยมใช้เครื่องพ่นยาที่มีคันโยกติดอยู่ด้านล่างข้างถัง ซึ่งอยู่ในระดับเอวกันมาก โดยมีแบบให้เลือกใช้ทั้งชนิดที่มีคันดยกติดอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขาว แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้

เครื่องพ่นยาที่ใช้ปั้มแบบต่าง ๆ

การใช้คันโยกให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น เครื่องพ่นยาต้องแนบพอดีกับหลังของผู้พ่นยา ดังนั้นสายสะพายทั้งคู่จึงต้องแน่นพอดี สายสะพายที่ดีต้องปรับความยาวได้ และมีความกว้างพอที่จะแนบกับไหลโดยไม่สินไถลไปรัดคอ สายสะพายที่ทำจากผ้าทอจะดีกว่าในล่อนหรือพลาสติกเพราะไม่ลื่น โดยปกติปลายสายทั้งสองของสายสะพายหนึ่งควรจะยึดติดกับเครืองพ่นยา ถอดแยกออกจากกันไม่ได้แต่ปรับความยาวได้ ส่วนอีกสายหนึ่งนั้นควรจะแยกออกจากกันได้ตรงกลาง หรือมีตะขอติดไว้ที่ปลายสายเกี่ยวติดกับก้นถัง เพือความรวดเร็วในการถอดเอาเครื่องพ่นยาออกจากหลังในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
ในจังหวะแรกที่โยกคันโยกขึ้นขณะที่พ่นยานั้น ภายในห้องปัมจะเกิดสูญญากาศ ทำให้ลิ้นเปิด น้ำยาจะไหลผ่านลิ้นเข้าไปในห้องปัม เมือโยกคันโยกกลับลงไปในตำแหน่งเดิมน้ำยาในห้องปัมจะถูกดันผ่านลิ้นอีกตัวหนึ่งเข้าไปในห้องเก็บความดัน ลิ้นตัวแรกซึ่งอยู่ระหว่างปั้มกับถังจะปิดเพือปัองกันไม่ให้น้ำยาไหลกลับเข้าไปยังถังยา ในขณะเดียวกัน อากาศที่อยู่ภายในห้องเก็บความดันจูะถูกอัดโดยน้ำยาที่มาจากห้องปั้ม เมี่อผู้พ่นยาบีบมือบีบพ่นยา อากาศที่ถูกอัดนี้จะทำหน้าที่ดันน้ำยาออกจากห้องเก็บความดัน ผ่านท่อและหัวฉีดออกไปสู่ภายนอก เมื่อโยกคันโยกไปมาเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ น้ำยาก็จะถูกดันไปยังหัวฉีดได้สม่ำเสมอเช่นเดียวกัน
ส่าหรับลิ้นทั้งสองที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีทั้งแบบลูกปืนและแบบแผ่น บางคนนิยม ใช้แบบลูกปืนที่ทำขี้นด้วยสะแตนเลส แต่ถ้าลูกปืนสึกหรือมีสิ่งสกปรกเข้าไปติดจะทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำยา นอกจากนั้นลูกปืนยังหล่นหายง่ายในขณะที่ช่อมแซมในแปลงปลูก ส่วนลิ้นแบบแผ่นนั้นโดยมากทำจากยางหรือพลาสติก ซึ่งบางครั้งก็ทำปฎิกริยากับน้ำยาเกิดการบวมขึ้นทำให้ลิ้นติดขัดและขวางทางเดินของน้ำยา
เครืองพ่นยาบางเครื่องอาจจะมีใบพายต่อกับคันโยกอยู่ภายในถัง เพือทำหน้าที่กวนน้ำยาและสูบโยก หรือไม่ก็อาจจะมีน้ำยาส่วนหนึ่งถูกดันกลับเข้าไปภายในถัง ทำให้น้ำยาหมุนวนเกิดการกวนขึ้น ซึ่งการกวนนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในกรณีที่ใช้กับสารเคมีที่ตกตะกอนง่ายเมื่อผสมกับน้ำ
เครื่องพ่นยาแบบนี้บางเครื้องมีห้องเก็บความดันและปั้มติดตั้งอยู่ภายนอกถังน้ำยาทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการช่อมแชมและบำรุงรักษา แต่ก็มีข้อเสยคือเมื่อเครื่องพ่นยาตกลงกระแทกพื้นจะทำให้ห้องเก็บความดันและปั้มแตกหักได้ง่า
โดยทั่ว ๆ ไปก้านฉีด 1 ก้าน จะมีหัวฉีด 1 หัว แต่ก็อาจจะมี 2 หัวหรือมากกว่าได้ และถ้าต้องการก้านฉีดยาว ๆ เพื่อใช้พ่นต้นไม้สูง ๆ ก็อาจจะใช้ท่อต่อออกไปได้ ส่วนที่มือบีบปล่อยน้ำยานั้น เครื่องพ่นยาบางเครื่องจะติดตั้งกระเดื่องส่าหรับล๊อคมือบีบไว้ ผู้พ่นยาไม่จำเป็นต้องบีบตลอดเวลาขณะพ่นยา
ก่อนใช้งาน ผุ้พ่นยาจำเป็นต้องโยกคันโยกไปมาหลาย ๆ ครั้ง โดยที่ยังไม่พ่นยา ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความดันขึ้นภายในห้องเก็บความดันก่อน แต่หลังจากใช้มือบีบพ่นยาออกมาแล้ว ผุ้พ่นยาต้องทำการโยกค้นโยกขึ้นลงเป็นจังหวะคงที่ เพื่อทำให้ละอองยาที่ถูกพ่นออกมากระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ

การพ่นยา

1. การปฎิบัติก่อนการพ่นยา

การปฏิบัติก่อนการพ่นยา

การปฏิบัติก่อนการพ่นยา

2. วิธีการพ่นยา

วิธีการพ่นยา

3. การปฏิบัติหลังการพ่นยา

วิธีปฏิบัติหลังการพ่นยา

การบำรุงรักษา

เนื่องจากยากำจัดศัตรูพืชมีราคาแพง ดังนั้นการบำรุง่รักษาเครื่องพ่นยาจึงมีความส่าคัญมาก ทั้งนี้เพราะถ้าเครื่องพ่นยาอยู่ในสภาพดีอยู่ตลอดเวลา ขณะที่พ่นยาละอองยาทุก ๆ เม็ดจะพุ่งเข้าสู่เป้าหมายตามส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ต้องการ โดยเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด การบำรุงรักษาที่สำคัญอันดับแรกคือการทำความสะอาด และตรวจสอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องพ่นยาเป็นประจำไม่ควรจะให้ความสนใจเฉพาะในกรณีที่ชิ้นส่วน เกิดรั่วหรือแตกหักเท่านั้น อย่าลืมว่า การป้องกันดีกว่าการแก้ไข การบำรุงรักษาที่ดีคือการป้องกัน ดังนั้น ถ้าหากว่าสามารถเปลี่ยนหรือซ่อมแชมชิ้นส่วนที่สึกหรอได้ทันก่อนที่จะแตกหัก ก็จะไม่ทำให้ชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเสียหายตามมา
สิ่งสกปรกที่แปลกปลอมเข้าไป ส่วนหนี่งอาจจะมาจากน้ำที่ใช้ผสมกับสารเคมี ถ้าเป็นน้ำที่มาจากแม่น้ำ ลำคลอง ก็อาจจะมีตะกอนสิ่งสกปรกติดมา ซึ่งสามารถเข้าไปอุดตันหัวฉีดได้ ถ้าตะกอนนั้นไปเกาะอยู่กับลิ้น ลูกสูบหรือส่วนที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ส่วนนั้นก็จะสึกหรอเร็วกว่าปกติ เพราะฉะนั้นขอให้ระวังพยายามใช้น้ำที่สะอาดผสมยาเสมอ
การล้างด้วยน้ำหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละน้อย ๆ ด้วยน้ำสะอาดดีกว่าใส่น้ำเต็มถัง แล้วล้างทิ้งเพียงครั้งเดียว หรืออาจจะใช้แอมโมเนียเจือจาง จำนวน 10 มิลลิลิตรผสมกับน้ำ 5 ลิตร เพื่อล้างก็ได้ แต่เครื่องพ่นยานั้นต้องไม่มีชิ้นส่วนที่ทำมาจากทองเหลือง
การถอดหัวฉีดออกทุก ๆ ชิ้นเพื่อล้างทำความสะอาดก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอยู่ เป็นประจำ ในกรณีที่หัวฉีดเกิดอุดตันขณะพ่นยา ถ้าเป็นไปได้ไห้ถอดเปลี่ยนใช้หัวฉีดหัวใหม่ที่สำรองไว้ หลังจากเสร็จงานแล้วจึงนำหัวฉีดเก่ากลับไปตรวจทำความสะอาดนอกแปลง ถ้าไม่มีหัวฉีดใหม่สำรองไว้ก็ต้องมีน้ำสะอาดอยู่ในแปลงเพื่อที่จะล้างได้ ถ้ายังไม่ออกให้ใช้วิธีเคาะช่วยเพียงเบาๆ อย่าใช้ปากเป่าเป็นอันขาด เข็ม ตะปู หรือลวดก็ไม่ควรใช้แยงรูหัวฉีด เพราะจะทำให้เกิดความเสยหายได้
เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก เป็นเครื่องมือที่ใช้กันแพร่หลายในการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และนับวันจะมีการใช้กันมากขึ้น เกษตรกรที่รู้จักส่วนประกอบและการทำงานของเครื่องมือชนิดนี้ย่อมได้เปรียบในการเลือกชื้อ และได้เครื่องพ่นยา ที่ดีมีประสิทธิภาพ ส่วนวิธีการพ่นยา การบำรุงรักษาที่ดี ตลอดจนการแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องพ่นยานั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นส่าหรับการใช้เครื่องให้ได้ผลดีและให้ได้นานที่สุด

ข้อขัดข้องและการแก้ไขเครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง

ข้อขัดข้องของเครื่องพ่นยา การแก้ไข
ไม่มีละอองยา
ถ้าโยกคันโยกไม่ลง รู้สึกติดขัดแม้ว่าจะบีบพ่นยาแล้วก็ตาม แสดงว่าหัวฉีดอุดตัน ให้ทำความสะอาดก่อน และตรวจสอบลิ้นปิดเปิดที่มือบีบพ่นยาด้วย ถ้าสกปรกก็ให้ทำความสะอาด ถ้าฉีกขาดก็ให้เปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าโยกคันโยกขึ้นลงได้โดยไม่ติดขัดให้ตรวจสอบระดับน้ำยาในถัง อาจจะต้องเติมน้ำยาลงไปอีก ระบบกลไกคันโยกที่ต่อไปยังปั้มก้ต้องแน่น ตรวจสอบคันโยกขณะโยก ลูกสูบหรือแผ่นหนังต้องเคลื่อนที่ไปพร้อมกัน
ไม่ดูดน้ำยา
ตรวจสอบระดับน้ำยาในถัง ลิ้นดูดและลิ้นส่งต้องไม่ติดขัด รวมทั้งช่องทางเดินของน้ำยาด้วย ถ้าเป็นปั้มแบบลูกสูบ ลูกสูบต้องไม่ฉีกขาด
ไม่มีความดัน
ตรวจสอบระดับน้ำยาในถัง ทดลองโยกคันโยกดูหลาย ๆ ครั้ง และสังเกตที่ผิวน้ำยาในถัง ถ้าเห็นฟองอากาศพุ่งขึ้นมาแสดงว่าห้องเก็บความดันรั่ว ในกรณีที่ห้องเก็บความดันเป็นแบบขันติดกับตัวปั้ม ให้ตรวจสอบซีลหรือประเก็น ถ้าจำเป็นก็ต้องเปลี่ยนใหม่ หลังจากนั้นก็ตรวจลิ้นทั้งสองอย่าใช้ลิ้นที่ฉีกขาดหรือสึกหรอ สำหรับช่องทางเดินน้ำยา เข้าและออกลิ้นนั้น ก็ต้องไม่สึกหรอด้วย สิ่งที่สำคัญอีก ประการหนึ่งคือรูอากาศที่ผ่าต้องไม่ตัน ถ้าเกิดตันขึ้นมาภายในถังน้ำยาจะเกิดสูญญากาศขึ้น
ความดันตกเร็ว
ตรวจสอบรูรั่วในห้องเก็บความดัน โดยสังเกตจากฟองอากาศที่พุ่งขึ้นมาบนผิวน้ำ
น้ำยารั่วไหล
ถ้าปั้มติดตั้งอยู่ด้านนอกถังน้ำยา ข้อต่อน้ำยาระหว่างปั้มกับถึงอาจจะรั่ว หรือไม่ก็อาจจะมีรอยแตกร้าวที่ถังยา อย่างไรก็ตาม อย่าลืมปิดฝาถังให้แน่นเสียก่อน

สรุป

เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก เป็นเครื่องมือที่ใช้กันแพร่หลายในการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และนับวันจะมีการใช้กันมากขึ้น เกษตรกรที่รู้จักส่วนประกอบและการทำงานของเครื่องมือชนิดนี้ย่อมได้เปรียบในการเลือกซื้อ และได้เครื่องพ่นยาที่มีประสิทธิภาพ ส่วนวิธีการพ่นยา การบำรุงรักษาที่ดี ตลอดจนการแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องพ่นยานั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการใช้เครื่องให้ได้ผลดีและให้ได้นานที่สุด