1. ขนาดพื้นที่ที่จะปลูกข้าวไว้ทำพันธุ์ ขึ้นอยู่กับปริมาณ
พันธุ์ข้าวที่จะปลูกในที่นาทั้งหมด โดยใช้อัตราส่วนดังนี้ คือ พื้นที่
แปลงพันธุ์ 1 ไร่ต่อพื้นที่ปลูกประมาณ 50 ไร่
2. การเตรียมแปลงกล้า ควรกำจัดข้าวเรื้อที่เกิดจาก
เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นตกค้างในแปลงนาโดยการไถพรวน แล้วปล่อย
น้ำให้ข้าวเรื้องอก จากนั้นไถคราดกำจัดข้าวเรื้อออกให้หมด โดย
แปลงนาที่ปลูกข้าวพันธุ์ดีนั้น ควรจะปลูกพันธุ์เดิมซ้ำทุกๆปี
3. การเตรียมแปลงปักดำ ควรมีการกำจัดข้าวเรื้อ
เช่นเดียวกับแปลงกล้า และทำการปักดำข้าวกอละ 3 ต้น ระยะ
ห่างประมาณ 25 เซนติเมตร และเว้นระยะระหว่างพันธุ์ 1 เมตร
หรือคนละกระทงนา มีการใส่ปุ๋ยบำรุง ได้แก่ สูตร 16-20-0 หรือ
16-16-8 อย่างน้อยไร่ละ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่
4. การกำจัดข้าวปน ควรทำ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรก
ระยะแตกกอ โดยดูจากลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูง
สีของใบและต้น ถ้าพบต้นที่ผิดปกติ ควรตัดกอหรือต้นข้าวนั้นทิ้ง
ครั้งที่ 2 ระยะออกดอกให้ตัดกอข้าวหรือต้นข้าวที่ออกดอก
ผิดเวลากับต้นข้างเคียง ครั้งที่ 3 ระยะข้าวส่วนใหญ่สุกเหลืองให้
ตัดข้าวที่มีลักษณะเมล็ดผิดปกติทิ้งไป
5. เก็บเกี่ยวข้าวทันทีที่เมล็ดสุกจัด แล้วนำไปนวดทันที
ไม่ควรตากฟ่อนข้าวทิ้งไว้ในแปลงนา เพราะอาจจะถูกฝนทำให้
เมล็ดข้าวเสื่อมคุณภาพได้
6. การนวดข้าว-การตากข้าว ควรแยกข้าวขาวดอกมะลิ
105 ออกจากข้าวพันธุ์อื่นๆ เมื่อตากแดดแห้งดีแล้วฝัดให้สะอาด
และบรรจุลงกระสอบเก็บไว้ในที่ร่มแห้งและเย็น
การเก็บเกี่ยว
1. เก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ ระยะที่ข้าว
ออกดอกแล้วประมาณ 30-35 วัน โดยรวงจะโน้มลง เมล็ดใน
รวงมีสีฟางหรือเหลือง โคนรวงมีเมล็ดเขียวบ้างเล็กน้อย ซึ่งเรียกว่า
ระยะพลึบพลึง เป็นระยะที่เมล็ดข้าวสุกแก่พอเหมาะ ทำให้ได้
น้ำหนักเมล็ดสูง เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ด ปริมาณมากและมีbr> คุณภาพการสีดี
2. วิธีการเก็บเกี่ยว ก่อนถึงระยะเก็บเกี่ยว 10 วัน
ควรระบายน้ำออกจากแปลงนาเพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน ส่วนวิธี
การเก็บเกี่ยวนั้น สามารถทำได้ทั้งการเกี่ยวด้วยมือ และใช้เครื่อง
มือเก็บเกี่ยว ซึ่งจะให้ข้าวที่มีคุณภาพไม่แตกต่างกัน แต่ถ้ามีการ
ปรับเครื่องจักรไม่เหมาะสมกับการทำงานอาจจะทำให้เกี่ยวไม่หมด
ข้าวร่วงหล่นหรือเมล็ดแตกหักได้
การตากข้าว
เป็นการลดความชื้นในเมล็ดข้าวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
คือ 12-14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อนำไปสีแล้วจะทำให้ได้คุณภาพ
การสีสูง และสามารถเก็บข้าวเปลือกไว้ได้นาน ซึ่งการตากข้าวมี
2 วิธีคือ
1. การตากข้าวก่อนนวด เป็นการตากข้าวในขณะที่
เมล็ดยังอยู่ในรวง โดยการตากจะต้องคำนึงถึงคุณภาพข้าวที่ตาก
เป็นสำคัญ โดยทำให้ได้ความชื้นพอเหมาะและข้าวมีความสะอาด
ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
- ควรตากข้าวประมาณ 2-3 แดด
- การกองข้าวควรกองให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร
- หมั่นกลับกองข้าวเพื่อให้แห้งสม่ำเสมอทั้งกอง
- ในช่วงเวลากลางคืน ควรหาวัสดุปิดบังน้ำค้างหรือ
น้ำฝน โดยเฉพาะกองข้าวที่กองสูง ๆ หรือกองตากแดดทิ้งไว้นาน ๆ
เพราะจะทำให้เมล็ดมีรอยร้าว และข้าวตากหักมากเวลานำไปสี
- วิธีตากข้าวที่เหมาะสมที่สุด คือ ทำราวแขวนตาก
เพราะจะทำให้ข้าวถูกแดดสม่ำเสมอและไม่สกปรก
2. การตากข้าวหลังนวด เป็นการตากข้าวที่นวดออกจาก
รวงแล้ว โดยตากบนลานตากหรือบนพื้นที่มีวัสดุรองรับ การตาก
ควรมีการกลับกองข้าวอย่างสม่ำเสมอและในช่วงเวลากลางคืน
ควรโกยข้าวมากองรวมกันแล้วใช้ภาชนะปิดกันน้ำค้างและฝน
การตากวิธีนี้จะใช้เวลาตากประมาณ 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณข้าว
การนวดข้าว
เป้นการทำให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ
แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ เช่น การนวดด้วยเท้า ใช้กระบือย่ำ
นวดโดยการฟาดโดยใช้รถแทรกเตอร์ย่ำ และนวดด้วยเครื่องนวดข้าว
ซึ่งการนวดข้าวนั้นมีข้อควรคำนึง คือ ควรระมัดระวังการสูญเสีย
ของข้าวเนื่องจากนวดไม่หมดหรือเมล็ดกระเด็นหายไป หรือ
ถูกเครื่องนวดพ่นเอาเมล็ดดีออกไป เป็นต้น ซึ่งหากไม่ได้ใช้
เครื่องนวดจะต้องมีการทำความสะอาดเมล็ดข้าวเปลือกด้วย เพื่อลด
สิ่งเจือปนที่ติดมากับข้าว
การเก็บรักษา มีข้อควารปฏิบัติ ดังนี้
1. เมล็ดจะต้องสะอาดปราศจากสิ่งเจือปน ไม่เป็นแหล่ง
เพาะเชื้อโรคและแมลงศัตรู
2. เมล็ดแห้ง มีความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
3. ยุ้งฉางจะต้องสะอาด มีตาข่ายป้องกันนก หนู และ
ศัตรอื่นๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีหลังคาปิดกันแดดและฝน
4. ถ้าเก็บรักษาโดยการบรรจุกระสอบ ควรใช้ไม้รอง
กระสอบให้สูงจากพื้นประมาณ 5-6 นิ้ว เพื่อป้องกันความชื้นจาก
พื้นดินหรือซีเมนต์