


1. ด้วงปีกแข็งเจาะลำต้น
ลักษณะการทำลาย เจาะกินภายในลำต้น และกัดกินเปลือกอ่อนระหว่างเนื้อไม้กับเปลือกแข็ง ที่เปลือกของลำต้นจะมีลักษณะเป็นน้ำฟูเยิ้มออกมา
วิธป้องกันกำจัด ใช้สำลีชุบสารฆ่าแมลงพวกกเมธิล พาราไธออนและมาลาไธออน อัดเข้าไปในรู แล้วใช้ดินเหนียวอุด
2. แมลงกัดกินใบ
ลักษณะการทำลาย จะเข้าทำลายในขณะต้นสะตอแตกใบอ่อน โดยจะกัดกินจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้การเจริญเติบโตช้าลง
การป้องกันกำจัด
- ตัดและเก็บรวบรวมกิ่งที่ถูกแมลงกัดกินใบจนโกร่นออกไปทำลาย เพราะอาจมีไข่แมลงติดอยู่ด้วย
- ในช่วงที่สะตอแตกใบอ่อน ควรพ่นสาร คาร์บาริล ชนิดผง อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณต้นที่มียอดอ่อน
แมลงสิง
ลักษณะการทำลาย ตัวแก่ของแมลงสิงจะใช้ปากซึ่งเป็นงวงยาวแทงและดูดน้ำเลี้ยงจากฝักอ่อนของสะตอ ทำให้ฝักไม่มีเมล็ด ดูภายนอกจะเป็นสีน้ำตาลหรือดำ จะพบระบาดในช่วงเดือนกรกฎาคม ทำให้ฝักสะตอเสียหาย
การป้องกันกำจัด
- ใช้สวิงจับตัวแก่ ตามฝักสะตออ่อนทำลายทิ้งเสีย ในขณะที่ต้นยังไม่สูงมาก
- ตัวแก่ชอบกินเนื้อเน่า ควรนำเนื้อเน่าใส่ถุงแขวนไว้ในสวนสะตอแล้วจับตัวแก่มาทำลายเสีย
- พ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ในระยะที่สะตอยังเป็นฝักอ่อน โดยใช้โมโนโครโตฟอส อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือตอนเย็นเพราะตัวแก่มักบินมาทำลายในระยะอากาศค่อนข้างเย็น
4. ปลวก
ลักษณะการทำลาย จะสร้างรังบริเวณโคนต้นในขณะที่ยังเล็กอยู่แล้วเข้าไปกัดกินรากอ่อนของสะตอ ทำให้การเจริญเติบโตช้าลง
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เฮปตาคลอร์ ผสมน้ำตามอัตราแนะนำข้างฉลาก ราดบริเวณจอมปลวก โดยทำให้เป็นรูที่รังปลวกก่อนแล้วจึงราดสารเคมี