ศัตรูธรรมชาติ คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชและสัตว์อื่น ๆ เป็นตัวสาเหตุทำให้เกิดการตายของพืชหรือสัตว์นั้น ได้แก่ ตัวห้ำ (PREDATORS) ตัวเบียน (PARASITES) และเชื้อโรค (PATHOGENS)

ตัวห้ำ
ตัวเบียน
เชื้อโรค
ด้วงดิน (ตัวห้ำ)
ด้วงเต่าสีส้ม (ตัวห้ำ)
มวนเพชฌฆาต (ตัวห้ำ)
แตนเบียนโครทีเซีย (ตัวเบียน)
แตนเบียนตริคโคแกรมม่า (ตัวเบียน)
แตนเบียนเทเลโนมัส (ตัวเบียน)
นิวเคลีย โพลีไฮโดซิส (เชื้อโรค)
เมททาริเซียม (เชื้อโรค)
วิธีสำราจศัตรูอ้อยและศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย



ตัวห้ำ คือ สัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่กินสัตว์อื่นหรือเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าและอ่อนแอกว่าเป็นอาหาร ตัวห้ำจะกินเหยื่อได้หลายชนิด และสามารถกินทุกระยะการเจริญเติบโตของเหยื่อ คือ ไข่ ตัวอ่อนหรือตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย


ตัวเบียน คือ สัตว์หรือแมลงขนาดเล็กที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเกาะกินอยู่บนหรือในสัตว์อื่น ๆ และทำให้สัตว์ที่อยู่อาศัยอ่อนแอและตายในที่สุด


เชื้อโรค คือ จุลินทรีย์หรือเชื้อสาเหตุที่มีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตบนสัตว์อาศัย ทำให้สัตว์อาศัยเป็นโรคและตายในที่สุด ศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย




ลักษณะตัวมีแถบสีดำน้ำเงินมีจุดสีขาว 2 จุด ที่ด้านหลังทั้ง 2 ข้าง ลักษณะการทำลายเหยื่อกัดกินหนอนห่อใบ




ลักษณะตัวยาว 4 มม. ตัวสีเหลืองส้ม ไม่มีลวดลาย ลักษณะการทำลายจะกัดกินเหยื่อที่เคลื่อนไหวช้า




ลักษณะตัวยาว 23-25 มม. ตัวสีดำ ส่วนหัวแคบ คอยาว ปีกส่วนบนสีดำ ส่วนกลางสีเหลือง และปลายปีกสีน้ำตาล ลักษณะการทำลายเหยื่อโดยใช้ปากแหลมคมเหมือนเข็มแทงแล้วปล่อยน้ำพิษ ทำให้เหยื่อไม่สามารถเคลื่อนไหวได้และตายในที่สุด


ลักษณะตัวยาว 2.3 มม. ตัวสีดำ หนวดสีน้ำตาล ขาสีเหลืองอ่อน ลักษณะการทำลายเหยื่อโดยตัวเมียวางไข่ในตัวหนอนมากกว่า 10 ฟอง เมื่อตัวอ่อนแตนเบียนฟักออกมาก็จะกัดกินอยู่ภายในตัวหนอนจนหนอนตาย


ลักษณะตัวเล็กมากยาว 0.4 มม. หนวดเป็นรูปกระบองมีขนสั้น ๆ ตัวสีน้ำตาลเหลืองขุ่น ตาสีแดง ลักษณะการทำลายเหยื่อ โดยการวางไข่ฝากตัวอ่อนไว้ในกลุ่มไข่หนอนกออ้อย เมื่อกลุ่มไข่ฟักออกมาก็จะเป็นตัวแตนเบียนแทนหนอนกอ


ลักษณะตัวสีดำ มีขนาดเล็ก 2-3 มม. แตนเบียนวางไข่ได้ 20-40 ฟอง และมีชีวิตอยู่ได้ 2-4 วัน ลักษณะการทำลายแตนเบียนจะวางไข่เข้าไปในไข่ผีเสื้อหนอนกอเมื่อตัวอ่อนแตนเบียนฟักออกมาก็จะกัดกินอยู่ภายในตัวหนอนจนหนอนตาย


เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ทำลายหนอนกระทู้และหนอนชนิดต่าง ๆ ตัวหนอนที่ถูกทำลายจะเป็นสีดำและห้อยหัวลงมาเป็นรูปตัววีหัวกลับ
เมื่อเชื้อไวรัสถูกหนอนกินเข้าไป และกระจายอยู่ในตัวหนอนมากแล้ว หนอนจะไม่เคลื่อนไหว ไม่กินอาหาร และลำตัวเปลี่ยนเป็นสีขาว (ภาพซ้าย)
เมื่อตายจะเปลี่ยนเป็นสีดำหัวห้อยลงมาโดยใช้ขาเทียมยึดติดกับใบพืช ของเหลวที่เยิ้มออกมาจากตัวหนอนจะมีเชื้อไวรัสอยู่และติดตามใบพืชทำให้เกิดโรคกับหนอนตัวอื่นที่กินเข้าไป (ภาพขวา)


เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะเป็นเส้นใยพืชสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อสปอร์ของเชื้อรานี้ตกลงบนตัวแมลง มันจะเจริญงอกงามเข้าไปในตัวแมลง โดยเข้าไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ของแมลงศัตรูอ้อยจนตายในที่สุด



1. ใช้สวิงโฉบตัวห้ำหรือตัวเบียนขนาดโต และสำราจจำพวกเชื้อโรคด้วยสายตา
2. ใช้เครื่องดูดแมลงตัวห้ำและตัวเบียนขนาดเล็ก
3. เก็บตัวอย่างศัตรูอ้อยทุกระยะ คือ กลุ่มไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยมาตรวจสอบว่ามีการทำลายของแตนเบียนหรือไม่