1. การให้น้ำ
ในระยะที่ปลูกส้มโอใหม่ ๆ ต้องหมั่นให้น้ำสม่ำเสมอจนกว่าจะตั้งตัวได้ เมื่อส้มโอเจริญเติบโตดีแล้ว ให้น้ำเป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น

2. การใส่ปุ๋ย
ส้มโอควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกควบคู่กันไป ในระยะที่ส้มโออายุ 1 - 3 ปี หรือยังไม่ให้ผล ให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15 - 15 - 15 ปุ๋ยเคมีใช้อัตรา 300-500 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยใส่ 3 - 4 ครั้ง/ปี เมื่อส้มโอให้ผลแล้วเมื่อ อายุ 4 ปีขึ้นไป การใส่ปุ๋ยจะแตกต่างกันไปตามช่วงของการ ออกดอกติดผล กล่าวคือ หลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วจะให้ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 เพื่อให้ต้นส้มโอฟื้นตัวจากการออกผลเร็วขึ้น เมื่อส้มโอจะเริ่มออกดอกใหม่ให้เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือ 12 - 24 - 12 เพื่อช่วยให้มีการสร้างดอกดีขึ้น เมื่อติดผล แล้วประมาณ 30 วัน ขณะที่ผลยังเล็กอยู่ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 เพื่อช่วยให้การเจริญเติบโตของผลดีขึ้น จนกระทั่ง ผลมีอายุได้ 5-6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 เพื่อช่วยให้ ผลมีการพัฒนาด้านคุณภาพของเนื้อดีขึ้น มีความหวานมากขึ้น ส่วนอัตราการใช้ควรพิจารณาจากขนาดของทรงพุ่มและ จำนวนผลที่ติดในแต่ละปี โดยทั่วไปเมื่อต้นส้มโออายุได้ 6-7 ปี ก็จะโตเต็มที่ การใส่ปุ๋ยอาจจะใส่ครั้งละประมาณ 1 กิโลกรัม สำหรับต้นส้มโอที่มีการติดผลมาก ควรใส่ปุ๋ยทางใบเสริม เพื่อช่วยให้ผลส้มโอมีคุณภาพดี หรือต้นส้มโอที่มีสภาพโทรม มาก ๆ จากการที่มีน้ำท่วมหรือน้ำเค็มควรให้ปุ๋ยทางใบเสริมจะ ช่วยให้การฟื้นตัวของต้นส้.มโอเร็วขึ้น

วิธีการใส่ปุ๋ยโรยบนพื้นดินภายในบริเวณทรงพุ่ม แต่ระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ซิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือก รอบโคนต้นส้มโอเน่า และอาจทำให้ส้มโอตายได้

3. การตัดแต่งกิ่ง
ควรตัดแต่งกิ่งที่ขึ้นแข่งกับลำต้นให้หมด รวมทั้งกิ่ง ที่ไม่ได้ระเบียบ กิ่งที่มีโรคแมลงทำลายออกทิ้ง การตัดแต่งกิ่งควร ทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้กิ่งฉีก หลังจากตัดแต่งกิ่งควรใช้ ยากันเชื้อราหรือปูนกินหมากผสมน้ำทาตรงรอยแผลที่ตัด เพื่อกันแผลเน่าเนื่องจากเชื้อรา เดษที่เหลือจากการตัดแต่งกิ่ง ควรรวมไว้เป็นกองแล้วนำไปเผาทำลายนอกสวน

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง
  1. เพื่อให้การออกดอกติดผลดีขึ้น เนื่องจากใบได้รับ แสงแดดทั่วถึงกัน การปรุงอาหารของใบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. ช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งที่มีโรคแมลงทิ้งไป
  3. ช่วยให้กิ่งแย่งอาหารลดน้อยลง เพราะกิ่งนี้ ชาวสวนต้องตัดทิ้งจะเป็นกิ่งที่คอยแย่งอาหารและไม่ค่อยออก ดอกติดผล
  4. ช่วยทำให้ขนาดของผลส้มสมสม่ำเเสมอได้ขนาดตามที่ ตลาดต้องการ

4. การกำจัดวัชพืช
ในสวนส้มโอทุกแห่งมักจะมีปัญหาจากวัชพืชที่ขั้นรบกวน ถ้ามีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียหาย เพราะนอกจากจะแย่งน้ำและอาหารแล้วังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงอีกด้วย จึงต้องคอยควบคุมอย่าให้มีวัชพืชมาก แต่การกำจัดหญ้าหรือวัชพืชอื่นให้หมดไปเลยก็ไม่ดีควรให้มีเหลืออยู่บ้างจะช่วยยึดดินไม่ให้หน้าดินพังทลาย รวมทั้งช่วยป้องกันกายระเหยของน้ำได้อีกด้วย ่