เนื่องจากสวนส้มโอส่วนมากที่อยู่ในภาคกลางมักจะทำ สวนกันด้วยการยกร่อง เมื่อถึงฤดูแล้งมักจะประสบปัญหาน้ำเค็ม เอ่อเข้าท่วมสวนอยู่มาก สวนส้มโอจึงมักจะได้รับความเสียหาย จากน้ำเค็มเป็นประจำ จึงควรทำการปีองกันน้ำเค็มและน้ำเสีย ไม่ให้เข้าทำลายส้มโอดังนี้

  1. เมื่อเข้าฤดูแล้งให้รีบกักน้ำจืดไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่ น้ำเค็มหรือน้ำเสียจะเข้าถึงแล้วสร้างทำนบคันดินรอบสวน เพื่อกันน้ำเค็มเข้า และหมั่นตรวจดินทำนบกั้นน้ำและประตู ระบายน้ำ (ลูกท่อ) อย่าให้รั่วซึมได้
  2. รดน้ำให้ส้มโออย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มี น้ำจืดใช้อย่างพอเพียงในข่วงที่น้ำเค็มเข้าถึง
  3. ขุดลอกท้องร่องหรือโกยเลนจากท้องร่องเพื่อนำมา คลุมผิวดินบนอกร่อง รวมทั้งหากาบมะพร้าว ใบกล้วย ฟางข้าว เคษไม้ หญ้าแห้ง มาคลุมบริเวณโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ในดินเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำลง
  4. เก็บจอกแหน เศษใบไม้ ผลมะพร้าว ที่ร่วงหล่นอยู่ ในน้ำในท้องร่องสวนขึ้นไว้บนอกร่องให้หมด เพื่อปัองกันน้ำใน ท้องร่องเน่าเสีย
  5. หมั่นตรวจน้ำในคูคลองส่งน้ำบ่อย ๆ หากมีน้ำจืด เข้าเป็นครั้งคราวให้รีบสูบหรือปล่อยน้ำเข้าสวน เพื่อเก็บกัก น้ำไว้
  6. หมั่นตรวจดูน้ำจืดในบริเวณสวนที่เก็บกักไว้เสมอ โดยการชิมดูว่ามีรสกร่อยหรือเค็ม หรือมีสีสรรผิดจากปกติ ที่เป็นอยู่หรือไม่ หากมีแสดงว่าคันดินกั้นน้ำหรือประตูระบายน้ำ รั่วซึม ให้รบทำการซ่อมแซมเสีย
  7. หมั่นตรวจดูอาการของส้มโอในสวนอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใบอ่อนเริ่มเหี่ยวเฉา ไหม้เกรียม เป็นอาการแรกเริ่มของส้มโอที่ถูกน้ำเค็มหรือน้ำเสีย ให้รีบแก้ไข โดยหาน้ำจืดมารดให้ชุ่มโชก เพื่อลดปริมาณความเค็มหรือ น้ำเสียให้เจือจางลง