การปอกเปลือกส้มโอที่พบเห็นกันอยู่โดยทั่วไป
มักจะใช้มีดกรีดผลจากขั้วผลลงมา 5-6 รอย แล้วจึงลอกเอา
เปลือกออก โดยใช้นิ้วมือสอดไประหว่างเปลือกและกลีบผล
วิธีนี้จะทำให้ต่อมน้ำมันที่เปลือกแตกเลอะมือ เมื่อลอกเอาเนื้อ
ออก บางส่วนของเนื้อจะติดกับน้ำมันของเปลือกที่ติดมืออยู่
ทำให้มีกลิ่นเหม็นและเสียรสชาติไป จึงขอแนะนำวิธีการ
ปอกเปลือกส้มโอให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี ดังนี้
- ใช้มีดปอกส่วนของเปลือกที่เป็นสีเขียวออกจนหมด
- ลอกเปลือกสีขาว ซึ่งจะทำให้ลอกออกได้ง่ายและไม่
มีกลิ่นของน้ำมันที่ผิวเปลือกติดออกมา
- เมื่อเหลือแต่เปลือกหุ้มกลีบ จึงลอกเอาเปลือกหุ้ม
ออกทีละกลีบจะได้เนื้อที่เป็นกลีบสวยงามและมีรสชาติดี
กองอาหาร กรมอนามัยได้ท้าการวิเคราะห์หา
ปริมาณธาตุอาหารจากเนื้อส้มโอ 100 กรัม มีดังนี้
ความชื้น | 81.0 กรัม
|
ความร้อน | 61.0 หน่วย
|
ไขมัน | 0.2 กรัม
|
ดาร์ไบไฮเดรท | 17.8 กรัม
|
เยื่อใย | 0.6 กรัม
|
โปรตีน | 0.5 กรัม
|
แคลเชี่ยม | 21.0 มิลลิกรัม
|
ฟอสฟอรัส | 18.0 มิลลิกรัม
|
เหล็ก | 0.5 มิลลิกรัม
|
ไวตามิน เอ | 10 หน่วย
|
ไวตามิน บี 1 | 0.02 มิลลิกรัม
|
ไวตามิน บี 2 | 0.01 มิลลิกรัม
|
ไวตามิน ซี | 58.0 มิลลิกรัม
|