ส้มโอเป็นพืชที่มีโรคแมลงรบกวนมาก ชาวสวนจึงต้อง ให้ความสนใจในการป้องกันกำจัดโรคแมลงให้ดีที่สุด

มวนเขียว
หนอนชอนใบ
หนอนฝีเสื้อกินใบ
ด้วงงวงกัดกินใบ
ผีเสื้อมวนหวาน
หนอนกินลูก
หนอนมวนใบส้ม
หนอนเจาะกิ่งส้ม
เพลี้ยอ่อนสีเขียว
ไรแดงส้ม
เพลี้ยแป้งส้ม
เพลี้ยไฟส้ม

1. มวนเขียว
ระบาดมากที่สุดในตอนต้นฤดูฝนทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลที่ยังอ่อนอยู่ทำให้ผลส้มร่วงหล่นก่อนกำหนด นอกจากนั้นยังเป็นทางทำให้เชื้อราและแบคทีเรียระบาดทั่วไปตามกิ่งและก้านได้อีก

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้สวิงจับตัวแก่มาทำลาย
  2. ใช้กำมะถัน 2 กระป๋อง ผสมขี้เลื่อยเฉลี่ย 3-4 ปี๊ป กองไว้ในสวนแล้วจุดไฟเป่าให้มีควันอยู่เสมอจะช่วยป้องกัน และไล่มวนเขียวได้
  3. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่นโมโนใครโตฟอ


2. หนอนชอนใบ

หนอนผีเสื้อชนิดนี้จะทำลายเฉพาะ ใบอ่อน ทำให้ใบงอผิดรปเดิม ใบที่ถูกทำลายจากการเจาะจะมีรอยวกไปเวียนมา ผิวใบจะเป็นฝ้าขาวแห้ง และร่วงหล่น ส่วนใบแก่จะไม่ถูกทำลาย หนอนจะเลือกกินส่วนผิวที่มีสีเขียวของใบอ่อนทำให้ใบหงิกงอ เป็นฝ้าขาวแห้ง จะทำให้การเจริญเติบโต หยุดชงัก บางครั้งจะเกาะกิ่งอ่อนของส้มด้วย นอกจากนี้ยังเป็น ทางทำให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้าทำลายได้อีก เซ่น ช่วยเป็น พาหนะในการระบาดของโรคขี้กลาก (โรคแดงเกอร์) อีกด้วย

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้มือจับหนอนทำลาย และตัดใบที่ถูกหนอนทำลายมาเผาไฟทิ้ง ในกรณีที่เป็นสวนส้มขนาดเล็ก
  2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมีเช่น ใดเมทโซเอท ผสมเฟนวาลีเรท อัตรา 4:1 ฉีดพ่นในระยะที่ส้มแตกใบอ่อนให้ ทั่วถึงตลอดทั้งลำต้นจึงจะได้ผล


3. หนอนผีเสื้อกินใบ

เป็นหนอนผีเสื้อกลางวันชนิดหนึ่งซึ่งวางไข่ไว้ตามใบอ่อนของส้ม หนอนจะกัดกินใบอ่อนจนถึงแกน ทำให้ใบร่วง โดยเฉพาะต้นกล้าจะได้รับความเสียหายมาก นอกจากนี้หนอนยังทำลายพวกกิ่งที่มีผลทำให้ผลร่วงได้ง่าย

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้มือจับหนอนและดักแด้มาทำลายในเมื่อยัง ไม่ระบาดมากนัก
  2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โมโนใครใตฟอส หรือ เอนโดซัลแฟน หรือ เมทธามิโดฟอ
  3. ในสภาพธรรมขาติมีแมลงวันก้นขนเป็นศัตรู ธรรมชาติ ในระยะดักแด้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการพ่นสารเคมี เมื่อต้นส้มไม่มียอดอ่อน และเมื่อพบว่าดักแด้ถูกศัตรูธรรมชาติ เข้าทำลาย


4. ด้วงงวงกัดกินใบ

ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้จะกัดกินใบทำให้ใบแหว่ง หรือเป็นรูพรุน ถ้ามีมากจะกัดกินใบจนเหลือแต่กิ่ง

การป้องกันกำจัด

  1. เขย่ากิ่งเพื่อให้ด้วงล่วงลงมา แล้วนำไปทำลาย
  2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทธามิโดฟอส หรือ ดาร์บารีล ฉีดพ่นในระยะที่ส้มโอแตกใบอ่อน


5. ผีเสื้อมวนหวาน

เป็นผีเสื้อกลางคืนที่ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ชาวสวนส้มโอเป็นอย่างมากในปีหนึ่ง ๆ โดยการดูดกินน้ำหวานของผลส้มโอที่เริ่มแก่ถึงแก่จัด ผีเสื้อชนิดนี้จะใช้ปากแทงเข้าไปในผลส้มโอ ทำให้บริเวณที่แทงเน่า ต่อมาจะร่วงหล่นไปก่อนกำหนดแก่ ส้มที่ได้รับความเสียหายจากผีเสื้อ ชนิดนี้อาจลังเกตได้จากน้ำที่ไหลออกมาจากรูของผล

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้กับดักไฟฟ้าที่มีกำลังแรงเทียนสูง ล่อให้เข้ามาเล่นไฟ
  2. ใช้สวิงจับผีเสื้อ
  3. การรมควันหรือใช้ยาพวกไล่แมลง
  4. ใช้พวกเหยื่อพิษที่บรรจุขวดหรือกระถางดินเผาแขวนไว้ที่ก้นผลไม้ก่อนที่ผลไม้จะแก่ประมาณ 1 เดือน ต้องคอยเปลี่ยนเหยื่อพิษทุกสัปดาห์
  5. ใช้สารเคมีฉีดพ่นในระยะที่กำลังเป็นตัวหนอนอยู่จะช่วยลดความเสียหายลงได้บ้าง
  6. ทำกรงดัก โดยใช้ผลไม้สุกเป็นเหยี่อล่อให้ผีเสื้อมวนหวานมาติดกรง


6. หนอนกินลูก

ในระยะที่เป็นหนอน จะชอนไชเข้าไปในผลอ่อน ทำให้ผลเหี่ยวเน่าและร่วงหล่น

การป้องกันกำจัด

  1. นำก้มที่ถูกทำลายไปฝังหรือเผา
  2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดาร์บารีล ให้ทั่วเพื่อกำจัดหนอนที่ปักออกจากไข่ใหม่ๆ เมื่อหนอนเจาะเข้าไป ในผลส้มแล้วการกำจัดจะไม่ได้ผลเลย


7. หนอนมวนใบส้ม

หนอนผีเสื้อขนิดนี้จะวางไข่บนใบส้ม ตัวหนอนจะกัดกินใบส้มและม้วนใบทำเป็นรังอาศัยอยู่ซึ่งจะทำให้ส้มมีผลผลิตลดน้อยลง

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้มือจับหนอนและดักแด้อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนมาทำลาย
  2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทธามิโดฟอ


8. หนอนเจาะกิ่งส้ม

หนอนจะเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ตามกิ่งและลำต้นที่ปากรูจะเห็นเป็นขุย ๆ บางครั้งจะทำให้มียางไหลเยิ้มออกมา กิ่งส้มที่ถูกเจาะจะแห้ง ต้นส้มไม่เจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด

  1. ตรวจดูตามกิ่งและลำต้นส้ม ถ้าพบตัวหนอนและตัวแกให้รบทำลาย
  2. ในกรณีของกิ่งส้มเล็กที่ถูกทำลายให้ตัดเผาไฟ
  3. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดคลอร์วาสฉีดเข้าไปในรูที่หนอนเจาะแล้วเอาดินเหนียวอุดรูไว้


9. เพลี้ยอ่อนสีเขียว

เพลี้ยอ่อนชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อน ซึ่งมีผลทำให้ใบนั้นหยิกและงอต้นแคระแกรน การเจริญเติบโตหยุดชงัก เพลี้ยอ่อนจะขับสาร ออกมาจากร่างกายเป็นน้ำหวาน ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะในการเจริญเติบโตของราดำที่กิ่งและใบอีกด้วย

การป้องกันกำจัด

  1. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอ
  2. ไข้ยาฉุน 1 กิโลกรัม น้ำ 60 ลิตร สบู่ 180 กรัมแช่ยาฉุนไว้ 1 คืน หรือต้มให้เดือด 1 ชั่วโมงครึ่ง ผสมน้ำและสบู่ตามจำนวนฉีดพ่นให้ถูกตัวเพลี้ยอ่อน


10. ไรแดงส้ม

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไรแดงส้มชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ผล และกิ่งอ่อนของต้นส้มซึ่งจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายนั้นเห็นเป็นจุดสีอ่อนๆ ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ ขยายตัวออกไปทั่วจนมีสีเทาหรือสีตะกั่ว ในกรณีที่พบระบาดมากๆ ก็จะทำให้ใบและผลร่วงหล่นได้ และอาจจะทำให้ผลที่ถูกทำลายมีลักษณะแคระแกรนและคุณภาพเสื่อมลงมักระบาดมากในฤดูแล้ง

การป้องกันกำจัด

  1. พ่นด้วยกำมุะถันผงละลายน้ำ อัตรา 4 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ควรพ่นในเวลาเข้าเพื่อป้องกันใบไหม้
  2. ฉีดด้วยสารเคมี เช่น โปรปาไจท
  3. ฉีดด้วยน้ำธรรมดาโดยใช้เครื่องฉีดที่มีความดันสูง


11. เพลี้ยแป้งส้ม

เพลี้ยแป้งส้มชนิดนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากกิ่งใบและผลส้ม ซึ่งจะทำให้ผลส้มร่วงก่อนแก่ตามกำหนด และจะเป็นทางทำให้เกิดราดำคลุมทั่วไป ตามกิ่งของต้น

การป้องกันกำจัด

  1. ฉีดพ่นด้วยยาจำพวก ไวท์ออย ผสมกับ มาลาไธออ
  2. กำจัดมดซึ่งเป็นพาหะของเพลี้ยแป้ง


12. เพลี้ยไฟส้ม

เพลี้ยไฟจะเจาะเข้าไปในผิวใบและดูดกินน้ำเลี้ยงของใบส้ม ผลที่ยังอ่อนเพลี้ยไฟจะเจาะตรงส่วนที่ อยู่ใกล้กับกลีบดอกเมื่อผลโตขึ้นก็จะเจาะบริเวณใกล้เคียงกับขั้วทำให้บริเวณที่ถูกเจาะนั้นมีรอยเป็นสะเก็ดสีเทา ส่วนใบที่ถูก ทำลายนั้นก็จะแคระแกรนและหงิกงอ นอกจากใบและผลแล้วเพลี้ยไฟยังทำลายกิ่งอ่อนและดอกอีกด้วย

การป้องกันกำจัด

  1. ฉีดพ่นคัวยยานิโครตินซัลเฟต เข้มข้น 0.05%
  2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท , คาร์บารีล หรือ ดาร์โบชัลแฟน ในระยะที่ระบาดมาก ๆ ประมาณ 7-10 วัน ต่อครั้ง





โรคยางไหล
โรคโคนเน่าและรากเน่า
โรคใบแก้ว
โรคแคงเกอร์
โรคแสค๊ป
โรคราสีชมพู
โรคจุดสนิม
โรคราดำ






1. โรคยางไหล

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา อาการที่แสดงให้ เห็นคือ มีน้ำเหลวสีน้ำตาลไหลออกมา หรือเกาะติดตามกิ่งและ ลำต้น มีแผลเล็กๆ อยู่ตรงส่วนที่ยางไหลออกมา เริ่มแรกจะ เห็นเป็นจุดวงสีน้ำตาล ต่อมาจุดนี้จะลามออกไปเป็นแผลใหญ่ๆ มีน้ำยางสีน้ำตา.ลไหลออกมามากมายหรือรอบกิ่ง หรือเกาะเหนียวอยู่ตามกิ่งและ ลำต้น ถ้าต้นที่โตแล้วเป็นมากจะสังเกตเห็นว่าใบเริ่มเหลืองเล็กและหลุดร่วงไป ต้นแสดงอาการทรุดโทรม ผลเล็ก ยอดแห้ง ในที่สุดต้นก็จะตาย

การป้องกันกำจัด

  1. ถ้าพบอาการเป็นแผลและยางไหลออกมาให้รีบเฉือนเปลือกไม้ส่วนที่เป็นแผลออกให้หมด ทาแผลรวมทั้งรดดินบริเวณโคนต้นด้วยสารเคมี เข่น ฟอสเอทธีล อี
  2. อย่าให้น้ำขังหรือท่วมบริเวณต้นส้มโอเป็นเวลานานๆ ควรทำการระบายน้ำอย่าให้ขังหรือชื้นแฉะ
  3. ส้มที่ตายแล้วหรือส่วนของส้มที่ตัดทิ้งนำมารวมกันเผาทำลาย


2. โรคโคนเน่าและรากเน่า

โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกันกับโรคยางไหลมักจะเกิดบริเวณโคนต้นใกล้ผิวดิน เริ่มจากเปลือกจะเป็นจุดๆ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเน่า เปลือกอ่อนหลุดออกมาได้ง่าย ถ้าอากาศชื้นทิ้งไว้ 1 - 2 วัน จะเห็นเส้นใยของราฟูขาวขึ้นมา อาการเน่าจะลุกลาม ออกไป เปลือกที่เน่าจะมียางสีน้ำตาลไหลออกมา เมื่อเน่ารอบ โคนต้นส้มจะตาย อาการที่รากจะเป็นเช่นเดียวกับที่โคนต้น ในระยะนี้ใบจะเหลืองซีดร่วงหล่น กิ่งเริ่มแห้ง และตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด

การป้องกันกำจัดให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับโรคยางไหล


3. โรคใบแก้ว

โรคนี้อาจจะเกิดจากการขาดธาตุอาหารหรือเชื้อมายโคพลาสมา อย่างใดอย่างหนึ่งจะพบมาก หลังจากที่ต้นส้มโอให้ผลไปแล้ว 2 - 3 ปี ส้มให้ผลดกมากเกินไป อาการที่พบบนใบจะทำให้ใบเล็กลง ใบมีสีเหลือง ใบชี้ปลายใบค่อนข้างเรียวแหลม โดยเฉพาะใบแก่จะแสดงอาการเหลืองเป็นจ้ำ ๆ ก่อนที่ส้มจะปรากฏอาการของโรคบนใบรุนแรงนั้น ส้มจะอยู่ในลักษณะงามเต็มที่ออกดอกมาก ถ้าอาการรุนแรงผลจะร่วงมากผิดปกติ อาการอีกชนิดหนึ่งคือส้มโอให้ผลผลิตสูงโดยตลอดติดต่อกัน 2-3 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เริ่มทรุดโทรมและแห้งตายไปในที่สุด

การป้องกันกำจัด

  1. ฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท เพื่อป้องกัน แมลงพาหะ ฉีดเมื่อส้มเริ่มแตกใบใหม่
  2. อย่าปล่อยให้ต้นติดผลมากจนเกินควร ถ้าออกผลมากควรปลิดทิ้งให้เหลือพอเหมาะกับขนาดของต้น
  3. หลังเก็บผลแล้วควรตัดกิ่งและบำรุงดินให้อยู่ ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะควรไข้ปุ๋ยอินทรีย์ไห้มาก เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกตามด้วยปุ๋ยเคมี
  4. การปลูกส้มโอทดแทนหรือเริ่มทำสวนส้มใหม่ ๆ ควรแน่ใจว่าใช้ต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค
  5. เมื่อพบว่าต้นใดเป็นโรคใบแก้ว ควรตัดกิ่งที่เป็นทิ้ง ถ้าเป็นทั้งต้นให้ขุดไปเผาไฟทำลาย


4. โรคแคงเกอร์

โรคนี้มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดในระยะที่ใบอ่อนและผลที่ยังอ่อน แรก ๆ จะเห็นเป็นจุดใส ๆ ขนาดเล็กเท่ากับหัวเข็มหมุดสีขาวหรือเหลืองอ่อน กระจายอยู่ทั่วไป ต่อมาจะยายโตขึ้นนูนทั้งด้านบนและด้านล่างใบ แผลจะกลายเป็นสีเหลือง ภายในแผลมีลักษณะขรุขระ ถ้าเป็นมากจะทำให้ใบร่วง บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่กิ่งจะเป็นแผลตกสะเก็ดที่เปลือก ากจะทำให้ใบร่วง บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่ กิ่งจะเป็นแผลตกสะเก็ดที่เปลือก ถ้าเป็นมากทำให้กิ่งตายได้

การป้องกันกำจัด

  1. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมื่อมีนนอนชอนใบระบาดเพราะหนอนทำให้ใบและกิ่งเป็นแผล เชื้อโรคระบาดเข้าไปได้ เนื่องจากหนอนชอนใบเป็นพาหะ
  2. กิ่งที่จะนำไปปลูกใหม่ต้องปราศจากโรค
  3. ตัดกิ่งที่เป็นรุนแรงมากไปเผาทำลาย
  4. ตัดแต่งกิ่งภายในทรงต้นให้โปร่ง
  5. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรค เช่น สเตรปโตมัยซิน 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และใช้คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ร่วมกับ ยากำจัดหนอชอนใบ


5. โรคแสค๊ป

โรคนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เป็นได้ทุกระยะ อาการจะเป็นแผลนูนๆ กลีน้ำตาลที่ใบหรือที่ด้านใต้ของผลจะเป็นรอยบุ๋ม แผลมักจะติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้ใบบิดเบี้ยว บางทีมียางไหลออกมา

การป้องกันกำจัด

  1. ฉีดพ่นด้วยการเคมี เข่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด
  2. ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย


6. โรคราสีชมพู

เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งอาการ เริ่มแรกจะ.ปรากฏภายในเปลือกของกิ่ง จะเป็นจุดช้ำเล็ก ๆ สีน้ำตาล ต่อมาแผลจะรุกรามถึงกันทำให้กิ่งแห้งตาย จะเห็น สีชมพูของราตรงส่วนที่แห้งคล้ายกับเอาปูนแดงไปป้ายไว้ กิ่งที่เป็นโรคจะมีใบเหี่ยวและร่วง

การป้องกันกำจัด

  1. ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่อง ได้ทั่วถึง
  2. ถ้าเป็นมากๆ ให้ตัดกิ่งที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย
  3. ฉีดพ่น ด้วยสารเคมี เช่นคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด


7. โรคจุดสนิม

เกิดจากสาหร่ายชนิดหนึ่ง อาการจะพบตามกิ่งใบและผลระบาดมากในฤดูฝนจะเห็นเป็นจุดกลม สีเขียวหรือแดงคล้ายกำมะหยี่ขี้นอยู่บนใบ ขนาดไม่แน่นอน ถ้าเกิดบนกิ่งจะทำให้กิ่งแตก ใบที่อยู่บนกิ่งนั้นจะเขียวซีดกิ่งแห้งตาย บนผลจะทำให้เนื้อเยื่อนูนผิดปกติ ผิวเปลือกแตกออก

การป้องกันกำจัด

  1. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่นเดียวกับโรคแสค๊
  2. ตัด กิ่ง ใบ และผล ที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย


8. โรคราดำ

เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักพบในสภาพที่มีหมอกลงจัด อากาศชื้นจะมีเชื้อราขึ้นตามใบและผลเป็นสีดำ ถ้าเป็นมากจะคลุมใบไม่ให้ได้รับแสงแดด ต้นส้มจะไม่งามเท่าที่ควร ถ้าเป็นที่ผลจะทำให้ผลร่วง โดยเฉพาะผลอ่อน

การป้องกันกำจัด

  1. ฉีดพ่นน้ำที่ใบและกิ่งเพื่อชะล้างเชื้อราโดยตรง
  2. ฉีดพ่นสารเคมีปีองกันเชื้อราเป็นครั้งคราว
  3. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงปากดูดที่มาเกาะกินใบและถ่ายมูลทิ้งไว้ ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราอย่างดี สารเคมีที่ใช้ เช่นไดเมทโธเอ