
1.การให้น้ำ
ในระยะปลูกใหม่ หากฝนไม่ตก จำเป็นต้องรดน้ำทุก 1-2 วัน ประมาณ 1 สัปดาห์ จนกว่าจะตั้งตัวได้ จากนั้น จึงเว้นช่วงเวลาการรดน้ำ ให้ห่างกว่าเดิมอาจจะเป็น 3 หรือ 7 วันต่อครั้งเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ของปีแรก
2.การกำจัดวัชพืช
ในระยะที่ต้นยังเล็กอยู ่จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชเป็นระยะไป อย่าให้วัชพืชแย่งน้ำ และอาหารได้ การทำความสะอาดรอบโคนต้น นอกจะเป็นการกำจัดวัชพืชแล้วยังสามารถทำลายแหล่งอาศัยของ โรคแมลงได้ด้วย
3.การใส่ปุ๋ย
สำหรับมะขามต้นเล็ก ยังไม่ออกผล อายุ 1-3 ปี ควรให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 450 กรัมต่อต้น (ประมาณ 1 กระป๋องนม) ในปีแรกแบ่งใส่ 3 ครั้ง (4 เดือนต่อครั้ง) จำนวน 100,150,200 กรัม ตามละดับ สำหรับปีต่อๆไป ให้เพิ่มปุ๋ยมากขึ้นตามจำนวนอายุที่มากขึ้น เมื่อมะขามตกผลแล้ว ควรใส่ปุ๋ย
สูตร 13-13-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฝนและปลายฝน ซึ่งจะช่วยให้มีการติดผลมากขึ้นอัตราที่ใส่คำนวณจากสูตรดังนี้
เช่นต้นมะขามอายุ 2 ปี ต้องใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 จำนวน 2/2 = 1 กก. โดยแบ่งใส่ต้นฝน 1/2 กก. และปลายฝนอีก 1/2 กก. รวมเป็น 1 กก.</font>
การเก็บเกี่ยว
มะขามเปรี้ยวจะแก่ ่และสามารถเก็บเกี่ยวได้ใช้ช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของปีถัดไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งปลูกและสภาพดินฟ้าอากาศด้วย การเก็บเกี่ยวควรใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ตัดที่ขั้วให้ หลุดออกจากกิ่ง ถ้ามะขามต้นโตให้ใช้บันไดขึ้นเก็บเกี่ยวฝักที่อยู่สูง
หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วนำฝักมะขามเปรี้ยวมาแกะเอาเปลือกและเมล็ดออกจากนั้นนำเนื้อมะขาม ที่แกะได้เรียกว่า มะขามเปียก บรรจุลงในภาชนะต่างๆ เช่น ถุงพลาสติก หรือ เข่ง เพื่อจำหน่ายต่อไป
สำหรับวิธีการเก็บรักษามะขามเปียกไว้นานๆ เพื่อจะนำมาจำหน่ายในช่วงที่มีราคาสูง โดยที่เนื้อมะขาม ไม่เปลี่ยนเป็นสีคล้ำทำได้โดย การนำมะขามเปียกที่บรรจุในภาชนะ ไปเก็บไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิต่ำ คือ 5 อาศาเซลเซียส ซึ่งสามารถชะลอการเกิดสีดำของเนื้อมะขามได้ประมาณ 10 เดือน
การดูแลรักษาต้นมะขามหลังการเก็บเกี่ยว
หลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวแล้ว ให้ทำการตัดแต่งกิ่งมะขามเปรี้ยว โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งที่เป็นโรคหรือมีแมลงทำลาย หรือกิ่งที่ถูกตัดออก และให้ใช้สีน้ำพลาสติกหรือยาป้ายกันราทาที่รอยแผล เพื่อป้องกันราที่จะเกิดขึ้นภายหลัง สำหรับกิ่งที่ถูกตัดออก ควรรีบนำออกจากแปลงมะขามเปรี้ยวไปทิ้ง หรือทำลายที่อื่น โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค หรือแมลง ควรรีบทำลายโดยการนำไปเผาทิ้ง เพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคหรือแมลง





















