ลักษณะอาการ
โรคนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันเช่นอาจเรียกว่า โรคใบและลำต้นจุด หรืออาจเรียก โรคใบจุด หรือโรคลำต้นไหม้ โดยโรคนี้สามารถเข้าทำลายทานตะวันได้ทุกระยะตั้งแต่เป็นต้นกล้าถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยจะสามารถสังเกตอาการไดัดังนี้
-ใบ จะพบแผลสีน้ำตาลเข้ม ถ้าพืชมีอายุน้อยจะพบบริเวณสีเหลืองล้อมรอบแผล มักพบอาการที่บริเวณใบแก่ (ใบล่าง) มากกว่าใบอ่อน (ใบส่วนบน) ถ้าสภาพอากาศเหมาะสม เช่น ฝนตก อากาศชื้น จะทำให้แผลขยายใหญ่ไหม้ลุกลามติดกัน ทำให้ใบแห้งตาย
-ลำต้น แผลที่ลำต้นมักจะบุ๋มลึกลงไปและทำให้ลำต้นเกิดรอยแตกแยกตรงกลางแผนเหล่านั้น
-ก้านใบ จะทำให้ก้านใบหักพับเสียหาย
-ระยะออกดอก ทำให้กลีบดอกเกิดจุดแผลกลมเล็ก ฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลเข้ม ซึ่งต่อมาแผลจะขยายยาวเป็นรูปกระสวย ทำให้กลีบดอกเน่าและร่วงก่อนกำหนด
-ฐานรองดอก จะเกิดเป็นจุดแผลมีลักษณะทั้งค่อนข้างกลมและรีแผลเหล่านี้จะบุ๋มลึกลงไปในเซลล์พืช ทำให้เกิดอาการเน่าสีน้ำตาลเข้มไปทั้งจานดอก รวมทั้งเมล็ดจะเกิดเป็นโรค เมล็ดเน่าหรือจานดอกเน่า
การป้องกันกำจัด
1. ควรจัดเลือกเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่เก็บเกี่ยวได้จากต้นแม่พันธุ์ที่ไม่เป็นโรค เพื่อนำไปใช้ทำเป็นเมล็ดพันธุ์ปลูก
2. ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนปลูกทุกครั้ง เช่น แคปแทน, อิโพรไดออน, อิมาซาลิล อัตราสารออกฤทธิ์ประมาณ 0.2% ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
3. ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอยกับพืช และอย่าปลูกให้ระยะแน่นเกินไป
4. ถ้าหากสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรค ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราทุก 7-20 วันควบคู่ไปด้วย สารเคมีที่ใช้ได้ผลดีหรืออิโพรไดออน, อิมาซาลิล และแมนโคเซบ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยในการใช้ให้ใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งใน 2 ชนิดแรกผสมกับแมนโคเซบ หรือแยกฉีดพ่นสลับกันไปแต่ละชนิดจะให้ผลดีในการลดความรุนแรงของโรคได้

ลักษณะอาการ
พบว่ามีการเข้าทำลายทานตะวันได้ทุกระยะ และจะพบมากกับต้นที่โตเต็มที่มากกว่าต้นอ่อน หากดินมีความชื้นสูงโรคจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ระบบรากถูกทำลายจนกระทั่งเหี่ยวแห้งตาย เชื้อโรคนี้มีการแพร่ระบาดทางดินเป็นหลัก ดังนั้นจึงพบการเข้าทำลายตามบริเวณรากและโคนต้น โดยโรคทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเน่าแห้งเป็นสีดำและเนื้อเยื่อยุบตัวลง ใบเหลืองจะแสดงอาการเหี่ยวก่อนที่จะตายไปทั้งต้น หากสังเกตบริเวณโคนต้นจะมีเส้นใยสีขาวหบายเจริญแทรกอยู่ระหว่างอณูของดินแล้วลุกลามไปจับตามรากเมื่อถอนต้นที่เป็นโรคขึ้นมารากจะหลุดแยกออกจากโคนต้น และเห็นรอยเน่าลงไปถึงรากได้ชัดเจน
การป้องกันกำจัด
1. เมื่อทำการเก็บเกี่ยวแล้วควรไถกลบหน้าดินให้ลึก
2. ควรปลูกพืชหมุนเวียนที่ทนทานต่อเชื้อราชนิดนี้ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
3. ปลูกทานตะวันให้มีระยะเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดร่มเงาครึ้มตามบริเวณโคนต้น และจะช่วยให้มีลมพัดผ่านระหว่างต้นพืชทำให้ผิวดินแห้งยากต่อการติดเชื้อ นอกจากนี้โอกาสที่จะแพร่ไปสู่ต้นอื่นก็ยากขึ้นด้วย
4. ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก่อนปลูก เพื่อป้องกันการเข้าทำลายระยะต้นอ่อน


ลักษณะอาการ
หนอนจะกัดกินบริเวณจานดอกมากกว่าส่วนของใบ โดยจะกัดกินกลีบดอกกลีบเลี้ยงทำให้ไม่มีกลีบดอกสีเหลืองในการช่วยดึงดูดแมลง เช่น ผึ้งมาผสมเกสรจึงทำให้การติดเมล็ดลดลงและมีเมล็ดลีบมากขึ้น นอกจากนั้นหนอนยังกัดกินส่วนของเมล็ดด้วย ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก


การป้องกันจำกัด
1. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกทานตะวันตามหลังพืชที่เป็นอาหารของหนอนเจาะสมอฝ้ายเช่น ฝ้ายหรือข้าวโพด หากจำเป็นต้องปลูกควรทำการไถกลบเศษซากพืชให้ลึกก่อนปลูก
2. ควรหมั่นตรวจดูแลไร่ทานตะวันอยู่เสมอ หากพบว่ามีแมลงศัตรูธรรมชาติไม่ควรฉีดพ่นสารเคมี
3. เมื่อมีความจำเป็น ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีดังต่อไปนี้ ซิฮาโลตรินแอล, ไตรอะโซฟอส, โคลปิไรฟอส อย่างใดอย่างหนึ่ง

ลักษณะอาการ
หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและแทะกินเฉพาะผิวใบพืช เหลือไว้แต่เส้นใบเมื่อผิวใบแห้งแล้วจะเห็นเป็นสีขาว ๆ สังเกตได้ง่ายมาก ซึ่งเป็นลักษณะการเริ่มทำลายของหนอนกระทู้ผัก และเมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินใบพืชได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบขาดเป็นรู ๆ ทั่วทั้งต้น นอกจากนั้นยังพบว่าหนอนชอบทำลายส่วนของกลีบดอกและใบเลี้ยง ทำให้ไม่เป็นที่ดึงดูดของแมลงช่วยผสมเกสร เป็นผลทำให้เมล็ดลงลงและเมื่อทานตะวันติดเมล็ดแล้วหนอนวัยโตจะเจาะกินเมล็ดในจานดอกอีกด้วยหนอนกระทู้ผักนี้มักจะหลบลงดินหาที่ซ่อนตัวในเวลากลางวัน
การป้องกันกำจัด
1. ควรหมั่นตรวจดูแลไร่อยู่เสมอ ถ้าพบลักษณะการทำลายของหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ซึ่งยังรวมกันเป็นกลุ่มก็ให้เก็บทำลายเสีย
2. ควรทำความสะอาดแปลงและพรวนดิน เพื่อทำลายวัชพืชและดักแด้ของหนอนชนิดนี้ซึ่งอาศัยอยู่ในดิน
3. เมื่อพบว่าใบถูกทำลายประมาณ 50% ในระยะออกดอกและติดเมล็ด ควรพ่นด้วยสารกำจัดแมลงดังต่อไปนี้ ไตรโซฟอส, ซิฮาโลตริน แอลเมธามิโดฟอส หรือ เอนโตซัลแฟน อย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวข้างต้นมีพิษร้ายแรง จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

ลักษณะอาการ
ถ้ามีระบาดในระยะต้นกล้าจะทำให้ต้นกล้าตายได้ แต่ถ้าระบาดในระยะที่พืชโตแล้วจนถึงระยะออกดอก จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง หนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มโดยชักใยบาง ๆ คลุมตัวไว้แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจึงกระจายตัวกันออกไปเพื่อหาม้วนใบพืชหรือชักใยดึงเอาหลาย ๆ ใบมาห่อรวมกัน แล้วอาศัยกินอยู่ในใบที่ม้วนนั้นจนเหลือแต่เส้นใบ เสร็จแล้วหนอนก็จะเคลื่อนย้ายไปม้วนใบอื่นต่อไปนอกจากนั้นยังทำลายตากิ่งหรือตาดอกอีกด้วย
การป้องกันกำจัด
1. เมื่อพบว่ามีหนอนอาศัยกัดกินใบที่ม้วนนั้น ปริมาณไม่มากนักก็ให้เก็บทำลายเสีย
2. เมื่อตรวจพบว่ามีการทำลายมากจำเป็นต้องใช้สารเคมีก็ให้ใช้สารเคมีเช่นเดียวกับหนอนเจาะสมอฝ้าย

ลักษณะอาการ
โดยหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดจะเจาะเข้าทำลายลำต้นทานตะวันตั้งแต่ยังไม่ออกดอก หนอนชนิดนี้จะเจาะทำลายตั้งแต่ 1-5 รูต่อต้น ทำให้จานดอกเล็กลง ในระยะออกดอกติดเมล็ดจะพบเข้าทำลายบริเวณใกล้ ๆ กับจานดอกทำให้ก้านดอกหัก หรือเจาะทำลายส่วนหลังของจานดอกโดยตรงทำให้ดอกไม่ติดเมล็ดและจานดอกเน่าเสียหายมาก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง
การป้องกันกำจัด
1. การปลูกทานตะวันตามหลังข้าวโพดควรเก็บทำลายเศษซากต้นข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยและระบาดของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
2. ใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมประชากรของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดหรือถ้าสำรวจพบกลุ่มไข่ของหนอนผีเส้นชนิดนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่ม ๆ ละ ประมาณ 20-30 ฟอง วางซ้อนเรียงกันคล้ายเกล็ดปลา ผิวเรียบเป็นมัน จำนวน 15 กลุ่มต่อ 100 ต้นให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดแมลง ซัลโปรฟอส, เดลตาเมทริน, ไตรฟลูมูรอน ฯล