แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. พันธุ์สำหรับปลูกขายตลาดสด
ซึ่งแบ่งออกได้ตามขนาดผลและการใช้ควรมีลักษณะดังนี้
1.1 พันธุ์ผลโต นิยมใช้ทำสลัดและประดับจานอาหาร เช่น พันธุ์ฟลอราเดล และมาสเตอร์เบอร์ 3 เป็นต้น
มีลักษณะดังนี้คือ
มีผลทรงกลมแบบแอปเปิล
สีผลเขียว มีไหล่เขียว สุกแดงจัด
มีจำนวนช่องในผลมาก ไม่กลวง
รสดี เนื้อหนาแข็ง เปลือกไม่เหนียว
1.2 พันธุ์ลูกเล็ก นิยมใช้ประกอบอาหารพื้นบ้าน ได้แก่ พันธุ์สีดา, ห้างฉัตร มีลักษณะดังนี้
ผลเล็ก
สีชมพู นิยมมากกว่าแดง
รสเปรี้ยว ไม่ขื่น
2. พันธุ์สำหรับส่งโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่พันธุ์ วี เอฟ 134-1-2, พี 502, พี 600 เป็นต้น ควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เป็นพันธุ์ที่สุกพร้อมกันเป็นส่วนใหญ่
2.2 ขั้วผลควรหลุดจากผลได้ง่ายเมื่อปลิดผล
2.3 ผลสุกมีสีแดงจัดตลอดผล
2.4 ไส้กลางของผลสั้น เล็กและไม่แข็งแรง
2.5 เนื้อมาก น้ำน้อย มีปริมาณกรดสูง
2.6 ผลแน่น แข็ง เปลอกหนาและเหนียว สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกล ๆ และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสีย
ฤดูหนาว เป็นฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18-28 องศาเซลเซียสซึ่งต้นจะแข็งแรงและติดผลมาก ถ้าความชื้นของอากาศและอุณหภูมิสูงจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ง่าย
ปัญหาการปลูกมะเขือเทศในฤดูฝนคือ ในฤดูฝนมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรคหลายชนิด และมะเขือเทศบางพันธุ์ผลจะแตกง่ายเมื่อฝนตกแต่ถ้าต้องการจะปลูกมะเขือเทศในฤดูฝนสิ่งที่จะต้องปฏิบัติคือ
1. เลือกพื้นที่ปลูกที่สูงมีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ
2. ดินมีสภาพเป็นกลาง คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.5-6.8
3. ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมคือให้ผลดกในฤดูฝนและฤดูร้อน
4. มีการปฏิบัติรักษาอย่างถูกต้องดีคือ เตรียมดินใส่ปุ๋ยถูกต้อง ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและบ่อยครั้งเป็นพิเศษ อย่าปล่อยให้โรคทำลายก่อนแล้วจึงคิดป้องกันกำจัด ปกติผู้ปลูกที่ประสบความสำเร็จมักใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อราสูงกว่าในฤดูปกติ
ดินที่เหมาะสมในการปลูกมะเขือเทศมากที่สุดควรเป็นดินร่วนมีอินทรียวัตถุสูงและมีการระบายน้ำดี ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ประมาณ 6.5-6.8 ถ้าดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปจะทำให้ดินขาดธาตุอาหารบางอย่างได้ หรือธาตุอาหารบางชนิดสามารถละลายออกมาได้มากเกินไปจนเป็นเหตุให้เป็นพิษต่อต้นพืช การจะทราบว่าดินบริเวณที่จะปลูกเป็นกรดหรือด่างเท่าใดก็โดยส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่งทางกองเกษตรเคมีจะได้แนะนำการปรับดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป
การปลูกมะเขือเทศโดยทั่วไปไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมหรือในพื้นที่ปลูกพืชในตระกูลเดียวกันกับมะเขือเทศมาก่อน เช่น พริก มะเขือและยาสูบ เป็นต้น เพราะอาจมีเชื้อโรคต่าง ๆ สะสมอยู่ในดิน ซึ่งเป็นโอกาสให้มะเขือเทศเป็นโรคได้ง่าย
การเตรียมดินสำหรับปลูกมะเขือเทศต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก ดินต้องมีการระบายน้ำดี กำจัดวัชพืชให้หมด เพราะวัชพืชนอกจากจะแย่งน้ำ อาหารและแสงแดดแล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงได้อย่างดีอีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากมีการเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มแรกจะป้องกันการงอกของวัชพืชไปได้นาน ควรเตรียมดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ถ้าใช้เครื่องทุ่นแรงหรือรถไถ 2-3 ครั้ง โดยไถกลบดินไปมาและตากดินให้