การป้องกันและกำจัดตั๊กแตนโลกัสต้า

ตั๊กแตนโลกัสต้า นับเป็นศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่ง เพราะขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว การทำลายรุนแรงทำความเสียหายแก่พืชผลของเกษตรกร

ลักษณะรูปร่าง
เป็นตั๊กแตนขนาดตัวโตปานกลาง รูปร่าง ลักษณะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม ความหนาแน่นของตั๊กแตนและพืชอาหาร สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. สภาพอยู่กระจัดกระจาย ลำตัวสีเขียวปนเหลือง หรือสีน้ำตาล ส่วนหัว อก และขาคู่ที่ 3 เป็นสี่เขียว หรือสี่น้ำตาลอ่อน ตรงคอด้านบนเป็นสันแหลมโค้ง ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เซนติเมตรส่วนหัวสีเขียวเข็ม ปีกสีน้ำตาล
2. สภาพอยู่รวมกลุ่ม สีของลำตัวและส่วนหัวเป็นสีน้ำตาลปนดำ ปีกสีน้ำตาลเข็ม ค่อนข้างยาวเลยปล้องท้อง 2-2.5 เซนติเมตร หัวค่อนข้างนูน ส่วนหน้ามีเส้นคู่เป็นส้น อกสั้นและกว้าง ขาคู่ที่ 3 ค่อนข้างสั้นและแบน

ในรอบ 1 ปี ตั๊กแตนโลกัสต้า มีการผสมพันธุ์และวางไข่ 3-4 ครั้ง จะผสมพันะวงเดือนมกราคม-เมษายน, กรกฏาคม-พฤศจิกายน และธันวาคม วางไข่ในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์,พฤษภาคม, กรกฏาคม,กันยายน และ พฤศจิกายน-ธันวาคม ไข่สูงสุด 7-9 ฝัก จำนวนไข่ประมาณ 200-270 ฟอง ตัวอ่อนมีอายุ 27-40 วัน ลอกคาบ 5-6 ครั้ง มี 7 วัย อายุไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ 32-97 วัน

วงจรชีวิต

วงจรชีวิต

พืชอาหาร

ตั๊กแตนโลกัสต้าสามารถกินพืชตระกูลหญ้าได้หลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ข้างฟ่าง กล้วย มะพร้าว ถั่วเหลือง หม่อน ละหุ่ง ไฝ่ ฝ้าย และยางพารา

การป้องกันและกำจัด

  1. การเขตกรรม มีการไถพรวนดิน และการระบายน้ำท่วมแปลงเพื่อทำลายไข่
  2. โดยวิธีกล ใช้ตาข่ายดักจับตั๊กแตนตัวอ่อนและใช้แสงไฟ สวิง จับตั๊กแตนตัวแก่
  3. โดยชีววิธี ใช้ศัตรูที่มีอยู่ในธรรมชาติควบคุม เช่น เชื้อรา แตนเบียนไข่ ไรแดง ใส้เดือนฝอย และตัวห้ำ เช่น นก หนู สัตว์เลี้ยง สัตว์เลื้อยคลาน รวมทั้งมนุษย์
  4. โดยใช้สารเคมี ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลในระยะสั้นทันต่อเหตุการณ์ สามารถลดปริมาณของตั๊กแตนลงอย่างรวดเร็ว เมื่อตั๊กแตนมีความหนาแน่น 1 ตัว/ตารางเมตร

การใช้ตาข่ายดักจับตั๊กแตน

สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำจัด มีดังต่อไปนี้
1. เฟนิโตรไธออ50% อีซี (EC)
2. เทนิโตรไธออ83% ยูแอลวี (ULV)
3. ฟีอกซิ80% ยูแอลวี (ULV)
4. คาร์ไบครอน 24% อีซี (EC)
5.โมโนโครโตฟอ(นูวาครอน อโซดริน)
6.สารจำพวกคาร์บอเมท เช่น คาร์บาริล 85