หญ้าแฝก แบ่งตามลักษณะภายนอกได้เป็น 2 ชนิด คือ
  1. หญ้าแฝกหอม หรือ หญ้าแฝกลุ่ม หรือหญ้าแฝกบ้าน (Vetiveria zizanioides Nash) พบขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ สามารถปรับตัวเข้ากับพื้นที่นั้น ๆ ได้ดี และเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
  2. หญ้าแฝก หรือ หญ้าแฝกดอน หรือ หญ้าแฝกป่า (Vetiveria nemoralis A. Camus) พบทั่วไปในที่ค่อนข้างแล้ง หรือ ที่ดินที่มีการระบายน้ำได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในป่าเต็งรัง แต่จะมีน้อยในภาคใต้สามารถขึ้นได้ดีทั้งในที่แดดจัดและแดดปานกลาง

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะที่แตกต่างของหญ้าแฝกหอมและหญ้าแฝกดอน

หญ้าแฝกหอม หญ้าแฝกดอน
ลักษณะกอ
- เป็นพุ่ม ใบยาวตั้งตรงขึ้นสูง
- สูงประมาณ 150-200 ซม.
- มีการแตกตะเกียงและแตกแขนงลำต้นได้

- เป็นพุ่ม ใบยาว ปลายแผ่โค้งลงคล้ายกอตะไคร้ไม่ตั้งมากเหมือนหญ้าแฝกหอม
- สูงประมาณ 100-150 ซม.
- ปกติไม่มีการแตกตะเกียง และแขนงลำต้น
ใบ
- ยาว 45-100 ซม. กว้าง 0.6-1.2 ซม.
- ใบสีเขียวเข้ม หลังใบโค้ง ท้องใบออกสีขาว มีรอยกั้นขวางในเนื้อใบ ส่องกับแดดเห็น ชัดเจน
- เนื้อใบค่อนข้างเนียน มีไขเคลือบมาก ทำให้ดูนุ่มมัน

- ยาว 35-80 ซม.
- กว้าง 0.4-0.8 ซม.
- ใบสีเขียวซีด หลังใบพับเป็นสันสามเหลี่ยม ท้องใบสีเดียวกับด้านหลังใบแต่ ซีดกว่า แผ่นใบเมื่อส่องกับแดดไม่เห็น รอยกั้นในเนื้อใบ
- เนื้อใบหยาบ สากคาย มีไขเคลือบน้อย ทำให้ดูกร้าน ไม่เหลือบมัน
ช่อดอกและดอก
- สูง 150-250 ซม.
- ส่วนใหญ่มีสีม่วง

- สูง 100-150 ซม.
- มีได้หลายสี ตั้งแต่สีขาว ครีม ถึงม่วง
ราก
- มีความหอม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นสารพวก Alkaloids
- สามารถหยั่งลึกได้ ประมาณ ตั้งแต่ 100-300 ซม.

- ไม่มีความหอม
- มีรากสั้นกว่า โดยทั่วไปจะหยั่งลึก ประมาณ 80-100 ซม.

ที่มา : คณะทำงานติดตามและประเมินผลการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก

ตารางที่ 2 หญ้าแฝก 28 สายพันธุ์ในประเทศไทย (ตามทะเบียนของกรมพัฒนาที่ดิน)

หญ้าแฝกหอม

หญ้าแฝกดอน

1. กำแพงเพชร 2 1. อุดรธานี 1
2. เชียงราย 2. อุดรธานี 2
3. สงขลา 1 3. นครพนม 1
4. สงขลา 2 4. นครพนม 2
5. สงขลา 3 5. ร้อยเอ็ด
6. สุราษฏร์ธานี 6. ชัยภูมิ
7. ตรัง 1 7. เลย
8. ตรัง 2 8. สระบุรี 1
9. ศรีลังกา 9. สระบุรี 2
10. เชียงใหม่ 10. ห้วยขาแข้ง
11. แม่ฮ่องสอน 11. กาญจนบุรี
  12. นครสวรรค์
  13. ประจวบคีรีขันธ์
  14. ราชบุรี
  16. จันทบุรี
  17. พิษณุโลก
  18. กำแพงเพชร 1

ที่มา : กองฝึกอบรม กรมพัฒนาที่ดิน, 2536

เนื่องจากในปัจจุบัน ได้มีการรณรงค์ให้ใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยให้เกษตรกรปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเอียงหรือที่ซึ่งเป็นร่องน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน หรือการพังทลายของดิน ดังนั้น กองอาหารสัตว์ จึงได้ทำการศึกษาปริมาณผลผลิตและคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแฝก เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำหญ้าแฝกเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ได้