ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการกำหนดราคารังไหม

การคัดเลือกรังไหม การขนส่งรังไหม การเก็บรังไหมออกจากจ่อ


เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมเพื่อการจำหน่ายรังไหมแก่โรงงานสาวไหมหรือบริษัฑ ผู้รับซื้อรังไหมจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ระบบการกำหนดราคารังไหม ซึ่งเป็นผลประโยชน์โดยตรงกับเกษตรกร หาก เกษตรกรได้มีการปฎิบัติที่ถูกต้องดังนี้ คือ

1. การคัดเลือกรังไหม ( Cocoon assorting)

เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อราคารังไหมที่เกษตรกรจะได้รับมาก หากเกษตรกรมีการคัดเลือกรังไหมไม่ดีพอก่อนที่จะส่งไปจำหน่ายก็จะทำให้ราคา รังไหมที่เกษตรกรได้รับต่ำ ฉะนั้น ในการคัดเลือกรังไหมนั้นเกษตรกรจะต้อง ทำการคัดรังเสียออกก่อน ซึ่งรังเสียมีอยู่ 11 ชนิด คือ

รังแฝด 1.1 รังแฝด (double cocoon ) คือรังไหมที่เกิดจากหนอนไหมตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ทำรังร่วมกัน ซึ่งรังประเภทนี้เมื่อนำมาสาวจะทำให้เส้นไหมขาดบ่อยๆ เพราะการพ่นเส้นใยไหมพันกัน เนื่องจากรังไหมใน 1 รัง มีเส้นไหมมากกว่า 1 เส้น ทำให้ความสามามถในการสาวออกต่ำ เส้นไหมก็ไม่เรียบ ประสิทธิภาพการสาวเส้นไหม ลดลง การเกิดรังไหมแฝดนันอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของพันธุ์ไหม จำนวนหนอนไหมต่อจ่อมากเกินไป ลักษณะจ่อไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมกับหนอนไหม
รังเจาะ 1.2 รังเจาะ (pierced cocoon) รังไหมชนิดนี้เกิดจากหนอนแมลงวันลายเจาะรัง ออกมาทำให้รังเหล่านี้เสียหาย การที่รังไหมเกิดรูก็เท่ากับไปตัดเส้นไหมให้ ขาดทั้งเส้น ด้งนั้น เวลานำรังไหมชนิดนี้ไปสาวเส้นไหมยืน จะทำให้ขาดบ่อยๆ ก่อ ให้เกิดปัญหายุ่งยาก และประสทธิภาพในการสาวออกค่อนข้างต่ำ ทำให้เส้นไหม ที่ได้ไม่มีคุณภาพ
รังสกปรกภายใน 1.3 รังสกปรกภายใน (inside soiled cocoon) รังไหมชนิดนี้เกิดจาก ตัวดักแด้ตายในรังหรือหนอนไหมเป็นโรคแต่สามารถทำรังได้ เมื่อทำรังแล้วหนอนไหมหรือ ดักแด้ตายในรังทำให้รังสกปรกเมื่อนำมาสาวจะได้เส้นไหมที่ไม่มีคุณภาพ
รังสกปรกภายนอก 1.4 รังสกปรกภายนอก (outside soiled cocoon) รังไหมชนิดนี้ เกิดจากหนอนไหมปล่อยปัสสาวะก่อนทำรังหรือเกิดจากการแตกของตัวหนอนไหม เป็นโรคที่อยู่ในจ่อ แล้วไปทำเปื้อนกับรังดีที่อยู่ในจ่อด้วยกัน รังไหมชนิดนี้เมื่อ นำไปต้มสาวแล้วจะดึงเส้นไหมยาก หรือรังอาจจะเละก่อนที่จะสาว โดยเฉพาะ เปลือกรังบริเวณที่เปื้อนปัสสาวะเพราะปัสสาวะของหนอนไหมมีฤทธิ์เป็นด่าง
รังบาง 1.5 รังบาง (thin shell cocoon) เป็นรังไหมที่ได้จากการจับหนอนไหม ที่เป็นโรคเข้าจ่อทำรัง เมื่อพ่นเส้นใยทำรังได้เล็กน้อยก็จะตายไป ทำให้รังไหมบาง ผิดปกติ หรือเกิดจากการจับหนอนไหมเข้าจ่อช้าเกินไป หนอนไหมจึงพ่นเส้นใย ไหมตามขอบกระด้งหรือเหลี่ยมมุมของโต๊ะเลี้ยงไหม ทำให้มีเส้นใยน้อยจึงทำรัง ได้บางผิดปกติ รังไหมชนิดนี้ไม่สามารถที่จะต้มสาวได้เพราะรังไหมจะเละก่อน
รังหลวม 1.6 รังหลวม (loose shell cocoon) เป็นรังไหมที่เกิดขื้นเนื่องจาก สภาพแวดล้อมในขณะที่ไหมทำรังไม่เหมาะสมจึงทำให้เกิดรังชนิดนี้ขื้น ลักษณะ รังหลวมถ้านำไปสาวจะเกิดการขาดของเส้นไหมบ่อย เพราะว่ารังไหมแยกเป็น ชั้นๆ ทำให้ได้เส้นไหมที่ไม่มีคุณภาพ
รังบางหัวท้าย 1.7 รังบางหัวห้าย (thin-end cocoon ) รังไหมชนิดนี้มักเกิดจาก ลักษณะสายพันธุ์ไหมหรือเกิดจากอุณหภูมิสูงในช่วงกกไข่ บางครั้งก็เกิดจาก สภาพอากาศที่เย็นเกินไประหว่างไหมเข้าทำรัง ลักษณะรังประเภทนืส่วนหัวจะ แหลมผิดปกติ เวลานำไปต้มจะเละบริเวณส่วนแหลมก่อนและถ้านำมาสาวเส้นไหม จะขาดบริเวณหัวแหลม ทำให้ความสามารถในการสาวออกลดลง เส้นไหมที่ได้ จะไม่มีคุณภาพ
รังผิดรูปร่าง 1.8 รังผิดรูปร่าง (malformed cocoon) รังไหมชนิดนี้มักเกิดจาก ลักษณะจ่อไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากหนอนไหมอ่อนแอ ทำรังได์ไม่สมบูรณ์ ลักษณะ รังมักจะบิดเบี้ยวและไม่มีความสม่ำเสมอ รังประเภทนี้เวลานำไปต้มกับรังดีมัก จะเละก่อนหรือบางทีก็แข็ง ทั้งนี้ขี้นอยู่กับรูปรา่งของรังนั้นๆ ว่าผิดปกติลักษณะใด
รังติดข้างจ่อ 1.9 รังติดข้างจ่อ (cocoon with prints of cocoon frame ) รังไหม ชนิดนี้เกิดจากการที่หนอนไหมไปทำรังติดข้างๆ จ่อ หรือติดกับกระดาษรองจ่อ ลักษณะรังจะแบนผิดปกติและหนาเป็นบางส่วน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการจับไหม เข้าจ่อแน่นเกินไป หนอนไหมมีพื้นที่ในการทำรังไม่เพียงพอหรืออาจจะเกิดจาก การใช้จ่อที่ไม่ถูกลักษณะ
รังบุบ 1.10 รังบุบ (crushed cocoon) รังไหมชนิดนี้พบในกรณีที่ขนส่งโดย ไม่ระมัดระวังทำให้รังไหมเกิดการกระทบกระแทกกัน รังไหมนี้ถ้านำไปสาวจะ เกิดการขาดบ่อยๆ ตรงบริเวณส่วนที่ยุบลงไป
รังเป็นเชื้อรา 1.11 รังเป็นเชื้อรา ( musty cocoon ) รังไหมชนิดนี้ไม่ควรนำไปสาว เพราะเส้นใยจะเสื่อมคุณภาพ ทั้งนี้เกิดจากการอบแห้งไม่สมบูรณ์และไม่มีการ ควบคุมความชื้นในห้องเก็บรังไหมดีพอ ทำให้มีเชื้อราเกิดขื้นบนเปลือกรังไหม

จากลักษณะรังเสียตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ลักษณะรังเสียลำดับที่ 1.1-1.10 จะพบมากในการซื้อขายรังไหมจากเกษตรกร ส่วนลักษณะของรังเสีย ที่เกิดจากเชื้อราในลำดับที่ 1.11 นั้นจะเกิดขี้นกับโรงงานสาวไหมในขั้นตอนของ การอบรังไหมไม่ดีพอ หรือการเก็บรังไหมที่อบแล้วในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม คือห้องเก็บรังไหมจะต้องมีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 70%

Go To Top



2. การขนส่งรังไหม

เกษตรกรเมื่อไดทำการคัดเลอกรังไหมแล้ว ก็จะต้องนำรังไหมมา บรรจุภาชนะเพื่อทำการขนส่งไปจำหน่ายยังโรงงานหรือบริษัท ในขั้นตอนนี้มี ความสำคัญต่อคุณภาพรังไหมมาก เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ภายในรังไหมสดนั้น ยังมีชีวิตอยู่ มีการหายใจอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ในการบรรจุภาชนะเพื่อการ ขนส่งจึงควรที่จะปฎิบัติดังนี้

2.1 บรรจุรังไหมสดในถุงผ้าหรือเข่งที่มีการระบายอากาศได้ดี โดย อย่าให้มีน้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม (ถุงผ้าขนาด 40X40X80 เซนติเมตร) เพื่อ หลีกเลี่ยงการทับกันของรังไหมในปริมาณที่มากเกิน ซึ่งจะทำให้รังไหมบุบได้

2.2 การขนย้ายถุงบรรจุรังไหม ในการขนส่งไม่ควรที่จะวางถุงหรือ เข่งทับกันเป็นชั้นๆโดยตรง แต่หากมีความจำเป็นควรจะต้องมีไม้ระแนงคั่นไว้ เพราะในระหว่างการเดินทางหากรังไหมอัดทับกันแน่นจะทำให้รังไหมเสียหาย เนื่องจากแรงกระแทก นอกจากนี้ดักแด้ยังมีการหายใจอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น การระบายอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างการขนส่งรังไหม

2.3 การบรรจุรังไหมในภาชนะ ควรทำการบรรจุรังไหมและส่งไป จำหน่ายทันที เพราะหากบรรจุรังไหมทิ้งไว้จะทำให้เกิดความชื้นภายในภาชนะ ส่งผลทำให้รังไหมเปียกจนทำให้เกิดรังเสีย ดังนั้น หากเก็บรังไหมออกจากจ่อ คัดเลือกรังไหม และลอกปุยชั้นนอกออกแล้ว แต่ยังไม่ขนส่งไปจำหน่ายในขณะนั้น ก็ให้เก็บรังไหมไว้ในภาชนะที่กว้างสามารถเกลี่ยกระจายรังไหมได้โดยให้รังไหม ซ้อนทับก้นน้อยที่สุด เมื่อจะขนส่งจึงนำมาบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อป้องกัน ความสูญเสียรังไหมที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการอัดทับกันแน่นของรังไหม

2.4 ช่วงเวลาในการขนส่ง การขนส่งรังไหมควรจะหลีกเลี่ยงช่วง เวลาที่อากาศร้อนจัด ควรจะขนส่งในช่วงเวลากลางคืนหรือเช้าตรู่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ระยะทาง นอกจากนื้ในระหว่างการขนส่งไม่ควรให้รังไหมโดนฝนโดยตรงเพราะ จะส่งผลต่อคุณภาพของรังไหม

Go To Top



3. การเก็บรักษารังไหมออกจากจ่อ

ในการเก็บรังไหมออกจากจ่อนั้นจะต้องเก็บในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะถ้าหากเก็บรังไหมเร็วเกินไปก็จะทำให้ได้รังไหมที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากหนอนไหม ยังพ่นเส้นใยทำรังไม่เสร็จ นอกจากนี้เมื่อเก็บรังไหมมารวมอัดกันแน่น แต่ดักแด้ ยังอ่อนอยู่ก็จะทำให้ดักแด้แตกและเกิดรังเปื้อนรังเสียได้ และถ้าหากเก็บช้า เกินไปก็อาจจะทำให้ไม่ทันเวลากับการส่งจำหน่ายให้โรงงานสาวไหมหรือบริษัท เพราะรังไหมสดจะอยู่ได้ประมาณ 10-12 วันเท่านั้น หลังจากนั้นแล้วผีเสี้อก็ จะเจาะรังออกมาทำให้รังเป็นรู กลายเป็นรังเสียไป

จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะมีผลกระทบต่อราคา รังไหมที่เกษตรกรจะได้รับจากการตีราคารังไหมด้วยวิธีการใช้หลักเกณฑ์ของ คุณภาพของรังไหมมามีส่วนเกี่ยวข้องในการคำนวณราคาดังปรากฎอยู่ในตาราง มาตรฐานราคารังไหม ดังนัน ในการจำหน่ายรังไหมเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมควร ที่จะต้องให้ความส่าคัญและยืดถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อผลประโยชน์และ รายได้ที่จะได้รับจากการเลี้ยงไหมของเกษตรกรเอง

Go To Top